เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้

เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้
คติพจน์ประจำใจ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ถวายเทียนพรรษา 2557

งานประจำปีประเพณี
ทอดเทียนเข้าพรรษา  2557

ณ  วัดท่าสว่าง 
บ้านหนองผือ-โนนค้อ

ประตูทางเข้าวัด
พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
(พระมหาหนูพร  จารุวณฺโณ)
น.ธ.เอก ป.ธ.๓ ศศ.บ.
เจ้าคณะตำบลกกกุง/เจ้าอาวาส
วัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ-โนนค้อ
 ทอดศาลาการเปรียญวัดท่าสว่าง
ศีลห้ากฏสากล
ทุกคนต้อง ร่วมรักษา
เพราะเป็นกติกา

ข้อสัญญา ประชาคม
 ห้องน้ำ/ห้องสุขา
เบญจศีล เบญจธรรม
มีห้าสิกขาบท
ท่านกำหนดไว้เหมาะสม
เป็นหลักให้สังคม

นิยมยึด ประพฤติกัน


 โลกเราจะร่มเย็น
ศีลย่อมเป็นสิ่งสำคัญ
เป็นหลักค้ำประกัน
สันติสุขทุกสังคม
 ข้อหนึ่งคือปาณา
มีเมตตาเป็นอารมณ์
รักเพื่อนร่วมสังคม
เหมือนพี่น้องท้องเดียวกัน
 ไม่โกรธและไม่เกลียด
ไม่เคียดแค้น คิดฆ่าฟัน
ไม่ตบต่อยตีกัน
ให้เจ็บช้ำ ระกำใจ
 ตัวเรารักความสุข
เกลียดความทุกข์แม้ฉันใด
สัตว์อื่นโดยทั่วไป
ต่างมีใจ เช่นเดียวกัน
 คำถวายเทียนพรรษา
ยัคเฆ ภันเต,สังโฆ ปะฏิชานาตุ , มะยัง ภันเต, เอตัง ปะทีปะยุคัง, สะปะริวารัง, เตมาสัง, พุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ, อิมัสสะหมิง อะโปสะถาคาเร, นิยยาเทมะ, สาธุ โน ภันเต, อะยัง เตมาสัง , พุทธัสสะ , ปูชะนัตถายะ, ปะทีปะยุคัสสะ,ทานัสสะ , อานิสังโส , อัมหากัญเจวะ,มาตาปิตุอาทีนัญจะ,ปิยะชะนานัง, ทีฆะรัตตัง,หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ.
     ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์โปรดรับทราบ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอมอบถวายเทียนคู่นี้ พร้อมกับของบริวาร ไว้ ณ อุโบสถนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชาตลอดพรรษา ขออานิสงส์แห่งการถวายคู่ เทียน เพื่อเป็นพุทธบูชา ตลอดพรรษนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ปิยชนทั้งหลายมีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย ตลอดกาลนานเทอญ

 “นมัตถุ  รตนัตตยัสสะอวยพรสวัสดี  เจริญศรี

เจริญชนม์ เจริญสุขเจริญผล เจริญพรรณเสมอสมัย
นิราศทุกข์นิราศโศก        นิราศโรคนิราศภัย  
ประสงค์สรรพ์กุศลใด       ก็จงสมประสงค์เทอญ
          ขอสิ่งพิเศษสรรพ์       สรพันพิพัฒน์พร
จงมาสโมสร                      อุปถัมภ์อำนวยชัย
มวลหมู่อมิตต์หมาย             ก็ละลายละเลิกไป
ทุกข์โศกแลโรคภั                -ยพิบัติบ่มีฑา    
หวังใดผิไม่ผิด                    ก็สำฤทธิ์ประจักษ์ตา

ทวยเทพเทพา                    อภิบาลนิรันดร.  

  สัตว์โลกทุกชนิด
รักชีวิตกันทั้งนั้น
ไม่คิดปลิดชีพกัน
ย่อมสุขสันต์ สมใจปอง
 สมบัติในโลกนี้
ทุกอย่างมีผู้จับจอง
ถือสิทธิ์เป็นเจ้าของ
ครอบครองกัน
 เราหวงของของตน
คนทุกคนก็เหมือนกัน
สงครามผลประโยชน์
นั้นเหี้ยมโหดเกินคาดฝัน
 วันใดขัดแย้งกัน
ความสัมพันธ์ย่อมเปลี่ยนไป
มิตรกลายเป็นศัตรู
คู่ต่อสู้ช่วงชิงชัย
 ผู้แพ้ย่อมแค้นใจ
ผู้มีชัยไม่พ้นเวร
สังคมเป็นสงคราม
ทุกรูปนามต่างรำเค็ญ
 เคยอยู่อย่างร่มเย็น
กลับทุกข์เข็ญ ร้อนเป็นไฟ
ขาดศีลอทินนา
ชาวประชาไม่ปลอดภัย
 ทุกคนกังวลใจ
กินไม่ได้หลับไม่ลง
ศีลข้ออทินนา
ถ้ารักษาได้มั่นคง
 โลกเราจะดำรง
สันติสุขตลอดกาล
ข้อสามอย่าลังเล
กาเมสุมิจฉาจาร
 ตั้งใจสมาทาน
เว้นจากการผิดในกาม
คู่ใครใครก็รัก
ไม่อยากให้ใครลวนลาม
 มนุษย์ทุกรูปนาม
หวงแหนกามกันทุกคน
ไม่ล่วงเกินคู่ใคร
ไม่นอกใจคู่ของตน

 เป็นหลักมนุษย์ชน
ทั่วสากลประพฤติกัน
ครอบครัวอยู่เป็นสุข
พ่อแม่ลูกผูกสัมพันธ์
 กลมเกลียวไม่แตกกัน
ย่อมสุขสันต์กันทุกคน
ข้อสี่มีสัจจะ
กล่าววาทะมีเหตุผล
 ไม่ลวงประชาชน
ด้วยเล่ห์กลมายาการ
พูดเพราะเสนาะโสต
มีประโยชน์ทุกคำขาน
ไม่พูดเพื่อประจานให้ชาวบ้าน
เกลียดชังใคร
จิตใจบริสุทธิ์
ทุกคำพูดเปล่งออกไป
 สร้างความบันเทิงใจ
ให้คนได้ลิ้มรสธรรม
พูดดีมีสัจจะ
เป็นสาระควรจดจำ
 พูดด้วยเมตตาธรรม
ทุกถ้อยคำเป็นกุศล
บันดาลสามัคคี
ให้เกิดมีในชุมชน
 ดังนั้นควรทุกคน
พูดจากันด้วยไมตรี
พูดจริงอิงประโยชน์
ไพเราะโสตพูดพอดี
 พูดกันเป็นอย่างนี้
ฟังแล้วมีแต่ชื่นใจ
สุดท้ายข้อที่ห้า
คือสุราและเมรัย
ดื่มแล้วเมาหลงใหล
ไร้สติรักษาตน
อาจทำกรรมชั่วช้า
ใจเหิมกล้า ไร้เหตุผล
 หน้าด้านไม่อายคน
อกุศลไม่กลัวเกรง
อาจฆ่าใครก็ได้
อาจทำร้ายแม้ตัวเอง
 โทษความเป็นนักเลง
ดื่มสุรามีมากมาย
ข้อหนึ่งต้องเสียทรัพย์
อาจถึงกับล้มละลาย
 ข้อสองมิตรสหาย
อาจวุ่นวายวิวาทกัน
ข้อสามพิษสุรา
ก่อโรคาเอนกนันต์
 บั่นทอนอายุสั้น
ตายก่อนกาลอันควรตาย
ข้อสี่ ชื่อเสียงดับ
เกียรติศัพท์ถูกทำลาย
 ข้อห้าหมดยางอาย
หกทำลายภูมิปัญญา
สุราและเมรัย
มีพิษภัยมากนักหน้า
 เฮโรอีน ฟิ่น กัญชา
และยาบ้าก็เหมือนกัน
เป็นสิ่งควรงดเว้น
ใครตกเป็นทาสของมัน
 ต้องทุกข์โทษมหันต์
ชีวิตพลันหมดความหมาย
สติจะเลอะเลือน
อาการเหมือนภูติ ผีพราย
 ประสาทถูกทำลาย
สูญสลายความทรงจำ
 พ่อ แม่ ก็ฆ่าได้
เหมือนผีร้าย เข้าครอบงำ
 ไม่เกรงกลัวบาปกรรม
เลวระยำเกินโลกันต์
สังคมที่เราอยู่
จะเลิศหรูและสุขสรร

 เหมือนอยู่เมืองสวรรค์
ต้องเชื่อมั่น หลักศีลธรรม
ทุกคนต้องศรัทธา
ถือศีลห้าเป็นประจำ
 สวดมนต์ทุกเช้าค่ำ
ประพฤติตามคำพระสอน
สังคมสุขสมคิด
สุขสถิตย์สถาพร
สันติภาพอยู่ถาวร
ประชากร สุขทั่วกัน
 วันมาฆบูชา
โอวาทปาฏิโมกข์
ตรงกับวัน ขึ้น๑๕ ค่ำเดือน ๓หรือขึ้น๑๕ค่ำเดือน ๔
     ในปีอธิกมาส เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณภายใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ พระองค์ประทับเสวยวิมุติสุขในเขตปริมณฑลนั้นเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ จากนั้นจึงเสด็จไปโปรดคณะปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี 
วันวิสาขบูชา
ประสูติ - ตรัสรู้ - ปรินิพพาน
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
     ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
 วันอัฏฐมีบูชา
วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
ตรงกับ วันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖)
     ความหมาย เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า "วันอัฏฐมีบูชา" 
 วันอาสาฬหบูชา
พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
   วันอาสาฬหบูชา เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา เพราะเป็นครั้งแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มีชื่อว่า "ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร" ซึ่งได้แก่อริยสัจ 4 ซึ่งหมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว โกญฑัญญะ ก็สำเร็จพระโสดา รู้ตามกระแสพระธรรมของพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึงนับได้ว่า วันนี้ เป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัยครบเป็นองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า นับเป็นวันแรกที่ พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา 
 วันเข้าพรรษา
ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘
จนถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
   ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงมีพระชนม์อยู่ ได้ทรงเสด็จ ไปยังทุกแห่งหน เพื่อสั่งสอนหลักธรรมอันประเสริฐ จนมีพุทธสาวกมากมาย โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สุขแก่หมู่มวลมนุษย์โลก พระองค์ได้เสด็จไปยังถิ่นทุรกันดาร ในทุกฤดูกาล ต่อมา ปรากฏว่าในช่วงพรรษาหรือช่วงฤดูฝนได้มีผู้ร้องขอต่อพระองค์ว่าได้เกิดความเสียหาย แก่ข้าวกล้าเพราะถูกเหยียบโดยพุทธบริษัท ซึ่งไม่ได้เจตนา ดังนั้น
 พระองค์จึงออกพุทธบัญญัติกำหนดให้ พระสงฆ์ทุกรูป จำพรรษา เป็นหลักเป็นแหล่งในช่วงฤดูฝน โดยให้เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนกระทั่งถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 นับเป็น เวลา 3 เดือน ในวันเข้าพรรษานี้ จะมีการทำบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ พระภิกษุ สามเณร รวมทั้งยังมีการ ถวายเทียนพรรษา แก่วัดอีกด้วย
อนุโมทนาบุญ
พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
(พระมหาหนูพร  จารุวณฺโณ)
(น.ธ.เอก ป.ธ.๓ ศศ.บ.)
เจ้าคณะตำบลกกกุง
เจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง
บ้านหนองผือ-โนนค้อ  ตำบลหนองผือ 
อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด
 พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
(หนูพร  จารุวณฺโณ  น.ธ.เอก ป.ธ.๓ ศศ.บ.)
เจ้าคณะตำบลกกกุง/เจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง
พระวิทยากรโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
 พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
พระวิทยากรโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
คณะศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
อำเภอเมืองสรวง
 คณะศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองสรวง
โดยการนำของ
นางบัวบาน  ประวิเศษ
ผู้อำนวยการฯ



















 คณะศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
ร่วมเป็นเจ้าภาพถวายน้ำปานะแด่พระสงฆ์สามเณร-อุบาสก-อุบาสิกา
ณ  วัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ-โนนค้อ





 พระปลักปัญญา  ฉนฺนจิตฺโต
รองเจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ-โนนค้อ











พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
(หนูพร  จารุวณฺโณ  น.ธ.เอก ป.ธ.๓ ศศ.บ.)
เจ้าคณะตำบลกกกุง/เจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง
พระวิทยากรโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕

วันออกพรรษา
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
     วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ » อ่านต่อ
 หลังจากวันออกพรรษาแล้วมีประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธนิยมทำกันมากคือ การทอดกฐิน
วันโกน - วันพระ
วันโกน คือ วันขึ้น ๗ ค่ำ กับ ๑๔ ค่ำ
และแรม ๗ ค่ำ กับแรม ๑๔ ค่ำ ของทุก เดือน
( หรือ แรม ๑๓ ค่ำ หากตรง กับเดือนขาด )
ซึ่งเป็นวันก่อนวัน พระ ๑ วัน นั่นเอง
     วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ กับ ๑๕ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ กับแรม ๑๕ ค่ำ ของทุกเดือน(หากตรงกับเดือนขาด อาจเป็น แรม ๑๔ ค่ำ 
"ศีล เป็นมหาทาน"
      การรักษาศีล ไม่เพียงเป็นการรักษาความเป็นปกติของความเป็นมนุษย์ หรือเพื่อรักษากฎเกณฑ์ ในการอยู่ร่วมกันในสังคมเอาไว้เท่านั้น แต่ยังเป็นการให้ทานที่มีคุณค่ายิ่งกว่าการให้วัตถุใดๆ ทั้งสิ้น เพราะในขณะที่ใครคนหนึ่งรักษาศีล ทุกชีวิตจะได้รับประโยชน์อันมหาศาล นั่นคือได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทันที กล่าวคือ
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 1 คือ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ย่อมได้ชื่อว่า ให้ชีวิต ให้ความปลอดภัยแก่ชีวิต ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นการให้สิ่งที่สูงค่ายิ่งกว่าทรัพย์ใดๆ
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 2 คือ ไม่ลักทรัพย์ ย่อมได้ชื่อว่า ให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น เป็นการให้ฐานะความเป็นอยู่อันมั่นคง เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 3 คือ ไม่ประพฤติผิดในกาม ย่อมได้ชื่อว่า ให้ความสุข ให้ความปลอดภัย แก่บุตร ธิดา ภรรยา สามีของผู้อื่น เป็นการให้ความคุ้มครองแก่สถาบันครอบครัวอย่างดีที่สุด  เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 4 คือ ไม่กล่าวคำเท็จ ย่อมได้ชื่อว่า ให้ความจริงแก่ผู้อื่น ทำให้เกิดความสบายใจในการดำเนินชีวิต โดยไม่ต้องหวาดระแวงซึ่งกันและกัน
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 5 คือ ไม่ดื่มสุราเมรัย ย่อมได้ชื่อว่า ให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่ง เพราะคนที่ประมาทขาดสตินั้น สามารถทำความชั่วได้ทุกอย่าง จะฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม หรือพูดเท็จก็ทำได้ทั้งสิ้น
      การรักษาศีล จึงเป็นบุญอันพิเศษอย่างยิ่ง เพราะได้ทั้งบุญจากการบำเพ็ญมหาทาน และบุญจากการรักษาศีล และนี่เป็นเพียงศีล 5 อันเป็นเบื้องต้นเท่านั้น หากรักษาศีลในข้อที่สูงยิ่งขึ้นไป ย่อมเป็น มหาทานอันยิ่งใหญ่ เป็นบุญอันยิ่งใหญ่ ที่สามารถชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ อย่างสุดที่จะประมาณได้
สาธุ  สาธุ  สาธุ  อนุโมทามิฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น