เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้

เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้
คติพจน์ประจำใจ

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

หนอนภูไวยาวัจกร 2555


ไวยาวัจกร
ความหมายของไวยาวัจกร 





พระครูประโชติสมณวัตร
เจ้าคณะอำเภอเมืองสรวง
สถานที่อบรมพัฒนาไวยาวัจกร
วัดท่าสว่าง  บ้านหนองผือ - โนนค้อ  ตำบลหนองผือ  
อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด
๒๖  กันยายน  ๒๕๕๕

พระครูปริยัติธรรมกิจ
รองเจ้าคณะอำเภอเมืองสรวง
ปฏิบัติหน้้าที่แทนเจ้าคณะอำเภอเมืองสรวง
   ไวยาวัจกร หมายถึง ผู้ทำกิจธุระแทนภิกษุหรือสงฆ์ ผู้จัดการขวนขวายแทนภิกษุหรือสงฆ์
                ไวยาวัจกร หมายถึง ผู้ทำกิจธุระแทนสงฆ์ผู้ช่วยขวนขวายทำกิจธุระผู้ช่วยเหลือรับใช้พระ
"สว่างตาด้วยแสงไฟ สว่างใจด้วยแสงธรรม"
จารุวณฺโณภิกขุ
 ไวยาวัจกรตามพระวินัย
                ตามพระวินัย มีไวยาวัจกร ที่ปรากฏในสิกขาบทที่ ๑๐ จีวรวรรคที่ ๑ นิสัคคิยปาจิตตีย์ ๓ ความว่า "ถ้าใคร ๆ นำทรัพย์มาเพื่อค่าจีวรแล้วถามภิกษุว่า ใครเป็นไวยาวัจกรของเธอ ถ้าภิกษุต้องการจีวร



  ก็พึงแสดงคนวัดหรืออุบาสกว่า ผู้นี้เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ครั้นเขามอบหมายไวยาวัจกรนั้นแล้ว สั่งภิกษุว่า ถ้าต้องการจีวร ให้เข้าไปหาไวยาวัจกร ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาเขาแล้วทวงว่า เราต้องการจีวรดังนี้ได้ ๓ ครั้ง ถ้าไม่ได้จีวร ไปยืนแต่พอเขาเห็นได้ ๖ ครั้ง ถ้าไม่ได้ ขืนไปทวงให้เกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ได้มา ต้องนิสัคคิยปาจิตตีย์

ภูมิพโลภิกขุ


 ถ้าไปทวงและยืนครบกำหนดแล้วไม่ได้จีวรจำต้องไปบอกเจ้าของเดิมว่าของนั้นไม่สำเร็จประโยชน์แก่ตน ให้เขาเรียกเอาของเขาคืนมาเสีย
                อธิบายความตามวินัยมุข ๔ เล่ม ๑ กัณฑ์ที่ ๖ สิกขาบทที่ ๑๐ ว่า อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คฤหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไป
พระครูปริยัติธรรมกิจ
รองเจ้าคณะอำเภอเมืองสรวง
ปฏิบัติหน้้าที่แทนเจ้าคณะอำเภอเมืองสรวงพระครูปริยัติธรรมกิจ
รองเจ้าคณะอำเภอเมืองสรวง
ปฏิบัติหน้้าที่แทนเจ้าคณะอำเภอเมืองสรวง

 ด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงจ่ายจีวร ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าทูตนั้น เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ นำมาเฉพาะท่าน ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ภิกษุนั้น พึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า 
  พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ ภิกษุผู้ต้องการจีวร พึงแสดงชนผู้ทำการในอาราม หรืออุบาสก ให้เป็นไวยาวัจกร ด้วยคำว่า คนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของพระภิกษุทั้งหลาย
  ถ้าทูตนั้น สั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล
  ภิกษุผู้ต้องการจีวร เข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวงพึงเตือน ๒-๓ ครั้ง ว่า เราต้องการจีวร ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ ๒-๓ ครั้ง ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นดี ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงเข้าไปยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก 
   ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นดี ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ดี ส่งทูตไปก็ดี ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมา เพื่อเธอ บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด

   ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ ท่านจงทวงเอาคืนทรัพย์ของท่าน ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย. นี้เป็นสามีจิกรรม.(คือการชอบ) ในเรื่องนั้น
                ไวยาวัจกรที่ปรากฏในวินัยมุข เล่ม ๒ กัณฑ์ที่ ๒๐ กล่าวว่า "ที่กัลปนา คือที่นาที่สวนและที่อย่างอื่นอีก
   อันทายกผู้เจ้าของบริจาคไว้เพื่อเป็นค่าปัจจัยบำรุงสงฆ์ เช่นเรียกในบัดนี้ว่าที่ธรณีสงฆ์ในบาลี แสดงครุภัณฑ์ ไม่ได้กล่าวถึง แต่ในบาลีเภสัชชขันธกะกล่าวไว้แต่ไม่ชัดความดังนี้ พืชของบุคคลอันเพาะปลูกในพื้นที่ของสงฆ์ เจ้าของพึงให้ส่วนแล้วบริโภค นี้ก็ได้แก่ที่นาหรือที่สวนมีคนเช่าถือ เสียค่าเช่าให้แก่สงฆ์
จำขึ้นใจ  ในวิชา  ดีกว่าจด  จำไม่หมด  จดไว้ดู  เป็นครูสอน  ทั้งจดจำ  ทำวิชา  ให้ถาวร 
 อย่านิ่งนอน  รีบจดจำ  หมั่นทำเอย
  . ที่กัลปนานี้ อนุโลมเข้าในบทอารามวัตถุ เป็นครุภัณฑ์ ของอันเกิดขึ้นในที่นั้นหรือจะเรียกว่าค่าเช่าก็ตามที่ทายกผู้ถวายไม่ได้ กำหนดเฉพาะปัจจัย ต้องการด้วยปัจจัยอย่างใด จะน้อมไปเพื่อปัจจัยอย่างนั้น ควรอยู่ที่ทายกผู้ถวายกำหนดเฉพาะ เสนาสนปัจจัย ต้องน้อมเข้าไปในเสนาสนะเท่านั้น.
   ถ้าไวยาวัจกรสงฆ์ดูแลทำที่กัลปนานั้นเอง ไม่ได้ให้มีผู้เช่าถือ จ่ายผลประโยชน์อันเกิดในที่นั้น ให้แก่ผู้ทำผู้รักษาตามส่วนได้อยู่. ผู้ทำผู้รักษามีกรรมสิทธิ์ในของอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้น เท่าส่วนอันตนจะพึงได้. อีกฝ่ายหนึ่ง ในบาลีเภสัชชขันธกะนั้นเองกล่าวว่า พืชของสงฆ์เพาะปลูกในที่ของบุคคล 
  พึงให้ส่วนแล้วบริโภค น่าจะได้แก่การที่ไวยาวัจกรสงฆ์เช่านาหรือสวนของคนอื่นทำเป็นของสงฆ์ เช่นนี้ ท่านยอมให้จ่ายผลประโยชน์ของสงฆ์ให้ เป็นค่าเช่า ค่าถือแก่เจ้าของที่ การเช่นนี้ยังไม่เคยได้ยินว่ามีสักรายหนึ่ง มีแต่บุคคลเช่าที่ของสงฆ์ทั้งนั้น"
ร่วมด้วยช่วยกัน
 ไวยาวัจกรตามกฎกระทรวง
                ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
 ข้อ ๖ ให้เจ้าอาวาสจัดให้ ไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัดซึ่งเจ้าอาวาสแต่งตั้งทำบัญชีรับจ่ายเงินของวัด และเมื่อสิ้นปีปฏิทินให้ทำบัญชีเงินรับจ่ายและคงเหลือ ทั้งนี้ให้เจ้าอาวาสตรวจตราดูแลให้ เป็นไปโดยเรียบร้อยและถูกต้อง
 ข้อ ๗ ในกรณีที่วัด เจ้าอาวาสไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัดถูกฟ้องหรือถูกหมายเรียกเข้าเป็นโจทก์ ร่วมหรือจำเลยร่วม ในเรื่องที่เกี่ยวกับการดูแลรักษา และจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เจ้าอาวาสแจ้งต่อกรมการศาสนา หรือ ศึกษาธิการจังหวัด ที่วัดตั้งอยู่ให้ทราบไม่ช้ากว่าห้าวัน นับแต่วันรับหมาย
ไวยาวัจกรตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
  มาตรา ๒๓ การแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุอันเกี่ยวกับ ตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ตำแหน่งอื่นๆ และไวยาวัจกรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม

 มาตรา ๔๕ ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา
ไวยาวัจกรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                กรณีที่มีการมอบหมายให้ไวยาวัจกรดูแลรักษาและจัดการทรัพย์สินของวัด ไวยาวัจกรมีฐานะเป็น "ตัวแทน" ของวัดในการจัดการทรัพย์สินของวัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ไวยาวัจกรตามประมวลกฎหมายอาญา
   ไวยาวัจกรมีฐานะเป็น "เจ้าพนักงาน" ตามประมวลกฎหมายอาญาจึงได้รับการคุ้มครองและควบคุมตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้
                มาตรา ๑๓๖ ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  มาตรา ๑๔๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือ จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
หน้าที่ของไวยาวัจกร
                ๑. หน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัต
                ๒. หน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ
   หน้าที่ไวยาวัจกรประเภทที่ ๑ ได้แก่หน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัตจากส่วนราชการที่ได้ตั้งนิตยภัตถวายแก่พระภิกษุในวัดนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวนี้ ไวยาวัจกรจะต้องได้รับหนังสือมอบหมายจากเจ้าอาวาส เพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการผู้จ่ายนิตยภัต ตามระเบียบของทางราชการ
    ส่วนหน้าที่ไวยาวัจกรประเภทที่ ๒ คือ หน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดซึ่งต้องมีหนังสือมอบหมายของเจ้าอาวาสเป็นหลักฐาน เนื่องจากศาสนสมบัติของวัดมีอยู่มากมายหลายชนิด บางส่วนสำหรับใช้ในการพระศาสนาและบางส่วนก็มิได้ใช้ในการพระศาสนา นอกจากนี้ วิธีการดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัด ก็อาจกระทำได้หลายวิธีด้วยกัน
  ฉะนั้น ทรัพย์สินส่วนใดจะมอบหมายให้ไวยาวัจกรจัดการโดยวิธีใดจึงจำเป็นต้องมี "หนังสือ" มอบหมายของเจ้าอาวาสเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกและป้องกันมิให้เกิดข้อบกพร่อง หรือข้อยุ่งยากในการปฏิบัติหน้าที่ของไวยาวัจกร
   แต่อย่างไรก็ดี ในการปฏิบัติหน้าที่ของไวยาวัจกรประเภทที่ ๒ ถึงแม้ว่าจะได้รับหนังสือมอบหมายจากเจ้าอาวาสเป็นหลักฐานไว้แล้วก็ตาม ไวยาวัจกรจะดำเนินการไปโดยอิสระตามความพอใจของตนก็หาไม่ จะต้องจัดการให้เป็นไปโดยชอบด้วยบทบัญญัติในมาตรา ๔๐ วรรค ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ กล่าวคือ ต้องให้เป็นไปตาม "วิธีการ" ที่กำหนดในกฎกระทรวง
พระมหาหนูพร  จารุวณฺโณ
น.ธ. เอก ป.ธ. ๓ ศศ.บ.
เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมืองสรวง
ครูสอนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษา  กลุ่ม  ๑๐
โรงเรียนสุเทพนครวิช
  โดยนัยนี้ ถ้าไวยาวัจกรปฏิบัติการใดๆ โดยไม่ได้รับหนังสือมอบหมายจากเจ้าอาวาสก็ดี หรือได้รับหนังสือมอบหมายจากเจ้าอาวาสแล้ว แต่กระทำไปโดยมิชอบด้วยวิธีการตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงก็ดี ต้องถือว่าได้กระทำไปโดยนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือมิชอบด้วยอำนาจหน้าที่ของตนแล้วแต่กรณี หากเกิดข้อบกพร่อง หรือเสียหายขึ้นด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว ไวยาวัจกรจะต้อง "รับผิดชอบ" ในความบกพร่องหรือความเสียหายนั้น
   โดยนัยเดียวกัน ถ้าเจ้าอาวาสมอบหมายให้ไวยาวัจกรปฏิบัติการใดๆ โดยมิได้มอบหมายเป็นหนังสือ ตามที่บัญญัติไว้ในข้อ ๒ นี้แล้ว หากเกิดข้อบกพร่องหรือเสียหายขึ้นด้วยเหตุดังกล่าวแล้วเจ้าอาวาสจะต้องร่วม "รับผิดชอบ" ในความบกพร่องหรือความเสียหายนั้นด้วย
ความรับผิดชอบของไวยาวัจกร
   โดยที่ไวยาวัจกร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดประโยชน์ศาสนสมบัติของวัดอันเป็นทรัพย์สินของ "พระศาสนา" นอกจากจะมีบทบัญญัติกำหนดขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ไวยาวัจกร พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกร ตลอดจน "ความรับผิดชอบ" ในหน้าที่ของไวยาวัจกรไว้เป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่ง เช่นเดียวกับความรับผิดชอบของข้าราชการฝ่ายบ้านเมือง ผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการทรัพย์สินแผ่นดินหรือของ "ชาติ"
   ซึ่งแยกออก พิจารณาได้เป็น ๒ ส่วน คือ
                ๑. ความรับผิดชอบในทางแพ่ง
                ๒. ความรับผิดชอบในทางอาญา
                ส่วนความรับผิดชอบของไวยาวัจกรในข้อที่ ๑ คือ ความรับผิดชอบในทางแพ่งนั้น หมายถึงความรับผิดชอบในฐานะที่ไวยาวัจกรเป็น "ตัวแทนของวัด" ซึ่งเป็นนิติบุคคล ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๑ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
   ถ้าไวยาวัจกรกระทำการใดๆ โดยมิชอบด้วยอำนาจหน้าที่ของไวยาวัจกรหรือมิชอบด้วยสิทธิหน้าที่ของวัด หากเกิดความเสียหายแก่วัดหรือบุคคลภายนอกก็ตาม ไวยาวัจกรผู้นั้นต้องรับผิด ต้องรับใช้ความเสียหายนั้นแก่วัด หรือบุคคลภายนอกแล้วแต่กรณี ตามประมวลผลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ ๑๕ ตัวแทน
   ความรับผิดชอบของไวยาวัจกรในข้อที่ ๒ คือ ความรับผิดชอบในทางอาญานั้น หมายถึง ความรับผิดชอบ ในฐานที่ไวยาวัจกรเป็น "เจ้าพนักงาน" ตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มีความว่า
                "มาตรา ๔๕ ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา"
   ตามบทบัญญัติในมาตรา ๔๕ ซึ่งยกฐานะของไวยาวัจกรให้เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญาเช่นนี้ มิใช่มีความมุ่งหมายแต่เพียง "ควบคุม" การปฏิบัติหน้าที่ของไวยาวัจกรเท่านั้น ยังมีความมุ่งหมายเพื่อ "คุ้มครอง" การปฏิบัติหน้าที่ของไวยาวัจกรอีกส่วนหนึ่งด้วย เพราะในประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติแยกความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานไว้เป็น ๒ ลักษณะ 
   คือ ความผิดเกี่ยวกับความยุติธรรมและความผิดทั้ง ๒ ลักษณะยังแบ่งออกเป็น ๒ หมวด คือ
                ๑. ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
                ๒. ความผิดต่อเจ้าหน้าที่พนักงาน
                นอกจากนี้ยังได้บัญญัติความผิดเกี่ยวกับเรื่องเจ้าพนักงานไว้ในลักษณะและหมวดอื่นๆ อีกในประมวลกฎหมายอาญา แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เรื่องที่เกี่ยวข้องและสำคัญเท่านั้น
    โดยนัยนี้ถ้ามีผู้ใดกระทำผิดต่อไวยาวัจกรผู้กระทำตามหน้าที่ต้องด้วยกรณีอย่างไรอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในหมวดที่ว่าด้วยความผิดต่อเจ้าพนักงาน หรือในลักษณะหรือหมวดอื่นๆ แล้ว ก็ต้องมี ความผิดและรับโทษทางอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในกรณีนั้นๆ ขอนำตัวอย่างมาประกอบการพิจารณาเฉพาะแต่เพียงบางกรณี
ตัวอย่าง เช่น ผู้ใดดูหมิ่นไวยาวัจกร ซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องมีความผิดฐาน "ดูหมิ่น" เจ้าพนักงานตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๖
   โดยนัยเดียวกัน ถ้าไวยาวัจกรผู้ใดกระทำผิดต่อหน้าที่ของตนต้องด้วยกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่บัญญัติไว้ในหมวดความผิดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าพนักงาน หรือในลักษณะและหมวดอื่นๆ แล้ว ก็ต้องมีความผิดและรับโทษทางอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในกรณีนั้นๆ ตัวอย่าง เช่น ถ้าไวยาวัจกรผู้ใดเบียดบังยักยอกทรัพย์สินของวัด อันอยู่ในความครอบครองของตนตามหน้าที่ต้องมีความผิดฐานเจ้าพนักงาน "ยักยอก" ทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๗ หรือ
 ถ้าไวยาวัจกรผู้ใดใช้อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ของตนโดยทุจริต เป็นการเสียหายแก่วัด ต้องมี ความผิดฐานเจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่และตำแหน่งหน้าที่ในทาง "ทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๑ หรือ
                ถ้าไวยาวัจกรผู้ใดปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ต้องมีความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดย "มิชอบ" หรือโดยทุจริตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๗ มีความว่า
   มาตรา ๑๕๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ต้องระหว่างโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การแต่งตั้งไวยาวัจกร
   เนื่องจากไวยาวัจกรต้องรับภาระปฏิบัติหน้าที่อันสำคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสียของวัดและพระศาสนาอยู่หลายประการ เพื่อป้องกันมิให้เกิดข้อบกพร่องเสียหายในการปฏิบัติหน้าที่ของไวยาวัจกรดังกล่าวมาแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งไวยาวัจกรไว้เป็นพิเศษ ซึ่งแยกสาระสำคัญออกพิจารณา ได้เป็น ๔ ส่วน คือ
  ๑. หลักเกณฑ์การแต่งตั้งไวยาวัจกร
                ๒. วิธีการแต่งตั้งไวยาวัจกร
                ๓. การแต่งตั้งไวยาวัจกรหลายคน
                ๔. การแต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งไวยาวัจกร
หลักเกณฑ์การแต่งตั้งไวยาวัจกร
นายสมเดช  มะลาขันธ์
นักวิชาการศาสนาชำนาญการ
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดร้อยเอ็ด
   คฤหัสถ์ที่ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นไวยาวัจกร ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกร ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ ๖
                ข้อ ๖ คฤหัสถ์ผู้จะได้รับการแต่งตั้งเป็นไวยาวัจกร ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
    (๑) เป็นชาย มีสัญชาติไทย นับถือพระพุทธศาสนา
                (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์
                (๓) เป็นผู้มีหลักฐานมั่นคง
                (๔) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ไวยาวัจกรได้
                (๕) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองตามระบบรัฐธรรมนูญ
   (๖) ไม่เป็นผู้ที่มีร่างกายทุพพลภาพ ไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือมีโรคเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
                (๗) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี เช่น มีความประพฤติเสเพล เป็นนักเลงการพนัน เสพสุราเป็นอาจิณ หรือติดยาเสพติดให้โทษ
                (๘) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
                (๙) ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกลงโทษให้ออกจากราชการ หรือองค์การของรัฐบาล หรือบริษัทห้างร้านเอกชน ใน ความผิดหรือมีมลทินมัวหมองในความผิดเกี่ยวกับการเงิน
                (๑๐) ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกลงโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
     เมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติในข้อ ๖ โดยตลอดแล้ว จะเห็นได้ว่าได้กำหนด "คุณสมบัติ" ของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งไวยาวัจกรไว้มากถึง ๑๐ ประการ ทั้งนี้ โดยมีเหตุผลและความมุ่งหมายอันสำคัญอยู่หลายประการ แต่ถ้าจะกล่าวโดยสรุปแล้ว ก็เพื่อให้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ไวยาวัจกร ซึ่งแยกพิจารณาโดยสังเขป ได้ดังนี้
  (๑) เนื่องจากในการปฏิบัติหน้าที่ของไวยาวัจกร จะต้องมีการติดต่อประสานงานกับบุคคล "หลายฝ่าย" เช่น เจ้าอาวาสและบรรพชิตในวัดนั้นฝ่ายหนึ่ง เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องฝ่ายหนึ่ง ตลอดถึงประชาชนทั่วไปอีกฝ่ายหนึ่ง จึงจำเป็นต้องกำหนด "คุณสมบัติ" เกี่ยวกับเรื่องเพศ วัย สัญชาติ ศาสนา หลักฐานการครองชีพ ความรู้ความสามารถความคิดเห็นทางการเมือง รวมทั้งมีร่างกายและจิตใจอันสมบูรณ์ ดังที่ได้บัญญัติไว้ตั้งแต่ประการที่ ๑ ถึงประการที่ ๖ ทั้งนี้ ด้วยความมุ่งหมายเพื่อให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวนั้นให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย
  เก็บรักษา และเบิกจ่าย "เงินศาสนสมบัติ" ของวัดเป็นจำนวนมากตามที่เจ้าอาวาสมอบหมาย จึงจำเป็นต้องกำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับเรื่อง "ความประพฤติ" มิให้บกพร่องในศีลธรรมอันดี ไม่เป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่เคยมีความผิดเสียหายเกี่ยวกับการเงิน ตลอดถึงไม่เคยถูกลงโทษจำคุกเพราะกระทำผิดอาญามาก่อน ดังที่ได้บัญญัติไว้ตั้งแต่ประการที่ ๗ ถึงประการที่ ๑๐ ทั้งนี้ โดยมุ่งหมายเพื่อให้ได้ผู้ที่มีเกียรติเป็นที่เชื่อถือไว้ว่างใจ และเพื่อป้องกันมิให้เกิดการทุจริตบกพร่องเสียหายแก่ทรัพย์สินของวัดและพระพุทธศาสนา
     (๒) นอกจากนี้ ไวยาวัจกรยังมีหน้าที่อันสำคัญอีกส่วนหนึ่งกล่าวคือ มีหน้าที่ต้องรับ
                ฉะนั้น ในเรื่อง "คุณสมบัติ" ของไวยาวัจกรทั้ง ๑๐ ประการ ตามที่บัญญัติไว้ในข้อ ๖ นี้ จึงจัดเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการคัดเลือกและแต่งตั้งไวยาวัจกร เพราะถ้าปรากฏว่าผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นไวยาวัจกรนั้น "บกพร่อง" จากคุณสมบัติเพียงประการใดประการหนึ่ง การแต่งตั้งย่อมไม่เป็นการสมบูรณ์ตามกฎหมาย
   นอกจากนี้ยังต้องดำเนินการให้ชอบด้วย "วิธีการ" แต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะได้พิจารณาในลำดับต่อไป
วิธีการแต่งตั้งไวยาวัจกร
    เนื่องจากมีบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติของไวยาวัจกรไว้เป็นหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งดังกล่าวแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติกำหนด "วิธีดำเนินการ" แต่งตั้งไวยาวัจกรไว้อีกส่วนหนึ่ง เพื่อควบคุมการแต่งตั้งให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย ดังที่บัญญัติไว้ในข้อ ๗ มีความว่า
   ข้อ ๗ ในการแต่งตั้งไวยาวัจกรของวัดใด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสวัดนั้นปรึกษาสงฆ์ในวัดพิจารณาคัดเลือกคฤหัสถ์ผู้มีคุณสมบัติตามควมในข้อ ๖ เมื่อมีมติเห็นชอบในคฤหัสถ์ผู้ใดก็ให้เจ้าอาวาสสั่งแต่งตั้งคฤหัสถ์ผู้นั้นเป็นไวยาวัจกร โดยอนุมัติของเจ้าคณะอำเภอ ในการแต่งตั้งไวยาวัจกร เพื่อความเหมาะสมจะแต่งตั้งไวยาวัจกรคนเดียว หรือหลายคนก็ได้ ในกรณีที่ไวยาวัจกรหลายคน ให้เจ้าอาวาสมอบหมายหน้าที่การงาน ให้แก่ไวยาวัจกรแต่ละคนเป็นหนังสือ
   ตามความในมาตรา ๓๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ บัญญัติหน้าที่เจ้าอาวาสไว้ว่า "บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นได้ด้วยดี" และวิธีจัดการศาสนสมบัติของวัดซึ่งกำหนดในกฎกระทรวง ก็เป็นวิธีการอันละเอียดและเหมาะสมแก่คฤหัสถ์ ที่บัญญัติให้มีไวยาวัจกรก็เพื่อให้ช่วยงานเจ้าอาวาสในการนี้ ซึ่งเจ้าอาวาสจะมอบหมายเป็นหนังสือ ขอแนะแนวปฏิบัติ ดังนี้
  หลักเกณฑ์การแต่งตั้ง ให้แต่งตั้งในเมื่อไวยาวัจกรว่างลงหรือที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับปริมาณงาน เฉพาะที่ไวยาวัจกรว่างลง จะแต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งไวยาวัจกรเป็นการชั่วคราวก่อนก็ได้ การแต่งตั้งไวยาวัจกรนั้น กำหนดคุณสมบัติอันเป็นหลักเกณฑ์ไว้หลายอย่าง เช่น เป็นชาย มีสัญชาติไทย นับถือพระพุทธศาสนา มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์ เป็นต้น (ตามข้อ ๖ กฎ ๑๘)

   วิธีแต่งตั้ง ให้เจ้าอาวาสปรึกษาสงฆ์ในวัดพิจารณาคัดเลือกคฤหัสถ์ผู้มีคุณสมบัติตามกฎมหาเถรสมาคมเพื่อขออนุมัติแต่งตั้ง มติแห่งการปรึกษานั้น ต้องเห็นพ้องกัน เมื่อปรึกษาแล้วให้ขออนุมัติจากเจ้าคณะอำเภอโดยเสนอผ่านเจ้าคณะตำบล รับอนุมัติแล้วจึงแต่งตั้ง เมื่อแต่งตั้งแล้ว ต้องรายงานการแต่งตั้งต่อเจ้าคณะอำเภอและแจ้งนายอำเภอเพื่อแจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และควรแจ้งให้สงฆ์และทายกทายิกาวัดนั้นทราบด้วย














วิทยากรบรรยาย
นายสมเดช   มะลาขันธ์
นักวิชาการศาสนาชำนาญการ
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดร้อยเอ็ด



นายสมเดช   มะลาขันธ์
นักวิชาการศาสนาชำนาญการ
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดร้อยเอ็ด













นายสมเดช   มะลาขันธ์
นักวิชาการศาสนาชำนาญการ
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดร้อยเอ็ด
วิทยากร
โครงการพัฒนาไวยาวัจกร
ณ  วัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ - โนนค้อ  ตำบลหนองผือ  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด
๒๖  กันยายน  ๒๕๕๕

พระสมุห์สมชวน  เมธิโก  เลขานุการเจ้าคณะตำบลหนองผือ  
วัดเมืองสรวงเก่า

นายถวิล  นาคำ
 ไวยาวัจกร
วัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ - โนนค้อ  ตำบลหนองผือ  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด
๒๖  กันยายน  ๒๕๕๕

นางจิราภรณ์  บุญโพธิ์
นักวิชาการศาสนาชำนาญการ
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดร้อยเอ็ด
วิทยากร
โครงการพัฒนาไวยาวัจกร
ณ  วัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ - โนนค้อ  ตำบลหนองผือ  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด
๒๖  กันยายน  ๒๕๕๕
นางจิราภรณ์  บุญโพธิ์
นักวิชาการศาสนาชำนาญการ
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดร้อยเอ็ด
๒๖  กันยายน  ๒๕๕๕
นายทองพูน  ภักดีเหลา
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญการ
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดร้อยเอ็ด
๒๖  กันยายน  ๒๕๕๕

นายทองพูน  ภักดีเหลา
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญการ
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดร้อยเอ็ด
วิทยากร
โครงการพัฒนาไวยาวัจกร
ณ  วัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ - โนนค้อ  ตำบลหนองผือ  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด
๒๖  กันยายน  ๒๕๕๕


  ข้อพิเศษ การแต่งตั้งไวยาวัจกร ต้องให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ จึงเป็นการแต่งตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องทำหนังสือมอบหมายการงานให้รับปฏิบัติและถ้าแต่งตั้งแทนคนเดิม ต้องสั่งให้ไวยาวัจกรคนเดิมหรือทายาทมอบหมายการงานพร้อมด้วยทรัพย์สินและหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นั้นให้แก่ไวยาวัจกรคนใหม่ด้วย