เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้

เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้
คติพจน์ประจำใจ

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ไม้สะดึงวัดท่าสว่าง บ้านหนองผือ-โนนค้อ 2556

กำหนดงานบุญมหากฐิน
และอุปสมบท  นาคอาทิตย์  สามิบัติ
เพื่ออุทิศส่วนกุศล
แด่  คุณพ่ออินทร์  สามิบัติ
ตั้งองค์มหากฐินและกองอุปสมบท
ณ  บ้านเลขที่  ๒๖  หมู่ที่  ๘  
บ้านหนองผือ  ตำบลหนองผือ
อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด
วันที่  ๒-๓  พฤศจิกายน  ๒๕๕๖
เจ้าภาพ
คุณโยมบัญชา - คุณโยมงามพิศ  สามิบัติ
คุณโยมจรัล - คุณโยมหทัยรัตน์  สามิบัติ
คุณโยมรังสรรค์ - คุณโยมสง่า  สามิบัติ
คุณโยมดวงจันทร์  สามิบัติ
คุณครูอาทิตย์ - คุณโยมอภินันท์  สามิบัติ
คุณโยมบัณฑิต - คุณโยมสายันต์  สามิบัติ
คุณครูดุสิต - คุณครูสุภารัตน์  สามิบัติ
คุณโยมรังสฤษดิ์ - คุณโยมลดาพร  สามิบัติ
คุณโยมยิ่งศักดิ์ - คุณโยมสมฤทัย  สามิบัติ
ร.ต.ต. บุญช่วย  ซื่อสัตย์
พร้อมด้วยญาติพี่น้องลูกหลานทุกๆคน
ร่วมเป็นเจ้าภาพอนุโมทนาบุญ
ความหมายของกฐินและทอดกฐิน
     คำว่า กฐิน มีความหมายที่เกี่ยวข้องกันอยู่หลายความหมายดังนี้
กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้ กรอบ ไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจ
เรียกว่าสะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม
หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง, ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ
กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมาย ถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ 
หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าที่มีผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้ 
กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ คือ การถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบไตรมาส เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ 
จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็น กาลทาน 
คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก 
กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง 
เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายก็จะได้เป็นโอกาสให้ ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า
การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน ๑๐ วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้วอนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บไว้ทำ เป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน
ที่มาของประเพณีทอดกฐิน
     ในสมัยพุทธกาล ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐจำนวน ๓๐ รูป เดินทางมาเฝ้าพระศาสดา แต่ไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง 
พอออกพรรษาฝนยังตกชุกอยู่ ภิกษุเหล่านั้นก็เดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความลำบาก ระยะนั้นมีฝนตกชุก 
หนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้องลุยมาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถี พระศาสดาตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลให้ทรงทราบ 
จากนั้นพระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาต ให้มีการถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส โดยกำหนดระยะเวลา คือ นับจากวันออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นระยะเวลา 1 ดือน กฐิน จึงได้ชื่อว่าเป็น กาลทาน 
ความพิเศษของกฐินทาน

ในปีหนึ่ง แต่ละวัดสามารถรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว นอกจานั้นแล้วกฐินทานก็มีความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น ได้แก่ 
1. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้ 
2. จำกัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป 
3. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน 
4. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้ 
5. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป 
. จำกัดคราว คือ วัดๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น 
6. จำกัดคราว คือ วัดๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น 
พระครูปริยัติธรรมกิจ
เจ้าคณะอำเภอเมืองสรวง
พระอุปัชฌาย์
7. เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่นมหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระพุทธประสงค์โดยตรง 
ประเพณีทอดกฐินในปัจจุบัน
ช่วง เช้าเหล่าอุบาสก อุบาสิกา จะเริ่มต้นเช้าอันเป็นวันมงคลด้วยการทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณรที่จำพรรษา ณ อาวาสดังกล่าว 
ภาพพระภิกษุและสามเณรเดินเรียงรายเป็นทิวแถวด้วยอาการสงบ สีเหลืองทองของผ้ากาสาวพัสต์ต้องแสงตะวันยามเช้า สร้างเลื่อมใสศรัทธาให้เอิบอาบในใจจิตพุทธศาสนิกชนทุกคนที่ได้พบเห็นอย่าง ไม่เสื่อมคลาย
พิธี ทอดกฐินสามัคคี เพื่อถวายผ้ากฐินตามพระบรมพุทธานุญาต บางวัดจัดขึ้นในช่วงสายพร้อมและต่อด้วยการถวายสังฆทาน เพื่อถวายภัตตาหาร ซึ่งเป็นบุญอีกงบหนึ่ง โดยธรรมเนียมแล้ว 
มักมี บริวารกฐินเพื่อถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ซึ่งไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายภายในวัดเป็นค่าน้ำค่าไฟตลอดทั้งปี รวมทั้งค่าก่อสร้าง ทั้งส่วนซ่อมแซมและต่อเติมเสริมใหม่กิจการพระศาสนาขยายตัวได้อย่างมี ประสิทธิภาพ บางวัดนำมา 
เป็นกุศโลบายให้สาธุชนได้ปฏิบัติธรรมกัน อย่างเช่นที่วัดพระธรรมกาย กิจกรรมทอดกฐินจะทำในช่วงบ่าย ส่วนช่วงสายนั้นให้ทุกคนได้ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาเพื่อกลั้นกาย วาจา ใจ 
ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ก่อนจะทำบุญใหญ่กัน กิจกรรมที่มาพร้อมกับประเพณีกฐินคือ ขบวนอัญเชิญผ้ากฐินซึ่งขึ้นกับแต่ละวัด แต่ละท้องถิ่นจะบรรลุสิ่งสวยงาม 
ทรงคุณค่า คู่ควรกับความสำคัญของพิธีทอดกฐินซึ่งจัดพียงปีละครั้ง ริ้วขบวนอาจประกอบด้วย ขบวนธงธิว ถ้าภาคเหนืออาจเป็นตุง ขบวนพานพุ่มดอกไม้ โดยใช้ทั้งสาธุชนและบุตรหลานเยาวชนมาร่วมขบวน
ซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาของไทยที่หล่อหลอมให้เยาวชนใกล้วัดตั้งแต่เล็ก การ ได้ผ้ากฐินแบบมีเจ้าภาพ ถือเป็นคฤหบดีกฐินนั้น เมื่อมีผู้มาทอดผ้า ณ เบื้องหน้าคณะสงฆ์ 
โดยไม่ได้เจาะจงถวายแก่รูปใดรูปหนึ่ง คณะสงฆ์ต้องทำพิธีอปโลกน์กฐิน หมายถึงการที่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเสนอขึ้นในที่ประชุมสงฆ์ถามความเห็นชอบ 
ว่า ผ้ากฐินในปีนี้ควรถวายแก่ภิกษุรูปใด ส่วน พิธีกรานกฐิน เป็นสังฆกรรมที่คณะสงฆ์ จะทำพิธีกันในพระอุโบสถ โดยพระภิกษุผู้ได้รับการเลือกสรรจากคณะสงฆ์ ว่าเป็นผู้มีสติปัญญา สามารถที่จะกรานกฐินได้
"อานิสงส์ของพระภิกษุผู้ได้กรานกฐิน"

       เมื่อพระภิกษุได้กรานกฐินถูกต้องตามวินัยจะได้รับอานิสงส์ ๕ ประการซึ่งเกี่ยวกับการได้รับการผ่อนผันในทางพระวินัย  ดังต่อไปนี้ 
       ๑. เที่ยวไปไหนโดยไม่ต้องบอกลา  ในพระวินัย มีข้อความปรากฏว่า  ถ้ามีการนิมนต์ไปฉันภัตตาหารในบ้านจะไปต่อในที่อื่นจะต้องลาพระภิกษุ
ณ ที่นั้นก่อนแต่ถ้าได้
กรานกฐินแล้วสามารถไปได้เลยโดยไม่ต้องบอกลาเพราะว่าเป็นช่วงที่ต้องมีการทำจีวรเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก อาจจะขาดเข็ม ขาดด้าย ขาดน้ำย้อม 
ก็จะสามารถไปบอกข่าวแก่ผู้ที่ได้แจ้งหรือปวารณาไว้ได้   สามารถไปได้เลยโดยไม่ต้องบอกลา (เฉพาะในวันดังกล่าว

เท่านั้น)
๒. ไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ เนื่องจากว่า  มีกิจมากในการทำจีวร  ถ้าถือไตรจีวรไปครบสำรับ  ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก  พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงอนุญาตเป็นกรณีพิเศษในช่วงนั้น    ว่าไม่ต้องถือไปครบสำรับ  ถือไปเฉพาะผ้านุ่ง  กับผ้าห่มเท่านั้น สังฆาฏิไม่ต้องนำไปก็ได้  
๓. ฉันคณโภชนะได้   คือ ฉันเป็นหมู่คณะได้  ๔ รูปขึ้นไป โดยปกติแล้ว   ถ้าพระภิกษุรับนิมนต์ โดยคฤหัสถ์บอกชื่ออาหาร จะฉันเป็นคณะ คือ ๔ รูปขึ้นไปไม่ได้   แต่ในช่วงนั้น    ก็ได้รับการผ่อนปรน  ให้ฉันเป็นคณะโภชนะได้สำหรับผู้ได้กรานกฐิน
๔. ทรงอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา  ในช่วงกาลจีวรนี้  สามารถเก็บผ้าที่ได้มาที่จะมาทำจีวรได้ โดยไม่กำหนดเวลา  ในช่วงที่ได้รับอานิสงส์กฐินนี้    ซึ่งปกติจะเก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วันเท่านั้น
๕. จีวรอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้น จักได้แก่พวกเธอ    โดยปกติแล้วในอาวาสหนึ่ง ถ้ามีผู้ถวายผ้า ซึ่งถวายแก่สงฆ์    ทั้งภิกษุที่อยู่จำพรรษา และทั้งที่เป็นภิกษุอาคันตุกะ  สงฆ์จะต้องทำการแบ่งให้กับทุกรูป      แต่ในกรณีที่ได้กรานกฐิน    พระอาคันตุกะไม่มีสิทธิ์  ได้เฉพาะภิกษุผู้จำพรรษา ณ อาวาสนั้นเท่านั้น  









































































ประเพณีฮีตสิบสอง คองสิบสี่
     ฮีตสิบสอง  มาจากคำ 2 คำ คือ ฮีต กับ สิบสอง ฮีตมาจากคำว่า จารีต หมายถึงสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีที่ดีงาม ชาวอีสาน เรียกว่า จาฮีต หรือฮีต สิบสองในหนึ่งปี
คองสิบสี่ หมายถึง ครองธรรม 14 อย่าง เป็นกรอบหรือแนวทางที่ใช้ปฏิบัติระหว่างกัน ของผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง พระสงฆ์ และระหว่างบุคคลทั่วไป เพื่อความสงบสุขร่มเย็นของ บ้านเมือง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสานที่ดำรงชีพอยู่ในสังคมเกษตรกรรม ตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่แห้งแล้งกันดารนั้น ในความเชื่อต่อการดำเนินชีวิตที่มีความผาสุกและเจริญรุ่งเรืองเกิดขึ้นแก่ครอบครัวและบ้านเมืองก็ต้องมีการประกอบพิธีกรรม มีการเซ่นสรวงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย และร่วมทำบุญตามประเพณีทางพุทธศาสนาด้วยทุกๆเดือนในรอบปีนั้นมีการจัดงานบุญพื้นบ้านประเพณีพื้นเมืองกันเป็นประจำ จึงได้ถือเป็นประเพณี 12 เดือนเรียกกันว่า ฮีตสิบสอง ถือกันว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน คติความเชื่อในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เกี่ยวพันกับการเกษตรกรรม เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจต่อการดำรงชีวิตชาวอีสานจึงมีงานบุญพื้นบ้านมากมายจนได้ชื่อว่าเป็นภูมิภาคที่มีงานประเพณีพื้นบ้านมากที่สุดในประเทศฮีตสิบสองเดือนหรือประเพณีสิบสองเดือนนั้น ชาวอีสานร่วมกันประกอบพิธีนับแต่ต้นปี คือ
เดือนอ้าย หรือเดือนเจียง งานบุญเข้ากรรม มีงานบุญดอกผ้า (นำผ้าห่มหนาวไปถวายสงฆ์) ประเพณีเส็งกลอง ทำลานตี(ลานนวดข้าว)ทำปลาแดก (ทำปลาร้าไว้เป็นอาหาร) เกี่ยวข้าวในนา เล่นว่าว ชักว่าวสนู นิมนต์พระสงฆ์เข้าประวาสกรรมตามป่ระเพณีนั้นมีการทำบุญทางศาสนา เพื่ออานิสงส์ทดแทนบุญคุณต่อบรรพบุรุษ ชาวบ้านเลี้ยงผีแถน ผีบรรพบุรุษ มีการตระเตรียมเก็บสะสมข้าวปลาอาหารไว้กินในยามแล้ง
เดือนยี่ งานบุญคูนลาน ทำบุญที่วัด พระสงฆ์เทศน์เรื่องแม่โพสพ ทำพิธีปลงข้าวในลอมและฟาดข้าวในลาน ขนข้าวเหลือกขึ้นเล้า (ยุ้งฉาง) นับเป็นความเชื่อในการบำรุงขวัญและสิริมงคลทางเกษตรกรรม มีทั้งทำบุญที่วัดและบางครั้งทกบุญที่ลานนวดข้าว เมื่อขนข้าวใส่ยุ้งแล้วมักไปทำบุญที่วัด

เดือนสาม บุญข้าวจี่ มีพิธีเลี้ยงลาตาแฮก (พระภูมินา) เพราะขนข้าวขึ้นยุ้งแล้ว งานเอิ้นขวัญข้าวหรือกู่ขวัญข้าว เพ็ญเดือนสามทำบุญข้าวจี่ตอนเย็นทำมาฆบูชา ลงเข็นฝ้ายหาหลัวฟืน (ไม้เชื้อเพลิงลำไม้ไผ่ตายหลัว กิ่งไม้แห้ง-ฟืน)
ตามประเพณีหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวใส่ยุ้งแล้ว มีการทำบุญเซ่นสรวงบูชาเจ้าที่นา ซึ่งชาวอีสานเรียกว่าตาแฮก และทำบุญแผ่ส่วนกุศลให้ผีปู่ย่าตายาย อันเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยการทำข้าวจี่(ข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนสอดไส้น้ำตาลหรือน้ำอ้อยชุบไข่ปิ้งจนเหลือง) นำไปถวายพระพร้อมอาหารคาวหวานอื่นๆ
เดือนสี่ บุญพระเวส (อ่านออกเสียงพระ-เหวด) มีงานบุญพระเวส (ฟังเทศน์มหาชาติ) แห่พระอุปคุตตั้งศาลเพียงตา ทำบุญแจกข้าวอุทิศให้ผู้ตาย (บุญเปตพลี) ประเพณีเทศน์มหาชาติเหมือนกับประเพณีภาคอื่นๆ ด้วย เป็นงานบุญทางพุทธศาสนาที่ถือปฏิบัติทำบุญถวายภัตตาหารแล้วตอนบ่ายฟังเทศน์ เรื่องเวสสันดรชาดก ตามประเพณีวัดติดต่อกัน 2-3 วันแล้วแต่กำหนดในช่วงที่จัดงานมีการแห่พระอุปคุตเพื่อขอให้บันดาลให้ฝนตกด้วย
เดือนห้า บุญสรงน้ำ หรือเทศกาลสงกรานต์ ชาวอีสานเรียกกันว่า สังขานต์
ตามประเพณีจัดงานสงกรานต์นั้น บางแห่งจัดกัน 3 วัน บางแห่ง 7 วัน แล้วแต่กำหนดมีการทำบุญถวายภัตตาหารคาวหวาน หรือถวายจังหันเช้า-เพลตลอดเทศกาล ตอนบ่ายมีสรงน้ำพระ รดน้ำผู้ใหญ่ผู้เฒ่าก่อเจดีย์ทราย
เดือนหก บุญบั้งไฟ บางแห่งเรียก บุญวิสาขบูชา มีงานบุญบั้งไฟ (บุญขอฝน) บุญวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก
เกือบตลอดเดือนหกนี้ ชาวอีสานจัดงานบุญบั้งไฟ จัดวันใดแล้วแต่คณะกรรมการหมู่บ้านกำหนดถือเป็นการทำบุญบูชาแถน (เทวดา) เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลและความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหารในปีต่อไปครั้นวันเพ็ญหก เป็นงานบุญวิสาขบูชาประเพณีสำคัญทางพุทธศาสนา มีการทำบุญฟังเทศน์และเวียนเทียนเพื่อผลแห่งอานิสงส์ในภพหน้า
เดือนเจ็ด บุญชำฮะ มีพิธีเลี้ยงตาแฮก ปู่ตา หลักเมือง งานบุญเบิกบ้านเบิกเมือง งานเข้านาคเพื่อบวชนาค
คติความเชื่อหลังจากหว่านข้าวกล้าดำนาเสร็จ มีการทำพิธีเซ่นสรวงเจ้าที่นา เพื่อความเป็นสิริมงคลให้ข้าวกล้าในนางงอกงาม บ้านที่กุลบุตรมีงานอุปสบททดแทนบุญคุณบิดามารดาและเตรียมเข้ากรรมในพรรษา
เดือนแปด งานบุญเข้าพรรษา มีพิธีหล่อเทียนพรรษางานบุญเทศกาลเข้าพรรษา
แต่ละหมู่บ้านช่วยกันหล่อเทียนพรรษา ประดับให้สวยงาม จัดขบวนแห่เพื่อนนำไปถวายเป็นพุทธบูชา มีการทำบุญถวายภัตตหาร เครื่องไทยทานและผ้าอาบน้ำฝน เพื่อพระสงฆ์จะได้นำไปใช้ตลอดเทศกาลเข้าพรรษา
เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน จัดงานวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 นับแต่เช้ามืด ชาวบ้านจัดอาหารคาวหวาน หมากพลูบุหรี่ใส่กระทงเล็กๆ นำไปวางไว้ตามลานบ้าน ใต้ต้นไม้ ข้างพระอุโบสถ เพื่อเป็นการให้ทานแก่เปรตหรือวิญญาณที่ตกทุกข์ได้ยากตอนสายมีการทำบุญที่วัด ฟังเทศน์เป็นอานิสงส์
เดือนสิบ บุญข้าวสาก ข้าวสากหมายถึงการกวนกระยาสารท คล้ายงานบุญสลากภัตในภาคกลาง จัดงานวันเพ็ญเดือน 10 นำสำรับคาวหวานพร้อมกับข้าวสาก(กระยาสารท) ไปทำบุญที่วัดถวายผ้าอาบน้ำฝนและเครื่องไทยทาน แต่ก่อนที่จะถวายนั้นจะทำสลากติดไว้ พระสงฆ์องค์ใดจับสลากใดได้ก็รับถวายจากเจ้าของสำรับนั้น ตอนบ่ายฟังเทศน์เป็อานิสงส์
เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา มีพิธีถวายผ้าห่มหนาวในวันเพ็ญ มีงานบุญตักบาตรเทโว พิธีกวนข้าวทิพย์ พิธีลอยเรือไฟ
นับเป็นช่วงที่จัดงานใหญ่กันเกือบตลอดเดือน นับแต่วันเพ็ญ มีการถวายผ้าห่มหนาวแต่พระพุทธพระสงฆ์ วันแรม 1 ค่ำ งานบุญตักบาตรเทโว ตอนเย็นวันขึ้น 14 ค่ำ มีพิธีกวนข้าวทิพย์ มีงานช่วงเฮือ (แข่งเรือ) ในวันเพ็ญมีงานแห่ปราสาทผึ้ง พิธีลอย เฮือไฟ (ไหลเรือไฟ) เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา มีทั้งงานบุญกุศลและสนุกสนานรื่นเริง
เดือนสิบสอง บุญกฐิน ทำบุญข้าวเม่าพิธีถวายกฐินเมื่อถึงวันเพ็ญจัดทำข้าวเม่า(ข้าวใหม่)นำไปถวายพระ พร้อมสำรับคาวหวานขึ้นตอนบ่ายฟ้งเทศน์เป็นอานิสงส์จัด พิธีทอดกฐินตามวัดที่!!จองกฐินไว้ งานบุญในฮีตสิบสองนั้น ตามหมู่ที่เคร่งประเพณียังคงจัดกันอย่างครบถ้วนบางแห่งจัดเฉพาะงานบุญใหญ่ๆตามแต่คณะกรรมการหมู่บ้านร่วมกันจัด บางแห่งเป็นงานใหญ่ประจำปี งานบุญแห่เทียนพรรษา ชาวจังหวัดอุบลฯจัดเป็นงานใหญ่ทุกปีงานลอยเฮือไฟ ชาวจังหวัดนครพนมจัดเป็นงานใหญ่ประจำ และงานแห่ปราสาทผึ้งชาวเมืองสกลนคร จัดเป็นงานใหญ่ประจำ เป็นต้น ปัจจุบันนี้มีการฟื้นฟูการจัดงานฮีตสิบสองเป็นงานใหญ่ๆเพื่อการอนุรักษ์สินมรดกทางวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่จังหวัดด้วย
-------------------
คองสิบสี่
สำหรับ คองสิบสี่ ตามคติการถือปฏิบัติของชาวอีสานนั้น ถือเป็นหลักธรรมในการครองบ้านครองเรือนที่ควรปฏิบัติ ซึ่งหากใครที่ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแล้วนับเป็นบุคคลอยู่ในศีลในธรรมเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไปหลักปฏิบัติ 14 ข้อ หรือ 14 ประการ ได้แก่
1. หูเมือง เป็นราชทูตต่างหน้าแทนบ้านเมือง หมายถึง เป็นบุคคลที่พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน พูดจริง
2. ตาเมือง เป็นนักปราชญ์ มีความรอบรู้ในวิชาการบ้านเมือง รู้หลักธรรม
3. แก่นเมือง เป็นผู้ทรงคุณธรรม ยุติธรรม
4. ประตูเมือง เป็นผู้มีความสามารถในการใช้ศัตราวุทยุทธโธปกรณ์
5. รากเมือง เป็นผู้รอบรู้ในด้านโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์
6. เหง้าเมือง เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์
7. ขางเมือง เป็นผู้ชำนาญในการออกแบบ ชำนาญในการศึก
8. ขื่อเมือง เป็นผู้มีตระกูลเป็นนักปราชญ์ผู้กล้าหาญ
9. แปเมือง เป็นผู้มีศีลธรรมอันดี ตัดสินคดีความเที่ยงธรรม
10. เขตเมือง เป็นผู้ทำหน้าที่พิทักษ์เขตเมือง รักษาเขตแดนบ้านเมือง
11. ใจเมือง เป็นผู้ทำหน้าที่ปกครองบ้านเมืองที่ดี
12. ค่าเมือง เป็นผู้พิทักษ์รักษาให้เมืองมีค่า มีเงินทอง ติดต่อค่าขาย
13. สติเมือง เป็นผู้รู้จักการรักษาพยาบาล หมอยา
14. เมฆหมอกเมือง เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ประดุจเทพอารักษ์พิทักษ์เมืองเป็นหลักเมืองการถือคองสิบสี่ประการนี้
นับเป็นการรักษาบ้านครองเรือนมีศีลธรรม มีท..พิธราชธรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น