เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้

เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้
คติพจน์ประจำใจ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา ถวายเทียนพรรษา 2557

งานประจำปีประเพณี
ถวายเทียนเข้าพรรษา  2557
พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
(พระมหาหนูพร  จารุวณฺโณ)  
น.ธ.เอก ป.ธ. ๓ ศศ.บ.
เจ้าคณะตำบลกกกุงเเจ้าอาวาส
วัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ-โนนค้อ

โดยการนำของ
อาจารย์ประไพร  ส่งเสริมสกุล
รองผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองสรวงวิทยา
พร้อมด้วยคณะ/นักเรียน กว่า 200 คน
งานประเพณีบุญถวายเทียน
สัมมาคารวะพระเถระผู้ใหญ่/และบุญบั้งไฟ
ณ  วัดท่าสว่าง  บ้านหนองผือ-โนนค้อ
ตำบลหนองผือ  อำเภอเมืองสรวง  
จังหวัดร้อยเอ็ด
วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ประเพณีการเข้าพรรษา
       ในทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตแก่พระสงฆ์นั้น มีประวัติความเป็นมาโดยสังเขปว่า ประเพณีของคนอินเดียในสมัยโบราณ เมื่อถึงฤดูฝน ฝนตกชุก น้ำมักจะท่วม เป็นอุปสรรคสำหรับชนผู้สัญจรไปมาในระหว่างเมือง เช่น พวกพ่อค้าก็พากัน
หยุดกิจในฤดูฝนนี้ เพราะไม่สะดวกในการเดินทาง พวกนักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา ก็พากันหยุดพัก ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดฤดูฝนนี้ เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ทรงจาริกไปในบ้าน นิคม ชนบท ราชธานี น้อยใหญ่เพื่อประกาศพระศาสนา 
ในกาลเริ่มต้นภิกษุยังมีน้อย เมื่อถึงฤดูฝนพระองค์พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย ทรงหยุดพัก ณ เมืองใดเมืองหนึ่งตลอดฤดูฝน เมื่อฤดูฝนผ่านพ้นไปแล้ว จึงได้เสด็จจาริกประกาศพระศาสนาต่อไป นี้จัดเป็นพุทธจริยาวัตร และพระองค์ยังมิได้บัญญัติให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษา 
ความติฉินนินทาอันใดก็มิได้เกิดมี ครั้นจำเนียรกาลผ่านมากุลบุตรทั้งหลายผู้ทีได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์และเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทมากขึ้น ภิกษุก็มีปริมาณมากขึ้นโดยลำดับ สมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ (ภิกษุ ๖ รูป) 
เมื่อถึงฤดูฝนแล้ว ก็มิได้หยุดพัก ยังเทียวสัญจรไปมาในบ้าน นิคม ชนบท และราชธานีน้อยใหญ่ เหยียบข้าวกล้าระบัดเขียวให้เกิดความเสียหาย ทำให้สัว์ตัวเล็กน้อยตาย เพราะการไม่รู้จักกาลเทศะของท่านเหล่านั้น ประชาชนจึงพากันติเตียนว่า 
 ไฉนเล่า พระสมณศากยบุตรจึงเที่ยวไปมาอยู่ทุกฤดูกาล เหยียบข้าวกล้าและติณชาติให้ได้รับความเสียหาย ทำให้สัตว์เล็กน้อยตาย ? พวกเดียรถีย์และปริพพาชกเสียอีกยังพากันหยุดพักในฤดูฝน ถึงนกยังรู้จักทำรังที่กำบังฝนของตน
พระพุทธองค์ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงทรงบัญญัติเป็นธรรมเนียมให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน ในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงกลางเดือน ๑๑ ห้ามมิให้เที่ยวสัญจรไปมา ต้องอยู่ประจำที่ 
วันเข้าพรรษาที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้มีอยู่ ๒ วัน คือ
๑. ปุริมิกาวัสสูปนายิกา คือ วันเข้าพรรษาแรก
ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน ๑๑
๒. ปัจฉิมมิกาวัสสูปนายิกา คือ วันเข้าพรรษาหลัง 
ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน ๑๒

ภิกษุเข้าพรรษาแล้ว หากมีกิจธุระจำเป็นอันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ แต่จะต้องกลับมา ยังสถานที่เดิมภายใน ๗ วัน พรรษาไม่ขาด ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ” 
เหตุที่ทรงอนุญาตให้ไปได้ด้วยสัตตาหกรณียะนั้นมี ๔ อย่าง
ดังต่อไปนี้
๑. สหธรรมิกหรือมารดาบิดาเจ็บไข้ รู้เข้าไปเพื่อรักษาพยาบาล
๒. สหธรรมิกกระสันจะสึก รู้เข้าไปเพื่อห้ามปราม

๓. มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น เช่น วิหารชำรุดลงในเวลานั้น ไปเพื่อหาเครื่องทัพพสัมภาะมาปฏิสังขรณ์ 
๔. ทายกต้องการบำเพ็ญบุญกุศลส่งคนมานิมนต์ ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของเขาได้ แม้ธุระอื่นนอกจากนี้ที่เป็นกิจจลักษณะอนุโลมเข้าในข้อนี้ด้วย 
ในเวลาจำพรรษาเมื่อมีอันตรายเกิดขึ้นจะอยู่ต่อไปไม่ได้ และไปเสียจากที่นั้น พรรษาขาด แต่ท่านไม่ปรับอาบัติ (ไม่เป็นอาบัติ) 
มีดังนี้ คือ
๑. ถูกสัตว์ร้าย โจร หรือปีศาจเบียดเบียน
๒. เสนาสนะถูกไฟไหม้ หรือน้ำท่วม

๓. ภัยเช่นนั้นเกิดขึ้นแก่โคจรคาม ลำบากด้วยบิณฑบาต, ในข้อนี้ชาวบ้านอพยพจะตามเขาไปก็ควร 
๔. ขัดสนด้วยอาหาร โดยปกติไม่ได้อาหารหรือเภสัชอันสบาย ไม่ได้อุปัฏฐากอันสมควร (ข้อนี้หากพอทนได้ก็ควรอยู่ต่อไป)

๕. มีหญิงมาเกลี้ยกล่อม หรือมีญาติมารบกวนล่อด้วยทรัพย์ 
๖. สงฆ์ในอาวาสอื่นจวนจะแตกกันหรือแตกกันแล้ว ไปเพื่อจะห้ามหรือเพื่อสมานสามัคคีได้อยู่ (ในข้อนี้ ถ้ากลับมาทัน ควรไป
ด้วยสัตตาหกรณียะ)

พระพุทธองค์ทรงอนุญาตการอยู่จำพรรษาในสถานที่บางแห่ง แก่ภิกษุบางรูปผู้มีความประสงค์ จะอยู่จำพรรษาในสถานที่ต่างๆ กัน สถานที่เหล่านั้น คือ 
๑. ในคอกสัตว์ (อยู่ในสถานที่ของคนเลี้ยงโค)
๒. เมื่อคอกสัตว์ย้ายไป ทรอนุญาตให้ย้ายตามไปได้
๓. ในหมู่เกวียน
๔. ในเรือ 
พระพุทธองค์ทรงห้ามมิให้อยู่จำพรรษาในสถานที่อันไม่สมควร สถานที่เหล่านั้น คือ
๑. ในโพรงไม้
๒. บนกิ่งหรือคาคบไม้
๓. ในที่กลางแจ้ง
๔. ในที่ไม่มีเสนาสนะ คือไม่มีที่นอนที่นั่ง
๕. ในโลงผี
๖. ในกลด

๗. ในตุ่ม 

ข้อห้ามที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ห้ามมิให้ตั้งกติกาอันไม่สมควร เช่น การมิให้มีการบวชกันภายในพรรษา

๒. ห้ามรับปากว่าจะอยู่พรรษาในที่ใดแล้ว ไม่จำพรรษาในที่นั้น 
อนึ่ง วันเข้าพรรษานี้ ถือกันว่าเป็นกรณียพิเศษสำหรับภิกษุสงฆ์ เมื่อใกล้วันเข้าพรรษาควรปัดกวาด เสนาสนะสำหรับจะอยู่จำพรรษาให้ดี ในวันเข้าพรรษา พึงประชุมกันในโรงอุโบสถไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาต่อกันและกัน หลังจากนั้นก็ประกอบพิธีอธิษฐานพรรษา ภิกษุควรอธิษฐานใจของตนเองคือตั้งใจเอาไว้ว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า 
อิมสฺมึ อาวาเส อิมัง เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ แปลว่า ข้าพเจ้าจะอยู่จำพรรษาในอาวาสนี้ตลอด ๓ เดือนหลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้ว ก็นำดอกไม้ธูปเทียนไปนมัสการบูชาปูชนียวัตถุที่สำคัญในวัดนั้น ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูปเทียนไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์และพระเถระผู้ที่ตนเองเคารพนับถือ 
                          พระครูปลัดนคร  จนฺทธมฺโม  
                      ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเมืองสรวงเก่า
                          ฝ่ายพิธรกร/ประชาสัมพันธ์
อานิสงส์แห่งการจำพรรษา

เมื่อพระภิกษุอยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนได้ปวารณาแล้ว ย่อมจะได้รับอานิสงส์แห่งการจำพรรษา ๕ อย่าง ตลอด ๑ เดือนนับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป คือ 
๑. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องบอกลา ตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตตีย์กัณฑ์
๒. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
๓. ฉันคณะโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้
๔. เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา

๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของพวกเธอ 
และยังได้โอกาสเพื่อที่จะกราลกฐิน และได้รับอานิสงส์พรรษาทั้ง ๕ ขึ้นนั้นเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือน ในฤดูเหมันต์ หรือฤดูหนาว คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ อีกด้วย สำหรับคฤหัสถ์ ควรปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษเช่นเดียวกัน ควรอธิษฐานใจตนเอง 
เพื่องดเว้นจากสิ่งที่เป็นอกุศลทั้งปวง สิ่งใดที่จะเป็นทางนำไปสู่หนทางแห่งความเสื่อมก็ควรจะงดเว้นเสีย แล้วตั้งใจสมาทานในการบำเพ็ญกุศลให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ด้วยการสมาทานรักษาอุโบสถตลอด ๓ เดือน ตามการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ 
การปฏิบัติของคฤหัสถ์เช่นนี้ เรียกว่า คฤหัสถ์เข้าพรรษาจะเป็นมหากุศลอย่างยิ่ง การบำเพ็ญกุศลนั้น ถ้าจะทำติดต่อกันไปโดยตลอด ไม่เลือกเฉพาะกาลแล้ว ย่อมจะเป็นศิริมงคลแก่ตนเองมากยิ่งนักแลฯ
“หนอนภู”
หนอน.ก็สอง ภู.ก็สอง ลองประดิษฐ์
สุภาษิต พุทธศาสนาสอน              
ผูกประพันธ์ สรรธรรม เป็นคำกลอน  

เพื่อสั่งสอน ใจตน ให้พ้นพาล      
มีผู้อื่น เปรมปรีดิ์ ยินดีด้วย    
เลยพิมพ์ช่วย แจกให้ กระจายสาร    
ได้ต่อเติม เพิ่มใหม่ หลายประการ    

ไม่เนิ่นนาน สำเร็จ เสร็จแล้วพิมพ์      
อุทานธรรม คราวนี้ มีมากข้อ 
แก้ให้ต่อ กลอนกัน ทันสมัย           
แต่งเรื่องธรรม สับสน ปนกันไป       
เหมือนยำใหญ่ รวมหมด รสนานา     
เชิญรับ มธุรส พระธรรมรัตน์  
ได้บำบัด วุ่นวาย สบายหนา          
ทำให้ใจ ใสสุข ไม่ทุกข์นา            

ได้เวลาแล้ว ก็เชิญ อย่าเมินเลย.     
“อาจูหนาน”
          ๑. อุทานธรรม ของ หนอนภู  สุภาษิต
เป็นข้อคิด คำกลอน อักษรสาร           
เทศนา ไทยไทย ไว้เป็นทาน              
แก้รำคาญ ฟังเล่น เย็นเย็นใจ              
๒. ใครดี เราก็ดี อารีต่อ   
ให้สมข้อ โบราณ ที่ขานไข           
มิตตะจิต ต่อติด กับมิตตะใจ       

ใครไม่ใย แล้วอย่าอยาก ให้ยากเย็น
          ๓. คำโบราณ พาที ไว้ดีมาก    
โคไม่อยาก กินหญ้า อย่าเคี่ยวเข็ญ      
ฝืนน้ำใจ ของเขา เราลำเค็ญ             

ถึงคราวเป็น แล้วต้องปล่อย ไปตามกาล
๔. ใครมีปาก อยากปูด ก็พูดไป
เรื่องอะไร ก็ช่าง อย่าฟังขาน           
เราอย่าต่อ ก่อก้าว ให้ร้าวราน          

ความรำราญ ก็จะหาย สบายใจ          
          ๕. ปิ้งปลาหมอ งอแล้วกลับ นี่คำขำ
เจ็บแล้วจำ ใส่กระบาล นี่ขานไข             
ผิดแล้วแก้ กลับตัว เปลี่ยนหัวใจ             

จะหาใคร มาวอน ไม่สอนตน                  
          ๖. โทษผู้อื่น แลเห็น เป็นภูเขา
โทษของเรา แลไม่เห็น เท่าเส้นขน   
ตดผู้อื่น เหม็นเบื่อ เราเหลือทน        

ตดของตน ถึงจะเหม็น ไม่เป็นไร       
๗. อันบ้านเรือน ใหญ่โต รโหฐาน
มีเสาทาน หลายต้น จึงทนไหว           
เกิดเป็นคน อยู่เดียว ก็เปลี่ยวใจ          
ต้องอาศัย พวกพ้อง พี่น้องนา              
๘. จะหาใคร เหมาะใจ ที่ไหนเล่า
ตัวของเรา ยังไม่เหมาะ ใจเราหนา      
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา                    
รู้ล่วงหน้า เสียก่อน ไม่ร้อนใจ             
๙. ทุกข์สุขอยู่ ที่ใจ ไม่ใช่หรือ
ถ้าใจถือ ก็เป็นทุกข์ ไม่สุกใส         
ถ้าไม่ถือ ก็เป็นสุข ไม่ทุกข์ใจ         

เราอยากได้ ความทุกข์ หรือสุขนา    
          ๑๐. ยามมีมัน ก็มี มีเหลือล้น
แล้วกลับจน มันก็จน จนจริงหนา   
อนิจจัง ดังนี้ ไม่ดีนา                 

ต้องขอลา อนิจจัง ดังนี้แล            
๑๑. ยามจน มันก็จน จนเต็มที่
แล้วกลับมี มันก็มี มีนักหนา           
อนิจจัง ดังนี้ ดีนักนา                   

ไม่ขอลา อนิจจัง ดังนี้เลย              
          ๑๒. ไม่รู้ไม่ชี้ ดีนัก รู้จักใช้
นึกอะไร แล้วทิ้ง นิ่งนั่งเฉย       
ไม่ต่อเรื่อง เครื่องทุกข์ สุขเสบย 

ใครไม่เคย ลองดู จะรู้ดี             
๑๓. รักษาตัว กลัวกรรม อย่าทำชั่ว
จะหมองมัว หม่นไหม้ ไปเมืองผี           
จงเลือกทำ แต่กรรม ที่ดีดี                  

จะได้มี ความสุข พ้นทุกข์ภัย                 
๑๔. เราจะต้อง พลัดพราก จากของรัก
ไม่ย้ายยัก มั่นคง อย่าสงสัย                     
รีบรู้ตัว เสียก่อน ไม่ร้อนใจ                       

ถึงคราวไป แล้วก็ไป ไปตามกาล                 
๑๕. ความไม่พอ ใจจน เป็นคนเข็ญ
พอแล้วเป็น เศรษฐี มหาศาล                 
จนทั้งนอก ทั้งใน ไม่ได้การ                 

จงคิดอ่าน แก้จน เป็นคนมี                    
          ๑๖. รู้ว่าไฟแล้ว ทำไม ไปจับเล่น
มันไม่เย็น เลยหนา น่าบัดสี               
ครั้นถูกไฟ ไหม้เผา เศร้าโศกี             
น่าจะตี เสียให้ช้ำ ระกำทรวง               
๑๗. อันประมาท ปราชญ์ชม นิยมนัก
ว่าเป็นมรรค ครรไล อันใหญ่หลวง           
ให้ประชา สาธุชน คนทั้งปวง                  

พ้นจากบ่วง ตัณหา สิ้นราคี                    
๑๘. อโหโอ โอ้น่า อนาถหนอ
ความไม่พอ พายุ่ง ทุกกรุงศรี         
ต้องรบรา ฆ่ากัน ลั่นโลกีย์             

ใครเสียที แล้วก็ตาย วายชีวัน           
๑๙. ผู้ใดชั่ว รู้ตัว แล้วกลับจิต
ไม่ถือผิด งมโง่ โดยโมหัน            
ควรจะชม ว่าสม เป็นคนธรรม์        

รู้ผ่อนผัน กลับตน เป็นคนตรง         
          ๒๐. สังขารา สัสสตา นัตถิ
เป็นสติ สำคัญ ป้องกันหลง       
ตัดยินดี ยินร้าย ให้คลายลง       
ไม่งมงง ลืมตัว เพราะชั่วดี          
          ๒๑. เวลาใด ทำใจ ให้ผ่องแผ้ว
เหมือนได้แก้ว มีค่า เป็นราศี           
เวลาใด ทำใจ ให้ราคี                   

เหมือนมณี แตกหมด ลดราคา          
          ๒๒. เขาทำดี ทำชั่ว ตัวของเขา
อย่าหาเหา ใส่หัว ของตัวหนา           
มันจะยุ่ง นุงนัก หนักอุรา                 

ตามยถา กรรมเขา เราสบาย             
          ๒๓. สมัยใด ทำใจ ให้ผุดผ่อง
จากหม่นหมอง ราคิน สิ้นทั้งหลาย  
จะพบสุข สดใส ใจสบาย              

อภิปราย คงไม่ชัด ปัจจัตตัง            
คำถวายเทียนพรรษา
ยัคเฆ ภันเต,สังโฆ ปะฏิชานาตุ , มะยัง ภันเต, เอตัง ปะทีปะยุคัง, สะปะริวารัง, เตมาสัง, พุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ, อิมัสสะหมิง อะโปสะถาคาเร, นิยยาเทมะ, สาธุ โน ภันเต, อะยัง เตมาสัง , พุทธัสสะ , ปูชะนัตถายะ, ปะทีปะยุคัสสะ,ทานัสสะ , อานิสังโส , อัมหากัญเจวะ,มาตาปิตุอาทีนัญจะ,ปิยะชะนานัง, ทีฆะรัตตัง,หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ.
     ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์โปรดรับทราบ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอมอบถวายเทียนคู่นี้ พร้อมกับของบริวาร ไว้ ณ อุโบสถนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชาตลอดพรรษา ขออานิสงส์แห่งการถวายคู่ เทียน เพื่อเป็นพุทธบูชา ตลอดพรรษนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ปิยชนทั้งหลายมีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย ตลอดกาลนานเทอญ    
๒๔. นึกนึกแล้ว ก็น่า อนาถหนา
เพราะตัณหา พายุ่ง ออกนุงถัง         
ต้องรบรา ฆ่ากัน ลั่นลือดัง               
ใครพลาดพลั้ง แล้วก็ตาย วายชีวา      

๒๕. กายกับใจ อาศัย ซึ่งกันอยู่
เราต้องรู้ ว่ามัน ต่างกันหนา            
สุขทุกข์ แต่ละอย่าง ก็ต่างนา           

ถ้าเอามา คลุกกัน มันยุ่งใจ               
          ๒๖. ปล่อยให้ยุ่ง แล้วมันแย่ แก้มันยาก
ยิ่งยุ่งมาก มันยิ่งแย่ แก้ไม่ไหว                  
อย่าปล่อยให้ยุ่ง นุงนัก จะหนักใจ              

จงแก้ไข อย่าให้ยุ่ง นุงนักนา                     
          ๒๗. พูดไปเขา ไม่รู้ กลับขู่เขา
ว่าโง่เง่า งมเงอะ เซอะหนักหนา      
ตัวของตัว ทำไม ไม่โกรธา             
ว่าพูดจา ให้เขา ไม่เข้าใจ               

๒๘. โกรธเขา เราก็รู้ อยู่ว่าร้อน
จะนั่งนอน ก็เป็นทุกข์ ไม่สุกใส         
แล้วยังดื้อ ด้านโกรธ จะโทษใคร       
น่าแค้นใจ จริงหนา ไม่น่าชม            

๒๙. จะเป็นสุข ก็ต้องทุกข์ ลงทุนก่อน
จะเป็นก้อน ทีละน้อย ค่อยประสม             
จะเป็นพระ ก็ต้องละ กามารมณ์                

จะเป็นพรหม ก็ต้องเพียร เรียนทำฌาน        
๓๐. มีกายอย่า ได้หมาย ว่าเป็นสุข
กลับมีทุกข์ มากมาย หลายสถาน          
จะหาสุข ที่กาย จนวายปราณ                

คงไม่พาน พบแท้ เป็นแน่นอน                
๓๑. สารพัน ที่จะรู้ เป็นครูเขา
ตัวของเรา แล้วทำไม ไม่สั่งสอน    
ปล่อยให้ยุ่ง นุงนัง ไม่สังวร            

ควรผันผ่อน แก้ยุ่ง นุงทั้งปวง           
          ๓๒. โอ้โลโภ โทโส โมโหนี่
เป็นราคี ของใจ อันใหญ่หลวง     
เป็นมูลราก ราคิน สิ้นทั้งปวง        

คอยเหนี่ยวหน่วง ให้นุง ยุ่งหัวใจ     
๓๓. โอ้ร่างกาย ของเรา มันเน่าแน่
ไม่มีแปร เปลี่ยนผัน หันไฉน                
ต้องรู้ตัว เสียเสมอ อย่าเผลอใจ           
สิ่งใดใด ควรทำ รีบจ้ำเอย.                  
ily> U i � � झ ; mso-font-width:80%'>

๓๔. กาลนี้ ไม่ได้รอ เราหนอหนา
อย่ามัวมา มึนเมา เลยเราเอ๋ย             
หลงนิยม ชมทุกข์ ว่าสุขเสบย             

ไม่ช้าเลย จะต้องลา โลกคลาไคล         
          ๓๕. ชั่วหรือดี ที่ทำ กรรมทั้งหลาย
ไม่หนีหาย สูญสิ้น ไปถิ่นไหน              
ย่อมอยู่ดี กินดี ไม่มีภัย                      

รวมเก็บไว้ ที่จิต ติดตัวเรา.                   
         พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
(หนูพร  จารุวณฺโณ)  
น.ธ.เอก ป.ธ. ๓ ศศ.บ.
เจ้าคณะตำบลกกกุงเเจ้าอาวาส
วัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ-โนนค้อ


          ๓๖. อนิจจัง ทั้งนั้น ไม่ทันคิด
พอเห็นฤทธิ์ อนิจจัง ลงนั่งเหงา     
ว่าโอ้โอ๋ อกเอย เอ๋ยอกเรา           
มามัวเมา อนิจจัง จีรังกาล           

๓๗. ยังไม่เคย ฟังใคร ที่ไหนหนา
ว่าเกิดมา เป็นสุข สนุกสนาน              
มีแต่บ่น เรื่องทุกข์ ไม่สุขสราญ           
ทั้งชาวบ้าน ชาววัด ซัดกันไป             

๓๘. อนัตตา สังขาร นี้ด้านดื้อ
ไม่เชื่อถือ ถ้อยคำ ที่ร่ำไข              
จะพูดจา ว่าขาน ประการใด            

ไม่ตามใจ ข้องขัด อนัตตา              
๓๙. ไตรลักษณ์ ต้องเป็นหลัก สำหรับจิต
จงหมั่นคิด หมั่นนึก หมั่นศึกษา                    
เราต้องตาย เป็นแท้ แน่ละว่า                       
จะมัวมา นอกครู อยู่ทำไม                           
๔๐. ประพฤติธรรม สำคัญ อยู่ที่จิต
ถ้าตั้งผิด มัวหมอง ไม่ผ่องใส               
ถ้าตั้งถูก ผุดผ่อง ไม่หมองใจ               

สติใช้ คุมจิต ไม่ผิดนา                        
๔๑. อิฏฐารมณ์ นิยม ว่าเป็นสุข
ที่แท้ทุกข์ จริงเจียว ทีเดียวหนา        
สำคัญผิด ติดทุกข์ ว่าสุขนา             

เป็นสัญญา วิปลาส พลาดผิดธรรม์      
๔๒. อย่าทะนง องอาจ ประมาทรัก
มาชวนชัก รวนเร ให้เหหัน                  
ไม่กลัวเป็น กลัวตาย วายชีวัน              

ถ้าแพ้มัน แล้วต้องตาย วายชีวี              
๔๓. รามเกียรติ์ มันยุ่ง ออกนุงขิง
เพราะแย่งหญิง สีดา มารศรี               
ต้องรบรา ฆ่ากัน ลั่นโลกีย์                 

ใครเสียที แล้วก็ตาย วอดวายปราณ       
๔๔. นิสัยควาย ไม่วาย จะบดเอื้อง
คนรื้อเรื่อง อตีตัง มาตั้งขาน                
พิรี้พิไร ไม่จบ งบประมาณ                  
ก็เปรียบปาน ดังควาย น่าอายนา            
๔๕. เออไฉน ใจเรา ฉะนี้นี่
ไม่กลัวผี มันเย้ย บ้างเลยหนา     
ใจฉะนี้ หน้าไฉน อย่างไรนา      

ดูเงาหน้า แล้วคงเห็น ไม่เป็นเรา   
          ๔๖. อวดฉลาด พูดออก บอกว่าโง่
ฟังเขาโอ้ อวดอ้าง อย่าขวางเขา          
ถ้าขัดคอ เขาก็โกรธ พิโรธเรา              

เป็นเรื่องเร่า ร้อนใจ ไม่เป็นการ             
๔๗. ระลึกถึง ความตาย สบายนัก
มันหักรัก หักหลง ในสงสาร                
บรรเทามืด โมหัน อันธการ                

ทำให้หาญ หายสะดุ้ง ไม่ยุ่งใจ             
๔๘. เราจะต้อง รบรับ กับมัจจุราช
ไม่แคล้วคลาด มั่นคง อย่าสงสัย         
รีบเตรียมตัว ไว้ก่อน ไม่ร้อนใจ            

มาเมื่อไร เราก็รบ ไม่หลบนา                
๔๙. ถึงกายแพ้ แต่ใจ เราไม่แพ้
ใจไม่แก่ เจ็บตาย ตามกายหนา        
กายนี้มัน จะเน่า เราก็ลา                 

ไปสวรรค์ ชั้นฟ้า นิพพานเอย.           
             เอวังดังที่ได้        แสดงมา               
   สิ้นสุดเทศนา                เท่านี้                   
    ควรแล้วแต่เวลา            หยุดยุต ติเทอญ      
          “หนอนภู”อวยพรสวัสดี  เจริญศรีเจริญชนม์  
เจริญสุขเจริญผล            เจริญพรรณเสมอสมัย
นิราศทุกข์นิราศโศก        นิราศโรคนิราศภัย  
ประสงค์สรรพ์กุศลใด       ก็จงสมประสงค์เทอญ
          ขอสิ่งพิเศษสรรพ์       สรพันพิพัฒน์พร
จงมาสโมสร                      อุปถัมภ์อำนวยชัย
มวลหมู่อมิตต์หมาย             ก็ละลายละเลิกไป
ทุกข์โศกแลโรคภั                -ยพิบัติบ่มีฑา    
หวังใดผิไม่ผิด                    ก็สำฤทธิ์ประจักษ์ตา

ทวยเทพเทพา                    อภิบาลนิรันดร.   































                                                                                                                                                                        วันมาฆบูชา
โอวาทปาฏิโมกข์
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ 
หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔  
ในปีอธิกมาส เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณภายใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ พระองค์ประทับเสวยวิมุติสุขในเขตปริมณฑลนั้นเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ จากนั้นจึงเสด็จไปโปรดคณะปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี
วันวิสาขบูชา
ประสูติ - ตรัสรู้ - ปรินิพพาน
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
     ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหนก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
วันอัฏฐมีบูชา
วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
ตรงกับ วันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖)
     ความหมาย เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า "วันอัฏฐมีบูชา"
วันอาสาฬหบูชา
พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
   วันอาสาฬหบูชา เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา เพราะเป็นครั้งแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มีชื่อว่า "ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร" ซึ่งได้แก่อริยสัจ 4 ซึ่งหมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว โกญฑัญญะ ก็สำเร็จพระโสดา รู้ตามกระแสพระธรรมของพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึงนับได้ว่า วันนี้ เป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัยครบเป็นองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า นับเป็นวันแรกที่ พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
วันเข้าพรรษา
ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘
จนถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
   ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงมีพระชนม์อยู่ ได้ทรงเสด็จ ไปยังทุกแห่งหน เพื่อสั่งสอนหลักธรรมอันประเสริฐ จนมีพุทธสาวกมากมาย โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สุขแก่หมู่มวลมนุษย์โลก พระองค์ได้เสด็จไปยังถิ่นทุรกันดาร ในทุกฤดูกาล ต่อมา ปรากฏว่าในช่วงพรรษาหรือช่วงฤดูฝนได้มีผู้ร้องขอต่อพระองค์ว่าได้เกิดความเสียหาย แก่ข้าวกล้าเพราะถูกเหยียบโดยพุทธบริษัท ซึ่งไม่ได้เจตนา ดังนั้นพระองค์จึงออกพุทธบัญญัติกำหนดให้ พระสงฆ์ทุกรูป จำพรรษา เป็นหลักเป็นแหล่งในช่วงฤดูฝน โดยให้เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนกระทั่งถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 นับเป็น เวลา 3 เดือน ในวันเข้าพรรษานี้ จะมีการทำบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ พระภิกษุ สามเณร รวมทั้งยังมีการ ถวายเทียนพรรษา แก่วัดอีกด้วย
วันออกพรรษา
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
     วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ » อ่านต่อ
 หลังจากวันออกพรรษาแล้วมีประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธนิยมทำกันมากคือ การทอดกฐิน
วันโกน - วันพระ
วันโกน คือ วันขึ้น ๗ ค่ำ กับ ๑๔ ค่ำ
และแรม ๗ ค่ำ กับแรม ๑๔ ค่ำ ของทุก เดือน
( หรือ แรม ๑๓ ค่ำ หากตรง กับเดือนขาด )
ซึ่งเป็นวันก่อนวัน พระ ๑ วัน นั่นเอง
     วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ กับ ๑๕ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ กับแรม ๑๕ ค่ำ ของทุกเดือน(หากตรงกับเดือนขาด อาจเป็น แรม ๑๔ ค่ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น