เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้

เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้
คติพจน์ประจำใจ

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

เกร็ดความรู้

การเลี้ยวผึ้งพันธุ์หรือผึ้งอิตาเลี่ยน

ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ผู้ที่สนใจที่จะเลี้ยงผึ้งนั้น ควรจะทราบข้อมูลและศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งให้เข้าใจเสียก่อนแล้วจึงค่อยเริ่มฝึกหัดเลี้ยงด้วยตนเองอย่างน้อย 2 - 3 รัง เพื่อหาประสบการณ์และความชำนาญรายละเอียดต่าง ๆ ตลอดจนวิธีการจัดการภายในรังผึ้งที่เหมาะสมแล้ว การเลี้ยงผึ้งก็ไม่ใช่ของยาก แต่ควรจะต้องมีการเตรียมการเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งให้พร้อม ดังนี้คือ
1.1 ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้ง
ต้องมีความรู้เกี่ยวกับผึ้งที่จะเลี้ยง
   1.1.1 ความรู้ทางด้านชีววิทยาและพฤติกรรมของผึ้งพันธุ์ ได้แก่ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตของผึ้ง วงจรชีวิต การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของวัยผึ้ง ชนิดช่วงอายุต่าง ๆ รวมทั้งความเป็นอยู่ นิสัย และสภาพสังคมภายในรังผึ้ง การจัดระบบโดยธรรมชาติภายในรังผึ้ง การหาอาหาร การป้องกันรัง การเลี้ยงดูตัวอ่อน รวมทั้งความต้องการของผึ้งในสภาพแวดล้อม ต่าง ๆ ด้วย
การฝึกอบรมเกษตรกรหลักสูตรการเลี้ยงผึ้งพันธุ์
   1.1.2 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการดูแลผึ้ง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญเกี่ยวกับความสำเร็จในการเลี้ยงผึ้ง (รายละเอียดดูเรื่องการจัดการดูแลในการเลี้ยงผึ้งพันธุ์)
   1.1.3 ความรู้เกี่ยวกับพืชพันธุ์ที่เป็นแหล่งอาหารของผึ้ง ได้แก่ความรู้เกี่ยวกับต้นไม้และดอกไม้ที่จะเป็นแหล่งอาหาร (น้ำหวานดอกไม้และเกสรดอกไม้) ของผึ้ง การบานและช่วงเวลาการบานของดอกไม้ ตลอดจนทำเลและบริเวณที่เป็นแหล่งของพืชพันธุ์
   1.1.4 ความรู้เกี่ยวกับโรคและศัตรูของผึ้ง
1.2 ทุนสำหรับดำเนินการ

การใช้ทุนเพื่อจัดทำรังผึ้ง ต้องใช้ด้วยความประหยัด มี คุณภาพ หรือซื้อจากแหล่งที่ผลิตรังผึ้งพันธุ์โดยตรงเป็นการดีที่สุด เพราะมาตรฐานขนาดของรังและคอนผึ้งมีความสำคัญมาก ถ้าอุปกรณ์ทุกชิ้นได้มาตรฐานเดี่ยวกันหมด เวลาจัดการภายในรังผึ้งในภายหลังก็จะทำได้สะดวกและไม่เป็นปัญหา จะต้องมีทุนสำรองเพื่อใช้จ่ายดังนี้
   1.2.1 ค่าพันธุ์ผึ้ง
   1.2.2 ค่าทำรังผึ้ง คอนผึ้ง แผ่นรังเทียม ฐานรัง ฝารัง
   1.2.3 ค่าอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง เช่น หมวกตาข่าย เหล็กงัดรัง เครื่องมือพ่นควัน ฯลฯ
   1.2.4 ค่าน้ำตาล และวัสดุอาหารเสริม เพื่อจะเลี้ยงผึ้งในบางช่วงของฤดูกาลที่ขาดแคลนอาหารผึ้งตามธรรมชาติ
   1.2.5 ค่าใช้จ่ายสำรองอื่น ๆ ในระหว่างการเลี้ยงผึ้ง เช่น ค่ายาป้องกันกำจัดไรศัตรูพืช และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ
1.3 แหล่งที่จะซื้อผึ้งมาเริ่มดำเนินการ
   1.3.1 ไปเยี่ยมรังผึ้งของฟาร์มต่าง ๆ ผึ้งที่มีการเลี้ยงและเอาใจใส่ที่ดี ผึ้งของ ฟาร์มนี้จะแข็งแรงและมีคุณภาพดี พร้อมกันนี้สอบถามราคาแล้วเปรียบเทียบกับฟาร์มอื่น ๆ
   1.3.2 สังเกตผึ้งในฟาร์ม อันดับแรกดูปากรังว่าสะอาดไหม ถ้าผึ้งรังไหนสุข ภาพดีปากรังเข้าออกจะสะอาด ขนาดผึ้งมีตัวโตสม่ำเสมอ ผึ้งมีความคึกคักไม่หงอยเหงา
การเลือกซื้อพันธุ์ผึ้งต้องตรวจสอบความแข็งแรงของรังผึ้ง
   1.3.3 ขอดูคอนผึ้งตรวจดูความสม่ำเสมอของการวางไข่ ดักแด้ เต็มคอนหรือ ไม่ ถ้าแม่รังผึ้งดี การวางไข่จะเป็นวงกว้างเต็มคอน จะตัวโต อกกว้าง และวางไขทั่วคอน
   1.3.4 เลือกซื้อรังผึ้งที่นางพญาสาว
   1.3.5 เลือกซื้อรังผึ้งที่ไม่เป็นโรค
   1.3.6 เลือกซื้อรังผึ้งที่ไม่มีตัวไรวารัวและไรทรอปิลิเลปส์ ค่าพันธุ์ผึ้ง
   1.3.7 ค่าทำรังผึ้ง คอนผึ้ง แผ่นรังเทียม ฐานรัง ฝารัง
   1.3.8 ค่าอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง เช่น หมวกตาข่าย เหล็กงัดรัง เครื่องมือพ่นควัน ฯลฯ
   1.3.9 ค่าน้ำตาล และวัสดุอาหารเสริม เพื่อจะเลี้ยงผึ้งในบางช่วงของฤดูกาลที่ ขาดแคลนอาหารผึ้งตามธรรมชาติ
   1.3.10 ค่าใช้จ่ายสำรองอื่น ๆ ในระหว่างการเลี้ยงผึ้ง เช่น ค่ายาป้องกันกำจัดไร ศัตรูพืช และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ
1.4 อุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับการเลี้ยงผึ้ง
วัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงผึ้งอื่น ๆ ที่ จำเป็น นอกจากตัวผึ้งและนางพญาผึ้งแล้ว ผู้เลี้ยงผึ้งจะต้องใช้ในการเลี้ยงผึ้งเพื่อให้การเลี้ยงผึ้งประสบความสำเร็จได้ โดยเรียงลำดับความสำคัญมีรายละเอียดดังนี้


1. รังเลี้ยงผึ้ง (Bee Hive) หรือหีบเลียงผึ้ง หรือกล่องเลี้ยงผึ้ง เป็นกล่องรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงหัวท้ายด้านบนของกล่อง จะเซาะเป็นร่องสำหรับวางคอนผึ้ง ขนาดตัวรังที่นิยมกันในหมู่นักเลี้ยงผึ้งมี แบบ คือ แบบยุโรป หรือเป็นแบบแลงสตร็อธ และแบบไต้หวัน ลักษณะของหีบเลี้ยงผึ้งทั้งสองแบบคล้ายกัน เพียงแต่ขนาดความยาวต่างกัน โดยแบบไต้หวันจะมีขนาดใหญ่กว่า ใส่เฟรมได้ตั้งแต่ 10-15 คอน แต่นิยมใช้ขนาด 10 คอน และมีหน้าต่างมุ้งลวดด้วย แบบ ยุโรปใส่ได้ 10 คอน สามารถหาซื้อได้ทั่วไป


วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

งานประเพณีวัฒนธรรม

ประเพณีการทอดเทียน


นี้เป็นประเพณีเก่าแก่ของบคนอีสาน  ซึ่งได้สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น  เพื่อเป็นประเพณีอันดีงามของชาวอีสาน

     จากการที่ได้ค้นคว้าคำว่า  "ทอดเทียน"  น่าจะมาจากคำสองคำคือ ทอด น.  ระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่ง    ส่วนคำว่า  เทียน  น.  เครื่องตามไฟที่ฟั่นที่หล่อด้วยขี้ผึ่งหรือไขเป็นต้น  มีไส้ตรงใจกลาง
     จากการนำความหมายของคำสองคำนั้นอาจจะหมายถึง  การนำต้นเทียนที่มีอยู่ของแต่ละหมู่บ้านหรือวัดนำไปบูชาจากวัดหนึ่งถึงอีกวัดหนึ่งเพื่อเป็นการเยี่ยมยามถามข่าว  สารทุกของชาวบ้านแต่ละหมู่บ้าน
      ประเพณีทอดเทียน ของชาวอีสานนี้ที่สืบทอดกันมายาวนานหลายชั่วคนที่สืบทอดมา  โดยที่หมู่บ้านหนึ่งจะต้องนำต้นเทียนนำไปบูชาอีกวัดหนึ่ง ซึ่งอาจจะอยู่คนละหมู่บ้านแล้วก็ทำพิธีทางพุทธศาสนา  

ประเพณีนี้นิยมทำในช่วงเข้าพรรษาเมื่อมีการทำพิธีทางพุทธศาสนาเสร็จแล้วจะเป็นกิจกรรมของชาวบ้าน คือการร้องสารภัญญะ เพื่อต้อนรับแล้วก็จะเปลี่ยนกันร้องไห้ครบทุกหมู่บ้านที่ได้ไปในครั้งนั้น
     การทอดเทียนยังเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สร้างความสามัคคีแก่ชาวบ้านและสร้างความสัมพันธ์ของแต่ละหมู่บ้านได้เป้นอย่างดี  บทความนี้มีข้อบกพร่องอยู่มากเพระผู้เขียนไม่ได้ค้นคว้ามากมายแต่ค้นคว้า
จากหลักฐานหรือหนังสือที่มีอยู่แต่การหาหลักฐานทางประเพณีการทอดเทียนนี้หายากมาก  ถ้าผิดบกพร่องอย่างไรก็ขออภัยด้วย






















โครงการพุฒนาคุณธรรม


วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หนอนภูพัฒนาคุณธรรม


ประโยชน์การนั่งสมาธิ



บางครั้งที่เราเจอปัญหา หรืออะไรมาสะกิดใจเพียงนิดเดียว ก็เกิดอาการควบคุมจิตใจไม่ได้ เกิดความฟุ้งซ่านวุ่นวาย มีเรื่องรบกวนไปเสียหมด นั่นเพราะ
ไม่เคยรับการบำบัดทางจิต หรือลองฝึกสมาธิมาก่อน หลายคนที่เคยลองฝึกจิต หรือฝึกสมาธิ จะสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดีกว่าคนอื่น ๆ และยังมีสติ ทำอะไรด้วยความไม่ประมาทด้วย
          วันนี้ เราขอชวนเพื่อน ๆ
 มาลองฝึกสมาธิเบื้องต้นกันดู ซึ่งโดยปกติแล้ว "สมาธิ" มีหลายประเภท แต่สมาธิที่ฝึกง่ายที่สุด ประหยัดเวลา และได้ผลที่สุดตามที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ปฏิบัติ ก็คือ "อานาปานสติ" หรือการกำหนดลมหายใจเข้าออก ที่เราส่วนใหญ่ก็เคยได้ยินกันมาบ้างแล้วนั่นเอง โดยหลักการ
ฝึกสมาธิเบื้องต้นแบบง่าย ๆ
 ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
ก่อนฝึกสมาธิ
           ควรอาบน้ำ ล้างหน้า ล้างมือ ล้างเท้าก่อน เพื่อให้ตัวรู้สึกสบายมากที่สุด เมื่อร่างกายสงบ จิตใจจะสงบได้ง่ายขึ้น
          หาสถานที่สงบ ไม่มีคนพลุกพล่านจอแจ อากาศถ่ายเท เย็นสบาย เพื่อให้เข้าถึงสมาธิได้เร็วมากขึ้น
          พยายามตัดความกังวลทุกอย่างออกไป เช่น ควรจัดการงานที่คั่งค้างอยู่ในเสร็จก่อนเริ่มทำสมาธิ เพื่อไม่ให้
ห่วงหน้าพะวงหลัง
          อย่าตั้งใจมากเกินไป ว่าจะต้องให้ได้ขั้นนั้น ขั้นนี้ เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความเคร่งเครียดมากขึ้น จิตใจจะพะวงไปแต่อนาคต ไม่สามารถควบคุมจิตใจให้อยู่ ณ ปัจจุบัน
ขณะฝึกสมาธิ ควรปฏิบัติตนดังนี้
          1. กราบบูชาพระรัตนตรัย ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ เพื่อเป็นการเตรียมตัวเตรียมใจ
          2.ควรนั่งทำสมาธิในท่าขัดสมาธิ นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ขวาจรดนิ้วหัวแม่มือซ้าย วางไว้บนตัก หลังตรง ศีรษะตรง ไม่ควรนั่งพิง เพราะจะทำให้ง่วงได้ง่าย กรณีเป็นคนป่วย หรือคนที่ไม่สามารถนั่งท่าขัดสมาธิได้ ก็สามารถนั่งบนเก้าอี้แทนได้ จากนั้นทอดตาลงต่ำ อย่าเกร็ง เพราะจะทำให้ร่างกายปวดเมื่อย แล้วค่อย ๆ หลับตาลง
          3.ส่งจิตไปให้ทั่วร่างกาย ว่ามีกล้ามเนื้อส่วนใดเกร็งอยู่หรือไม่ แล้วค่อย ๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนนั้น พยายามกำหนดลมหายใจเข้าออกให้ลึก ๆ มี "สติ" อยู่กับลมหายใจ ตรงจุดที่ลมกระทบปลายจมูก
          4.เมื่อเริ่มฝึกสมาธิใหม่ ๆ ควรใช้เวลาแต่น้อยก่อน เช่น 5-15 นาที จากนั้นเมื่อฝึกบ่อย ๆ แล้วจึงค่อยเพิ่มระยะเวลาขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ร่างกายและจิตใจค่อย ๆ ปรับตัวตาม หากรู้สึกปวดขา หรือเป็นเหน็บ ให้พยายามอดทนให้มากที่สุด หากทนไม่ไหวจึงค่อยขยับ แต่ควรขยับให้น้อยที่สุด เพราะการขยับแต่ละครั้งจะทำให้จิตใจกวัดแกว่ง ทำให้สมาธิเคลื่อนได้ แต่ถ้าหากอดทนจนอาการปวด หรือเป็นเหน็บเกิดขึ้นเต็มที่แล้ว อาการเหล่านั้นจะหายไปเอง แล้วจะเกิดความรู้สึกเบาสบายขึ้นมาแทนที่
          5. หากเกิดเสียงดังขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเสียงคนพูด เสียงสิ่งของกระทบกัน ให้ถือว่าไม่ได้ยินอะไร และอย่าไปใส่ใจกับมัน
          6.หากเกิดอะไรขึ้นอย่าตกใจ และอย่ากลัว เพราะทั้งหมดเป็นอาการของจิตที่เกิดขึ้น ให้ตั้งสติเอาไว้ในมั่นคง ทำจิตใจให้ปกติ หากเห็นภาพที่น่ากลัวให้สวดแผ่เมตตาให้สิ่งเหล่านั้น 
หรือนึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรายึดไว้เป็นที่พึ่งทางใจ ถ้าภาพเหล่านั้นไม่หายไป ให้ตั้งสติเอาไว้ หายใจยาว ๆ แล้วถอนสมาธิออกมา เมื่อจิตใจมั่นคงเป็นปกติแล้ว จึงค่อยทำสมาธิใหม่อีกครั้ง โดยควรสวดมนต์ไหว้พระ อธิษฐานให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยคุ้มครองการปฏิบัติของเราด้วย
          7.เมื่อจะออกจากสมาธิ ให้สังเกตดูว่า ใจของเราเป็นอย่างไร แล้วแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย อุทิศส่วนกุศลที่ได้จากการทำสมาธินั้นให้กับเจ้ากรรมนายเวร ผู้มีพระคุณของเรา แล้วหายใจยาว ๆ ลึก สัก 3 รอบ ก่อนค่อย ๆ ถอนสมาธิช้า ๆ ค่อย ๆ ลืมตาขึ้น
ประโยชน์จากการฝึกสมาธิ
หากเราได้ฝึกสมาธิอยู่เป็นประจำแล้ว ประโยชน์ที่เราจะได้รับก็คือ
          1.ส่งผลให้จิตใจผู้ทำสมาธิผ่องใส สะอาด บริสุทธิ์ สงบ จึงช่วยให้หลับสบายคลายกังวล ไม่ฝันร้าย
          2.ช่วยพัฒนาให้มีบุคลิกภาพดีขึ้น กระปรี้กระเปร่า สง่าผ่าเผย มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น รู้สึกควบคุมอารมณ์ จิตใจได้ดีขึ้น เหมาะสมกับกาละเทศะ
          3.ผู้ฝึกสมาธิบ่อย ๆ จะมีความจำดีขึ้น มีการพินิจพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ รอบคอบมากขึ้น ทำให้เกิดปัญญาในการทำสิ่งใด ๆ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเล่าเรียน และการทำงานดีขึ้น
          4.ช่วยคลายเครียด และลดความเครียดที่จะเข้ามากระทบจิตใจได้ เมื่อเราไม่เครียด ร่างกายก็จะหลั่งสารทำให้เกิดความสุข ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เพราะมีภูมิต้านทานเชื้อโรค และยังช่วยชะลอความแก่ได้ด้วย
          5.ทำให้จิตใจอ่อนโยนขึ้น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เกิดความประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
          6.ระงับอารมณ์โมโห อารมณ์ร้ายต่าง ๆ ได้ เพราะการฝึกสมาธิช่วยให้จิตสงบนิ่งมากขึ้น และเมื่อจิตสงบนิ่งแล้วจะมีพลังยับยั้งการกระทำทางกาย วาจา ใจได้
          7.มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีจิตเป็นสมาธิจะมีความดันอัตราการหายใจลดลง หัวใจเต้นช้าลง คลื่นสมองช้าและเป็นระเบียบขึ้น การเผาผลาญอาหารในร่างกายลดลง ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง ส่งผลให้มีสุขภาพดี และช่วยบำบัดโรคได้ โดยเฉพาะหากปฏิบัติร่วมกับการออกกำลังกาย