เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้

เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้
คติพจน์ประจำใจ

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

เกร็ดความรู้

การเลี้ยวผึ้งพันธุ์หรือผึ้งอิตาเลี่ยน

ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ผู้ที่สนใจที่จะเลี้ยงผึ้งนั้น ควรจะทราบข้อมูลและศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งให้เข้าใจเสียก่อนแล้วจึงค่อยเริ่มฝึกหัดเลี้ยงด้วยตนเองอย่างน้อย 2 - 3 รัง เพื่อหาประสบการณ์และความชำนาญรายละเอียดต่าง ๆ ตลอดจนวิธีการจัดการภายในรังผึ้งที่เหมาะสมแล้ว การเลี้ยงผึ้งก็ไม่ใช่ของยาก แต่ควรจะต้องมีการเตรียมการเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งให้พร้อม ดังนี้คือ
1.1 ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้ง
ต้องมีความรู้เกี่ยวกับผึ้งที่จะเลี้ยง
   1.1.1 ความรู้ทางด้านชีววิทยาและพฤติกรรมของผึ้งพันธุ์ ได้แก่ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตของผึ้ง วงจรชีวิต การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของวัยผึ้ง ชนิดช่วงอายุต่าง ๆ รวมทั้งความเป็นอยู่ นิสัย และสภาพสังคมภายในรังผึ้ง การจัดระบบโดยธรรมชาติภายในรังผึ้ง การหาอาหาร การป้องกันรัง การเลี้ยงดูตัวอ่อน รวมทั้งความต้องการของผึ้งในสภาพแวดล้อม ต่าง ๆ ด้วย
การฝึกอบรมเกษตรกรหลักสูตรการเลี้ยงผึ้งพันธุ์
   1.1.2 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการดูแลผึ้ง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญเกี่ยวกับความสำเร็จในการเลี้ยงผึ้ง (รายละเอียดดูเรื่องการจัดการดูแลในการเลี้ยงผึ้งพันธุ์)
   1.1.3 ความรู้เกี่ยวกับพืชพันธุ์ที่เป็นแหล่งอาหารของผึ้ง ได้แก่ความรู้เกี่ยวกับต้นไม้และดอกไม้ที่จะเป็นแหล่งอาหาร (น้ำหวานดอกไม้และเกสรดอกไม้) ของผึ้ง การบานและช่วงเวลาการบานของดอกไม้ ตลอดจนทำเลและบริเวณที่เป็นแหล่งของพืชพันธุ์
   1.1.4 ความรู้เกี่ยวกับโรคและศัตรูของผึ้ง
1.2 ทุนสำหรับดำเนินการ

การใช้ทุนเพื่อจัดทำรังผึ้ง ต้องใช้ด้วยความประหยัด มี คุณภาพ หรือซื้อจากแหล่งที่ผลิตรังผึ้งพันธุ์โดยตรงเป็นการดีที่สุด เพราะมาตรฐานขนาดของรังและคอนผึ้งมีความสำคัญมาก ถ้าอุปกรณ์ทุกชิ้นได้มาตรฐานเดี่ยวกันหมด เวลาจัดการภายในรังผึ้งในภายหลังก็จะทำได้สะดวกและไม่เป็นปัญหา จะต้องมีทุนสำรองเพื่อใช้จ่ายดังนี้
   1.2.1 ค่าพันธุ์ผึ้ง
   1.2.2 ค่าทำรังผึ้ง คอนผึ้ง แผ่นรังเทียม ฐานรัง ฝารัง
   1.2.3 ค่าอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง เช่น หมวกตาข่าย เหล็กงัดรัง เครื่องมือพ่นควัน ฯลฯ
   1.2.4 ค่าน้ำตาล และวัสดุอาหารเสริม เพื่อจะเลี้ยงผึ้งในบางช่วงของฤดูกาลที่ขาดแคลนอาหารผึ้งตามธรรมชาติ
   1.2.5 ค่าใช้จ่ายสำรองอื่น ๆ ในระหว่างการเลี้ยงผึ้ง เช่น ค่ายาป้องกันกำจัดไรศัตรูพืช และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ
1.3 แหล่งที่จะซื้อผึ้งมาเริ่มดำเนินการ
   1.3.1 ไปเยี่ยมรังผึ้งของฟาร์มต่าง ๆ ผึ้งที่มีการเลี้ยงและเอาใจใส่ที่ดี ผึ้งของ ฟาร์มนี้จะแข็งแรงและมีคุณภาพดี พร้อมกันนี้สอบถามราคาแล้วเปรียบเทียบกับฟาร์มอื่น ๆ
   1.3.2 สังเกตผึ้งในฟาร์ม อันดับแรกดูปากรังว่าสะอาดไหม ถ้าผึ้งรังไหนสุข ภาพดีปากรังเข้าออกจะสะอาด ขนาดผึ้งมีตัวโตสม่ำเสมอ ผึ้งมีความคึกคักไม่หงอยเหงา
การเลือกซื้อพันธุ์ผึ้งต้องตรวจสอบความแข็งแรงของรังผึ้ง
   1.3.3 ขอดูคอนผึ้งตรวจดูความสม่ำเสมอของการวางไข่ ดักแด้ เต็มคอนหรือ ไม่ ถ้าแม่รังผึ้งดี การวางไข่จะเป็นวงกว้างเต็มคอน จะตัวโต อกกว้าง และวางไขทั่วคอน
   1.3.4 เลือกซื้อรังผึ้งที่นางพญาสาว
   1.3.5 เลือกซื้อรังผึ้งที่ไม่เป็นโรค
   1.3.6 เลือกซื้อรังผึ้งที่ไม่มีตัวไรวารัวและไรทรอปิลิเลปส์ ค่าพันธุ์ผึ้ง
   1.3.7 ค่าทำรังผึ้ง คอนผึ้ง แผ่นรังเทียม ฐานรัง ฝารัง
   1.3.8 ค่าอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง เช่น หมวกตาข่าย เหล็กงัดรัง เครื่องมือพ่นควัน ฯลฯ
   1.3.9 ค่าน้ำตาล และวัสดุอาหารเสริม เพื่อจะเลี้ยงผึ้งในบางช่วงของฤดูกาลที่ ขาดแคลนอาหารผึ้งตามธรรมชาติ
   1.3.10 ค่าใช้จ่ายสำรองอื่น ๆ ในระหว่างการเลี้ยงผึ้ง เช่น ค่ายาป้องกันกำจัดไร ศัตรูพืช และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ
1.4 อุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับการเลี้ยงผึ้ง
วัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงผึ้งอื่น ๆ ที่ จำเป็น นอกจากตัวผึ้งและนางพญาผึ้งแล้ว ผู้เลี้ยงผึ้งจะต้องใช้ในการเลี้ยงผึ้งเพื่อให้การเลี้ยงผึ้งประสบความสำเร็จได้ โดยเรียงลำดับความสำคัญมีรายละเอียดดังนี้


1. รังเลี้ยงผึ้ง (Bee Hive) หรือหีบเลียงผึ้ง หรือกล่องเลี้ยงผึ้ง เป็นกล่องรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงหัวท้ายด้านบนของกล่อง จะเซาะเป็นร่องสำหรับวางคอนผึ้ง ขนาดตัวรังที่นิยมกันในหมู่นักเลี้ยงผึ้งมี แบบ คือ แบบยุโรป หรือเป็นแบบแลงสตร็อธ และแบบไต้หวัน ลักษณะของหีบเลี้ยงผึ้งทั้งสองแบบคล้ายกัน เพียงแต่ขนาดความยาวต่างกัน โดยแบบไต้หวันจะมีขนาดใหญ่กว่า ใส่เฟรมได้ตั้งแต่ 10-15 คอน แต่นิยมใช้ขนาด 10 คอน และมีหน้าต่างมุ้งลวดด้วย แบบ ยุโรปใส่ได้ 10 คอน สามารถหาซื้อได้ทั่วไป


วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

งานประเพณีวัฒนธรรม

ประเพณีการทอดเทียน


นี้เป็นประเพณีเก่าแก่ของบคนอีสาน  ซึ่งได้สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น  เพื่อเป็นประเพณีอันดีงามของชาวอีสาน

     จากการที่ได้ค้นคว้าคำว่า  "ทอดเทียน"  น่าจะมาจากคำสองคำคือ ทอด น.  ระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่ง    ส่วนคำว่า  เทียน  น.  เครื่องตามไฟที่ฟั่นที่หล่อด้วยขี้ผึ่งหรือไขเป็นต้น  มีไส้ตรงใจกลาง
     จากการนำความหมายของคำสองคำนั้นอาจจะหมายถึง  การนำต้นเทียนที่มีอยู่ของแต่ละหมู่บ้านหรือวัดนำไปบูชาจากวัดหนึ่งถึงอีกวัดหนึ่งเพื่อเป็นการเยี่ยมยามถามข่าว  สารทุกของชาวบ้านแต่ละหมู่บ้าน
      ประเพณีทอดเทียน ของชาวอีสานนี้ที่สืบทอดกันมายาวนานหลายชั่วคนที่สืบทอดมา  โดยที่หมู่บ้านหนึ่งจะต้องนำต้นเทียนนำไปบูชาอีกวัดหนึ่ง ซึ่งอาจจะอยู่คนละหมู่บ้านแล้วก็ทำพิธีทางพุทธศาสนา  

ประเพณีนี้นิยมทำในช่วงเข้าพรรษาเมื่อมีการทำพิธีทางพุทธศาสนาเสร็จแล้วจะเป็นกิจกรรมของชาวบ้าน คือการร้องสารภัญญะ เพื่อต้อนรับแล้วก็จะเปลี่ยนกันร้องไห้ครบทุกหมู่บ้านที่ได้ไปในครั้งนั้น
     การทอดเทียนยังเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สร้างความสามัคคีแก่ชาวบ้านและสร้างความสัมพันธ์ของแต่ละหมู่บ้านได้เป้นอย่างดี  บทความนี้มีข้อบกพร่องอยู่มากเพระผู้เขียนไม่ได้ค้นคว้ามากมายแต่ค้นคว้า
จากหลักฐานหรือหนังสือที่มีอยู่แต่การหาหลักฐานทางประเพณีการทอดเทียนนี้หายากมาก  ถ้าผิดบกพร่องอย่างไรก็ขออภัยด้วย






















โครงการพุฒนาคุณธรรม