เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้

เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้
คติพจน์ประจำใจ

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

หนอนภู : จิตอาสาพัฒนาชุมชน 2555


จิตอาสา 
(Volunteer Spirit) 

 เครือข่ายจิตอาสา เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนทำงานภาคสังคมที่เห็นความสำคัญของงานอาสาสมัคร และต้องการสืบสานกระแสพลังน้ำใจที่มีอาสาสมัครจำนวนมาก เกิดขึ้นในช่วงปี 2548
  เครือข่ายมุ่งประสานความร่วมมือ และเสริมพลังการทำงานขององค์กรที่ทำงานด้านอาสาสมัคร และการให้ เกี่ยวกับจิตอาสา  ที่มา"จิตอาสา"...คืออะไร...
สมัยก่อน ได้ยินแต่คำว่า "อาสาสมัคร" พอมาสมัยนี้...มีคำว่า "จิตอาสา"...เมื่อกล่าวถึง "อาสาสมัคร" จะมีอีกคำหนึ่งที่มักจะถูกกล่าวถึงควบคู่กันเสมอ นั่นคือ คำว่า "จิตอาสา" ที่นี้มาดูกันว่าคำสองคำนี้ มีความสำคัญและความหมายแตกต่างกันอย่างไร


 อาสาสมัคร
 (Volunteer) 
หมายถึง ผู้ที่สมัครใจและอาสาเข้ามาเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและสังคม โดยสมัครใจ เพื่อการดูแล ป้องกัน แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงิน หรือสิ่งอื่นใด ผลตอบแทนที่อาสาสมัครได้รับคือ
  ความสุข ความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ
 คุณลักษณะของอาสาสมัครคือ มีความคิดเป็นอิสระในการเลือกที่จะทำหรือไม่ทำ (ตามพรสวรรค์/ความสนใจ) มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคล
  กลุ่มบุคคล และส่วนรวม ไม่หวังรางวัล หรือผลตอบแทนเป็นเงินทอง และไม่ใช่ภาระงานที่ต้องทำตามหน้าที่ ในด้านสภาวะจิตใจของบุคคลที่จะเป็นอาสาสมัครนั้น ต้องมีความรักความปรารถนาที่จะให้ และมีจิตใจที่จะทำความดี เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รวมถึงยอมเสียสละเวลา โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ
 จิตอาสา 
(Volunteer Spirit) 
หมายถึง จิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์ โดยเต็มใจ สมัครใจ อิ่มใจ ซาบซึ้งใจ ปีติสุข ที่พร้อมจะเสียสละเวลา แรงกาย และสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ 
 ในการทำกิจกรรม หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน และมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นจิตที่ไม่นิ่งดูดาย เมื่อพบเห็นปัญหา 
 หรือความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับผู้คน เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทำความดี และเห็นน้ำตาเปลี่ยนเป็นรอยยิ้ม เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย "บุญ" คือความสงบเย็น และพลังแห่งความดี อีกทั้งยังช่วยลด "อัตตา" หรือความเป็นตัวเป็นตนของตนเองลงได้บ้าง
 สำหรับ กระบวนการสร้างจิตอาสา ต้องประกอบด้วยการปลูกฝังให้ตระหนักถึงความสำคัญของจิตอาสา การเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความรู้ และการติดต่อสื่อสาร 
 การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง คุณลักษณะของผู้มีจิตอาสาคือ มุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม การทำงานทุกอย่างเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่มุ่งหวังผลตอบแทนในรูปของอามิส สินจ้าง หรือรางวัล ตลอดจนการอุทิศกาย กำลังใจ และเวลาให้แก่ส่วนรวม
 สิ่งที่อาสาสมัคร..พึงมี และถือปฏิบัติคือ
มีความรักมนุษยชาติ ตามหลักพรหมวิหาร 4 และสังควัตถุ 4
 หลักพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย 
เมตตา : ความรัก ความปรารถนาดีให้ผู้อื่นมีความสุข
กรุณา : ความสงสาร เห็นใจ ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา : ยินดีเมื่อผู้อื่นมีสุข
อุเบกขา : วางเฉยไม่ลำเอียง 
 สังควัตถุ 4 ประกอบด้วย 
ทาน : การให้ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่
ปิยวาจา : กล่าวด้วยวาจาที่ซาบซึ้ง สุภาพอ่อนหวาน
อัตถจริยา : ทำดี ประพฤติดี เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
สมานัตตตา : ทำตัวเสมอต้น เสมอปลาย

นอกจากนี้ อาสาสมัคร 

ควรจะต้องมีการสื่อสารที่ดี 
 มีมโนกรรม 

คิดดี คิดทางบวก : Positive thinking

 มีวจีกรรม (ปิยวาจา) 

ฝึกขอบคุณ ฝึกแสดงความยินดี ฝึกให้กำลังใจ 

ฝึกชื่นชมผู้ที่มีจิตอาสา หรือจิตสาธารณะ






























 โดยเน้นที่คุณค่า ของ ความสามัคคีการมีส่วนร่วม และการสร้างสรรค์ประโยชน์สุขในสังคม ทาง องค์กรต่างๆได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในด้านงานอาสาสมัคร
















  และมีความเห็นร่วมกันที่จะมีการจัดการอาสาสมัครให้มีระบบที่ชัดเจนมากขึ้นเพื่อรอง รับกับรูปแบบงานอาสาที่หลากหลายนับตั้งแต่แบบพึ่งพาตนเองในชุมชน

 จนไปถึงการช่วยเหลือผู้คนที่อ่อนแอทั่วโลก จึงได้มีการร่วมมือกันเป็น เครือข่ายจิตอาสาเพื่อให้กระแสอาสาสมัครในสังคมไทยนั้น เป็นไปอย่าง มั่นคงและยั่งยืนต่อไป สาธุ สาธุ สาธุ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น