เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้

เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้
คติพจน์ประจำใจ

วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การตอบแทนพระคุณ


ความกตัญญูกตเวที
             ความกตัญญู  หมายถึง  คุณธรรมที่เป็นพื้นฐานของมนุษย์  ในสังคมมนุษย์ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งอื่น  ชีวิตด้านกายภาพดำรงอยู่ได้เพราะได้รับอุปการะเลี้ยงดูจากบุคคลต่างๆ มีบิดามาดา ครูอาจารย์ ญาติพี่น้อง เป็นต้น นอกจากนั้น ต้องพึ่งอาศัยสิ่งเหล่าอื่นอีก เช่น อาศัยปัจจัย ๔ เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตจึงจะอยู่รอดได้  ในส่วนจิตใจมนุษย์ก็ได้รับการปลูกฝังอบรมคุณลักษณะคุณค่าทางจิตใจจากบุคคลอื่น มีบิดามารดา เป็นต้น ให้มีทัศนคติ ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม อันเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิตให้มีความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของมนุษย์  ความกตัญญูนี้ เป็นคุณธรรมที่มนุษย์พึงปฏิบัติมิใช่เฉพาะต่อมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น แต่ให้มี่แม้แต่ต่อสัตว์และพืชทั้งหลายด้วยความกตัญญู เป็นการกระทำความดีอย่างหนึ่งที่พึงปรารถนาของทุกคน ที่มีความกตัญญู ย่อมจะทำตนเองให้มีความสุขและทำผู้อื่นให้มีความสุขด้วย จากการศึกษาพบว่าพระพุทธศาสนากล่าวยกย่องบุคคลที่มีความกตัญญู และให้ความสำคัญต่อบุคคลผู้มีความกตัญญูว่าเป็นบุคคลที่หาได้ยากในโลก  พระพุทธองค์ตรัสว่าบุคคลที่หาได้ยากมี  ๒  จำพวก ได้แก่
   ๑. บุพพการี         ผู้ทำอุปการะก่อน
   ๒.กตัญญูกตเวที    ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วตอบแทน
บุพพการีบุคคล กับ กตัญญูกตเวทีบุคคล คือบุคคลที่มาคู่กันเสมอ  เพราะมีผู้ทำอุปการะก่อนจึงมีผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน  และเป็นบุคคลที่หาได้ยาก เพราะว่าหมู่สัตว์ส่วนใหญ่ถูกอวิชชาครอบงำ  ยากที่จะมองเห็นคุณค่าของบุคคลอื่นได้
       คำว่าบุพการี  หมายถึง บุคคลทำก่อนโดยปกติ  บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน,    บุพพการีบุคคล,  ในกฎหมายคำว่าบุพการี  หมายถึง บิดามารดา  ปู่ ย่า ตา  ยาย ทวด (ทั้งสองฝ่าย) ในทางพระพุทธศาสนา มีความหมายกว้างกว่านี้  ซึ่งหมายรวมไปถึงอาจารย์อุปัชฌาย์ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนถึงบุญทั้งหลายด้วย  บุพการีบุคคลกับกตัญญูกตเวที  กตัญญูกตเวทีบุคคล ย่อมจะหาได้ยากกว่าบุพพการีบุคคล

ความสามัคคี

ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง วิวาทบาดหมางกันความสามัคคี มีด้วยกัน 2 ประการ คือ 1.ความสามัคคีทางกาย ได้แก่ การร่วมแรงร่วมใจกันในการทำงาน 2.ความสามัคคีทางใจ ได้แก่ การร่วมประชุมปรึกษาหารือกันในเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
    ความสามัคคีดังที่ว่านี้ จะเกิดมีขึ้นได้ ต้องอาศัยเหตุที่เรียกกันว่า สาราณียธรรม ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน กระทำซึ่งความเคารพระหว่างกัน อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยดี มีความสุข ความสงบ ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ทำร้ายทำลายกัน มี 6 ประการ คือ
1.
ทำต่อกันด้วยเมตตา คือ แสดงไมตรีและความหวังดีต่อเพื่อนร่วมงาน ร่วมกิจการ ร่วมชุมชน ด้วยการช่วยเหลือธุระต่างๆ โดยเต็มใจ แสดงอาการกิริยาสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
2.
พูดต่อกันด้วยเมตตา คือ ช่วยบอกสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอนหรือแนะนำตักเตือนกันด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
3.
คิดต่อกันด้วยเมตตา คือ ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน
4.
ได้มาแบ่งกันกินใช้ คือ แบ่งปันลาภผลที่ได้มาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน
5.
ประพฤติให้ดีเหมือนเขา คือ มีความประพฤติสุจริต ดีงาม รักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจ หรือทำความเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ
6.
ปรับความเห็นเข้ากันได้ คือ เคารพรับฟังความคิดเห็นกัน มีความเห็นชอบร่วมกันตกลงกันได้ในหลักการสำคัญ ยึดถืออุดมคติหลักแห่งความดีงาม หรือจุดหมายอันเดียวกัน
ธรรมทั้ง 6 ประการนี้ เป็นคุณค่าก่อให้เกิดความระลึกถึง ความเคารพนับถือกันและกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน เพื่อป้องกันความทะเลาะ ความวิวาทแก่งแย่งกัน เพื่อความพร้อมเพรียงร่วมมือ ผนึกกำลังกัน เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
อานิสงส์ของความสามัคคีนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นบ่อเกิดแห่งความสุข ความเจริญ เป็นเหตุแห่งความสำเร็จในกิจการงานต่างๆ การงานอันเกินกำลังที่คนๆ เดียวจะทำได้ เช่น การก่อสร้างบ้านเรือน ต้องอาศัยความสามัคคีเป็นที่ตั้ง แมลงปลวกสามารถสร้างจอมปลวกที่ใหญ่โตกว่าตัวหลายเท่าให้สำเร็จได้ ก็อาศัยความสามัคคีกัน เพราะฉะนั้น การรวมใจสามัคคีกันจึงเกิดมีพลัง ส่วนการแตกสามัคคีกันทำให้มีกำลังน้อย
โทษของการแตกสามัคคีกันนั้น ท่านกล่าวไว้ว่า หาความสุข ความเจริญไม่ได้ ไม่มีความสำเร็จด้วยประการทั้งปวง เหตุให้แตกความสามัคคีกันนี้ อาจเกิดจากเหตุเล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นได้ เหมือนเรื่องน้ำผึ้งหยดเดียว แต่เป็นเหตุให้เกิดสงครามได้เหมือนกัน ดูตัวอย่างเรื่องพวกเจ้าลิจฉวีในเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี มีความสามัคคีกัน พระเจ้าอชาตศัตรูก็ทำอะไรไม่ได้ แต่พอถูกวัสสการพราหมณ์ยุยงให้แตกสามัคคีกันเท่านั้น ก็เป็นเหตุให้พระเจ้าอชาตศัตรู เข้าโจมตีและยึดเมืองเอาไว้ได้ในที่สุด
ดังนั้น ความสามัคคี ถ้าเกิดมีขึ้นในที่ใด ย่อมทำให้ที่นั้นมีแต่ความสงบสุข ความเจริญ ส่วนความแตกสามัคคี ถ้าเกิดมีขึ้นในที่ใด ย่อมทำให้ที่นั้นประสบแต่ความทุกข์ มีแต่ความเสื่อมเสียโดยประการเดียว

ความซื่อสัตย์นั้น สำคัญ    ความซื่อสัตย์ 
ความซื่อสัตย์ หมายถึง มีความซื่อตรง มั่นคงอยู่ในศีลธรรม มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น มีความสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ ซึ่งความซื่อสัตย์นี้จะไม่ทำให้บุคคลรอบข้างของเราเดือดร้อนและแล้วความซื่อสัตย์นั่นก็จะนำพามาซึ่งความเจริญของบ้านเมือง
     คำว่า  "ซื่อสัตย์"  ในพจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำว่า “ ซื่อ ว่าหมายถึง ตรง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ไม่คดโกง ส่วนคำว่า “ ซื่อตรง หมายถึง ความประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่คดโกง และ ซื่อสัตย์ หมายถึง ความประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกหลวง หรือเราอาจจะพูดง่ายๆว่าคนที่ซื่อสัตย์ ก็คือ คนที่เป็นคนตรง ประพฤติสิ่งใดก็ด้วยน้ำใสใจจริง
     ความซื่อสัตย์นั้นมีหลายอย่าง เช่น ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ความซื่อสัตย์ต่อครอบครัว ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ความซื่อสัตย์ต่อมิตร และความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ เป็นต้น
มีพุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ สจฺเจน กิตฺตี ปปฺโปติ ” แปลว่า  คนเราจะบรรลุถึงเกียรติได้เพราะความสัตย์ ” นั้นก็หมายความว่า คนที่จะมีเกียรติ ย่อมต้องเป็นคนที่มีความสัตย์ซื่อ จึงจะเป็นที่ยอมรับนับถือของคนในสังคมได้อย่างจริงใจ โดยไม่ต้องไม่เสแสร้งแกล้งทำ
         “ ความซื่อสัตย์ เป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์ในระดับไหนก็ตาม จะต้องมีการปลูกฝังหรือสอนเยาวชนรุ่นหลังให้ประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะ หากคนในสังคมขาดคุณธรรมข้อนี้เมื่อใด สังคมก็จะวุ่นวาย ไม่สงบ คนจะเอารัดเอาเปรียบกัน และเห็นแก่ตัวมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย
     ดังตัวอย่างที่กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอยกมาให้เห็น ดังนี้
     -การไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง เช่น เราตั้งใจว่าจะไม่กินของหวาน ของมันเพื่อลดน้ำหนัก แต่เราก็แอบกิน แม้คนอื่นไม่ทราบ แต่เราก็รู้ตัวเราดี ผลเสีย คือ เราก็จะอ้วน และเป็นโรคอื่นตามมา หรือตั้งใจจะอ่านหนังสือ แล้วก็ไม่อ่าน เพราะมัวไปเที่ยวเล่น ดูหนัง หรือเล่นเนท ผลเสียคือ เราอาจจะสอบตก ซึ่งหากเราขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผัดผ่อนไปเรื่อยๆ ในระยาวเราอาจจะกลายเป็นคนขาดระเบียบ ขาดความตั้งใจ กลายเป็นคนทำอะไรไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต
     -การไม่ซื่อสัตย์ต่อครอบครัว เช่น ไปมีชู้ มีกิ๊ก ติดพันนักร้องนักแสดง มีความสัมพันธ์กับคนที่มีครอบครัวแล้ว แม้จะไม่ต้องรับผิดชอบเลี้ยงดู แต่ก็จะทำให้ละเลยต่อลูกเมีย หรือสามี สร้างปัญหาในชีวิต ก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นที่ดูถูกเหยียดหยามของผู้อื่น

หากเป็นหัวหน้าไปมีสัมพันธ์กับลูกน้อง ก็จะทำให้ลูกน้องคนอื่นๆขาดความเชื่อถือ หรือหัวหน้าระดับสูงขึ้นไปไม่ให้ความไว้วางใจ เป็นต้น
     -การไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน เช่น เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจใช้อำนาจในทางมิชอบ กระทำทุจริต หรือแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือครอบครัว ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและบ้านเมืองดังที่เราจะเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน หรือหากเป็นพ่อค้าแม่ขาย ชาวสวนชาวนาไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ขายของโกงเขา หรือใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ฯลฯ ก็จะทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท โรคภัยไข้เจ็บจากสารพิษสะสมในร่างกาย เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้น
     -การซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะหากชาติอยู่ไม่ได้ ประชาชนคนในชาติก็อยู่ไม่ได้ และหากชาติล่มสลาย ก็คือพวกเราที่จะกลายเป็นคนไร้แผ่นดิน ซึ่งคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
     ตัวอย่างข้างต้น คงจะทำให้เห็นแล้วว่า “ ความซื่อสัตย์ ” เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากขาด ความซื่อสัตย์ แล้ว สังคมคงยุ่งเหยิง เกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน เกิดความโกลาหลไปทั่ว ไม่รู้สิ่งไหนจริง สิ่งไหนเท็จ ถ้าขาดในระดับบุคคลก็จะกลายเป็นคนไม่น่าเชื่อถือและมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ส่วนในระดับประเทศ ก็จะไร้ซึ่งเกียรติภูมิ เป็นที่ดูถูกของชาติอื่น ซึ่งความซื่อสัตย์ที่ว่านี้ รวมไปถึงการมี สัจจะ พูดจริงทำจริง ไม่โกหกหรือพูดเหลวไหล พูดคำไหนเป็นคำนั้นด้วย คนเช่นนี้ไปที่ใด ย่อมเป็นที่เคารพนับถือว่าเป็นคนมีเกียรติ ข้อสำคัญ ถ้าทุกคนทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ย่อมจะทำให้สังคม  และประเทศชาติมีความมั่นคง สงบสุข อันมีผลดีต่อประชาชนคือ ตัวเราทุกคนนั่นเอง
 คำที่มีความหมายตรงกับคำว่า"ซื่อสัตย์"
1. สุจริต
2. ยุติธรรม
3. ซื่อตรง
4. การมีสัจจะ
                     คุณค่าของความซื่อสัตย์
.....คนที่มีความซื่อสัตย์ จะเป็นคนที่ศรัทธาการพูดความจริง ซึ่งทำให้การสื่อสารของเขาเป็นไปอย่าเปิดเผย ไม่พูดโกหก ไม่ขโมย และไม่คดโกงใคร รวมทั้งยังคอยเปิดเผยข้อมูล และเป็นหูเป็นตาในเรื่องที่ไม่ถูกต้องที่ส่งผลเสียหายต่อส่วนรวม หรือแม้แต่ส่วนตน ซึ่งพิจารณาแล้วว่าเป็นอันตราย ดังนั้นความซื่อสัตย์ จึงเป็นคุณค่าสำคัญที่มนุษย์ควรได้รับการปลูกฝัง               
  ประโยชน์ของความซื่อสัตย์
1. การได้รับ ความไว้วางใจ จากหัวหน้างานของคุณ พนักงานที่มีความซื่อสัตย์ย่อมทำให้หัวหน้างานพร้อมและกล้าพอที่จะมอบหมายงานที่สำคัญหรือเป็นความลับของบริษัทให้กับคุณ เพราะหัวหน้าไว้วางใจตัวคุณเพราะรู้ว่างานที่มอบหมายให้ไปนั้นคุณต้องทำเสร็จและข้อมูลที่คุณทำนั้นมีความถูกต้องอย่างแน่นอน 
2. ความน่าเชื่อถือ ได้ของตัวคุณ คุณจะได้รับการยอมรับและการกล่าวถึงในทางที่ดีจากบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือแม้กระทั่งลูกค้าของคุณเอง เช่น ยอมรับว่าคุณมีความรับผิดชอบและความตั้งใจทำงาน เนื่องจากคุณไม่เคยที่จะขาดงานหรือมาสาย รวมทั้งข้อมูลที่คุณให้นั้นมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันเสมอ
3. สร้างผลงาน      ของตัวคุณ ความซื่อสัตย์ทำให้คุณมีโอกาสทำงานใหญ่หรือสำคัญ ซึ่งอาจเป็นงานที่มีผลกระทบต่อหน่วยงานหรือองค์การ โดยคุณจะมีโอกาสแสดงฝีมือการทำงานของคุณและโอกาสนี้เองย่อมจะส่งผลต่อเนื่องไปยังผลผลการ และมูลค่าเพิ่ม   ) ของตัวคุณเอง
4. รักษาผลประโยชน์ของหน่วยงาน/บริษัท หากคุณมีความซื่อสัตย์แล้วล่ะก็ ย่อมหมายถึงคุณไม่ได้เอาเปรียบหน่วยงานและบริษัท เนื่องจากคุณทำงานอย่างเต็มที่ ได้ปฏิบัติตามระเบียบและรักษาทรัพย์สินของบริษัท และรวมถึงคุณไม่เอาความลับของบริษัทไปเปิดเผยให้คู่แข่งรับรู้ ซึ่งหมายถึงคุณกำลังรักษาผลประโยชน์ให้กับหน่วยงานและบริษัทของคุณเอง

   สุภาษิตคำ พังเพยที่เกี่ยวกับความซื่อสัตย์         
.....1. นกสองหัว หมายถึง คนที่มีใจฝักใฝ่ทั้งสองฝ่าย
.....2. กินบนเรือนขี้บนหลังคา หมายถึง คนเนรคุณ
.....3.ฉ้อราษฎร์บังหลวง    หมายถึง   เบียดบังเงินหลวง
.....4. ชุบมือเปิบ    หมายถึง    ฉวยเอาผลประโยชน์เมื่อคนอื่นทำสำเร็จแล้วโดยมิต้องลงทุน
.....5.ต่อหน้ามะพลับลับหลังตะโก     หมายถึง   ต่อหน้าทำเป็นดีลับหลังกลับเป็นคนเลว
.....6. ปากหวานก้นเปรี้ยว   หมายถึง     พูดจาอ่อนหวาน แต่ไม่ยอมเสียเปรียบใคร
.....7. มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก  หมายถึง  คนกลับกลอกเอาแน่นอนอะไรไม่ได้
.....8.มือถือสากปากถือศีล  หมายถึง ไปวัดฟังธรรมถือศีล แต่กระทำตนไม่ดีหรือพูดดีแต่ใจไม่ดี
.....9. ย้อมแมวขาย หมายถึง  ปรุงแต่งของเลวแล้วหลอกว่าเป็นของดีขาย
.....10. สิบแปดมงกุฎ    หมายถึง    ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมมาก
.....11.หน้าซื่อใจคด     หมายถึง   มีหน้าตาซื่อตรง แต่ในในคิดร้าย


วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พิธีประทานป้ายโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5

พิธีประทานป้ายโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ณ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตขอนแก่น
ระหว่างวันที่  ๒๙-๓๐  พฤศจิกายน  ๒๕๕๗
ณ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตขอนแก่น

เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕


ถวายการต้อนรับ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ถวายสักการะ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕

พระเทพเมธี
เจ้าคณะภาค  ๙
มอบป้านหมู่บ้านรักษาศีล  ๕

พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต
รองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น
รองอธิการบดีวิทยาเขตขอนแก่น
ถวายสักการะ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช


ถวายสักการะ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕

พระเทพกิตติรังษี
ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น
พระราชปริยัติโสภณ
เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น
ถวายสักการะ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ศีลห้ากฏสากล
ทุกคนต้อง ร่วมรักษา
เพราะเป็นกติกา
ข้อสัญญา ประชาคม

มีห้าสิกขาบท
ท่านกำหนดไว้เหมาะสม
เป็นหลักให้สังคม
นิยมยึด ประพฤติกัน
โลกเราจะร่มเย็น
ศีลย่อมเป็นสิ่งสำคัญ
เป็นหลักค้ำประกัน
สันติสุขทุกสังคม
             พระมหาเถระเจริญชัยมงคลคาถา
                   เพื่อความเป็นสิริมงคล
ถวายสักการะ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ดร.บัญชายุทธ  นาคมุจลินท์
ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศานา
จังหวัดขอนแก่น
พระสุขุมวาทเวที
รองเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด
เจ้าอาวาสวัดบูรพาภิราม พระอารามหลวง
พระพรหมสิทธิ
เจ้าคณะภาค ๑๐

เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕
กล่าวเปิดพิธีฯ และให้โอวาทแก่ผู้เข้ารับป้ายฯ
ข้อหนึ่งคือปาณา
มีเมตตาเป็นอารมณ์
รักเพื่อนร่วมสังคม
เหมือนพี่น้องท้องเดียวกัน
                        พระครูโพธิวีรคุณ
                   เจ้าคณะอำเภอปทุมรัตต์
                          จังหวัดร้อยเอ็ด
นายพนม  ศรศิลป์
ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ถวายสักการะ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ไม่โกรธและไม่เกลียด
ไม่เคียดแค้น คิดฆ่าฟัน
ไม่ตบต่อยตีกัน
ให้เจ็บช้ำ ระกำใจ
ตัวเรารักความสุข
เกลียดความทุกข์แม้ฉันใด
สัตว์อื่นโดยทั่วไป
ต่างมีใจ เช่นเดียวกัน
สัตว์โลกทุกชนิด
รักชีวิตกันทั้งนั้น
ไม่คิดปลิดชีพกัน
ย่อมสุขสันต์ สมใจปอง
หมู่บ้านรักษาศีล ๕
จังหวัดร้อยเอ็ด

สมบัติในโลกนี้
ทุกอย่างมีผู้จับจอง
ถือสิทธิ์เป็นเจ้าของ
ครอบครองกัน
เราหวงของของตน
คนทุกคนก็เหมือนกัน
สงครามผลประโยชน์
นั้นเหี้ยมโหดเกินคาดฝัน
วันใดขัดแย้งกัน
ความสัมพันธ์ย่อมเปลี่ยนไป
มิตรกลายเป็นศัตรู
คู่ต่อสู้ช่วงชิงชัย
ถวายสักการะ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ผู้แพ้ย่อมแค้นใจ
ผู้มีชัยไม่พ้นเวร
สังคมเป็นสงคราม
ทุกรูปนามต่างรำเค็ญ
เคยอยู่อย่างร่มเย็น
กลับทุกข์เข็ญ ร้อนเป็นไฟ
ขาดศีลอทินนา
ชาวประชาไม่ปลอดภัย
ทุกคนกังวลใจ
กินไม่ได้หลับไม่ลง
ศีลข้ออทินนา
ถ้ารักษาได้มั่นคง
พระพุทธิสารมุนี
เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด
ถวายสักการะ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ดร.ประยูร  แสงใส
อาจารย์ประจำ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตขอนแก่น
โลกเราจะดำรง
สันติสุขตลอดกาล
ข้อสามอย่าลังเล
กาเมสุมิจฉาจาร
ถวายสักการะ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ตั้งใจสมาทาน
เว้นจากการผิดในกาม
คู่ใครใครก็รัก
ไม่อยากให้ใครลวนลาม
มนุษย์ทุกรูปนาม
หวงแหนกามกันทุกคน
ไม่ล่วงเกินคู่ใคร
ไม่นอกใจคู่ของตน
เป็นหลักมนุษย์ชน
ทั่วสากลประพฤติกัน
ครอบครัวอยู่เป็นสุข
พ่อแม่ลูกผูกสัมพันธ์
กลมเกลียวไม่แตกกัน
ย่อมสุขสันต์กันทุกคน
ข้อสี่มีสัจจะ
กล่าววาทะมีเหตุผล
ถวายสักการะ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ไม่ลวงประชาชน
ด้วยเล่ห์กลมายาการ
พูดเพราะเสนาะโสต
มีประโยชน์ทุกคำขาน
ไม่พูดเพื่อประจานให้ชาวบ้าน
เกลียดชังใคร
จิตใจบริสุทธิ์
ทุกคำพูดเปล่งออกไป
สร้างความบันเทิงใจ
ให้คนได้ลิ้มรสธรรม
พูดดีมีสัจจะ
เป็นสาระควรจดจำ
พูดด้วยเมตตาธรรม
ทุกถ้อยคำเป็นกุศล
บันดาลสามัคคี
ให้เกิดมีในชุมชน
พระเทพเมธี
เจ้าคณะภาค ๙
ดังนั้นควรทุกคน
พูดจากันด้วยไมตรี
พูดจริงอิงประโยชน์
ไพเราะโสตพูดพอดี
พูดกันเป็นอย่างนี้
ฟังแล้วมีแต่ชื่นใจ
สุดท้ายข้อที่ห้า
คือสุราและเมรัย
ถวายสักการะ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕
พูดกันเป็นอย่างนี้
ฟังแล้วมีแต่ชื่นใจ
สุดท้ายข้อที่ห้า
คือสุราและเมรัย
ดื่มแล้วเมาหลงใหล
ไร้สติรักษาตน
อาจทำกรรมชั่วช้า
ใจเหิมกล้า ไร้เหตุผล
หน้าด้านไม่อายคน
อกุศลไม่กลัวเกรง
อาจฆ่าใครก็ได้
อาจทำร้ายแม้ตัวเอง
ดร.บัญชายุทธ  นาคมุจลินท์
ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศานา
จังหวัดขอนแก่น
โทษความเป็นนักเลง
ดื่มสุรามีมากมาย
ข้อหนึ่งต้องเสียทรัพย์
อาจถึงกับล้มละลาย

เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนา
จังหวัดร้อยเอ็ด
ข้อสองมิตรสหาย
อาจวุ่นวายวิวาทกัน
ข้อสามพิษสุรา
ก่อโรคาเอนกนันต์
บั่นทอนอายุสั้น
ตายก่อนกาลอันควรตาย
ข้อสี่ ชื่อเสียงดับ
เกียรติศัพท์ถูกทำลาย
ข้อห้าหมดยางอาย
หกทำลายภูมิปัญญา
สุราและเมรัย
มีพิษภัยมากนักหน้า
เฮโรอีน ฟิ่น กัญชา
และยาบ้าก็เหมือนกัน
เป็นสิ่งควรงดเว้น
ใครตกเป็นทาสของมัน
ต้องทุกข์โทษมหันต์
ชีวิตพลันหมดความหมาย
สติจะเลอะเลือน
อาการเหมือนภูติ ผีพราย
ประสาทถูกทำลาย
สูญสลายความทรงจำ
 พ่อ แม่ ก็ฆ่าได้
เหมือนผีร้าย เข้าครอบงำ
ไม่เกรงกลัวบาปกรรม
เลวระยำเกินโลกันต์
สังคมที่เราอยู่
จะเลิศหรูและสุขสรร
เหมือนอยู่เมืองสวรรค์
ต้องเชื่อมั่น หลักศีลธรรม
ทุกคนต้องศรัทธา
ถือศีลห้าเป็นประจำ
สวดมนต์ทุกเช้าค่ำ
ประพฤติตามคำพระสอน
สังคมสุขสมคิด
สุขสถิตย์สถาพร
สันติภาพอยู่ถาวร
ประชากร สุขทั่วกัน

ถวายสักการะ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕
พระครูโพธิวีรคุณ
เจ้าคณะอำเภอปทุมรัตต์



พระมหาประกาศ  อาภากโร (กลาง)
หัวหน้าฝ่ายวิชาภาษาต่างประเทศ

พระสุขุมวาทเวที
รองเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด









พระเทพเมธี
เจ้าคณะภาค ๙














ถวายสักการะ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕
พระเทพเมธี
เจ้าคณะภาค ๙
ถวายสักการะ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานพิธีประทานป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕











พระธรรมวิสุทธาจารย์
ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙

























ดร.บัญชายุทธ  นาคมุจลินท์
ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศานา
จังหวัดขอนแก่น

 





















พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
นายอินทร  เพชรสังคาด ผญบ.หนองหิน หมู่ ๑
นายสุนันท์  เศษบุบผา ผญบ.ข่อย หมู่ ๒
นายถวิล  นาคำ  ไวยาวัจกรวัดท่าสว่าง
นายประจักร  ธิภาศรี ผญบ.หนองผือ หมู่ ๘

พระครูปริยัติโชตยาภรณ์
นายสมชาย  จันทร์แดง ผญบ.บัวสูง หมู่ ๗
นายประจักร  ธิภาศรี ผญบ.หนองผือ หมู่ ๘


พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
นายสุนันท์  เศษบุบผา ผญบ.ข่อย หมู่ ๒


พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
นายสุนทร  พงษ์ไธสงค์ ผญบ.คูเมือง หมู่ ๑
พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
นายทวีศิลป์  บุญมะณี ผญบ.บัวป่า หมู่ ๒

พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
นายสมชาย  จันทร์แดง ผญบ.บัวสูง หมู่ ๗

พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
(หนูพร  จารุวณฺโณ  น.ธ.เอก ป.ธ.๓ ศศ.บ.)
เจ้าคณะตำบลกกกุง
เจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ-โนนค้อ
พระวิทยากรโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
นายประจักร  ธิภาศรี
ผู้ใหญ่บ้านหนองผือ หมู่ที่ ๘  ตำบลหนองผือ
อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด



ผู้ใหญ่บ้านในเขตปกครองอำเภอเมืองสรวง

ร่วมด้วยช่วยกัน
พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
(หนูพร  จารุวณฺโณ  น.ธ.เอก ป.ธ.๓ ศศ.บ.)
เจ้าคณะตำบลกกกุง
เจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ-โนนค้อ
พระวิทยากรโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
พระใบฎีกาสมบัติ  ปิยสีโล
รองเจ้าคณะตำบลกกกุง/เจ้าอาวาสวัดบัวสูง
พระประวัติ  สิรินาโม
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง


ร่วมใจสามัคคี

พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
(หนูพร  จารุวณฺโณ  น.ธ.เอก ป.ธ.๓ ศศ.บ.)
เจ้าคณะตำบลกกกุง
เจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ-โนนค้อ
พระวิทยากรโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
พร้อมคณะผู้ใหญ่บ้านอำเภอเมืองสรวง
พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
(หนูพร  จารุวณฺโณ  น.ธ.เอก ป.ธ.๓ ศศ.บ.)
เจ้าคณะตำบลกกกุง
เจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ-โนนค้อ
พระวิทยากรโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
นายอินทร  เพชรสังคาด
ผู้ใหญ่บ้านหนองหิน หมู่ที่ ๑  ตำบลหนองหิน
อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด


พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
(หนูพร  จารุวณฺโณ  น.ธ.เอก ป.ธ.๓ ศศ.บ.)
เจ้าคณะตำบลกกกุง
เจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ-โนนค้อ
พระวิทยากรโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
นายสุนทร  พงษ์ไธสงค์
ผู้ใหญ่บ้านคูเมือง หมู่ที่ ๑  ตำบลคูเมือง
อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด
พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
(หนูพร  จารุวณฺโณ  น.ธ.เอก ป.ธ.๓ ศศ.บ.)
เจ้าคณะตำบลกกกุง
เจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ-โนนค้อ
พระวิทยากรโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
(หนูพร  จารุวณฺโณ  น.ธ.เอก ป.ธ.๓ ศศ.บ.)
เจ้าคณะตำบลกกกุง
เจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ-โนนค้อ
พระวิทยากรโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
นายประจักร  ธิภาศรี
ผู้ใหญ่บ้านหนองผือ หมู่ที่ ๘  ตำบลหนองผือ
อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด
พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
(หนูพร  จารุวณฺโณ  น.ธ.เอก ป.ธ.๓ ศศ.บ.)
เจ้าคณะตำบลกกกุง
เจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ-โนนค้อ
พระวิทยากรโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
นายสมชาย  จันทร์แดง
ผู้ใหญ่บ้านบัวสูง หมู่ที่ ๗  ตำบลกกกุง
อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด
พระครูปริยัติโชติยาภรณ์
(หนูพร  จารุวณฺโณ  น.ธ.เอก ป.ธ.๓ ศศ.บ.)
เจ้าคณะตำบลกกกุง
เจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ-โนนค้อ
พระวิทยากรโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
นายทวีศิลป์  บุญมะณี
ผู้ใหญ่บ้านบัวป่า หมู่ที่ ๒  ตำบลคูเมือง
อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด