เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้

เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้
คติพจน์ประจำใจ

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

หนอนภูสวดมนต์ข้ามปี 2555 -2556







 บทสวดประจำวันเกิด
เป็นบทสวดประจำวันเกิดของแต่ละท่าน
สวดตามกำลังวัน
ผู้เกิดวันอาทิตย์  ( ๖ จบ )


๑. เกิดวันอาทิตย์ พระประจำวันเกิดคือ ปางถวายเนตร
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองข้างเพ่งไปข้างหน้า ทอดพระเนตรดูต้นศรีโพธิ์พฤกษ์ พระหัตถ์ทั้งสองลงมาประสานกันอยู่ข้างหน้าระหว่างพระเพลา พระหัตถ์ขาวทับพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในอาการสังวร
ประวัติและความสำคัญ
ครั้นพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ก็เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ที่ต้นศรีมหาโพธิ์ ๗ วันแล้ว ก็เสด็จจากร่มพระศรีมหาโพธิ์ไปประทับยืนกลางแจ้ง ทางทิศอีสานของต้นศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงทอดพระเนตรต้นศรีมหาโพธิ์โดยไม่กะพริบพระเนตร ด้วยพระอิริยาบถนั้น ๗ วัน สถานที่เสด็จประทับยืนทอดพระเนตรต้นศรีมหาโพธิ์นั้นเป็นนิมิตมหามงคล ปรากฏชื่อว่า อนิมิสสเจดีย์ พระพุทธจริยาที่ทรงเพิ่งจ้องพระเนตรดูต้นศรีมหาโพธิ์ โดยมิได้ทรงกะพริบ พระเนตรถึง ๗ วันนี้ เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้ เรียกว่า ปางถวายเนตร นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูป เพื่อสักการะบูชาประจำของคนเกิดวันอาทิตย์ อนึ่งต้นไม้อสัตถโพธิ์พฤกษ์อันเป็นสถานที่กำเนิด พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและสัจธรรมอันบริสุทธิ์ สำหรับชำระกิเลสและปลดเปลี้องความทุกข์แก่ชาวโลก จึงได้มีนามตามการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์พฤกษ์ .
คาถาสวดบูชา
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหะมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสนา ฯ






๒. เกิดวันจันทร์ พระประจำวันเกิดคือ ปางห้ามญาติ
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้นอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกขึ้นเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาทรงห้าม เป็นแบบทรงเครื่องก็มี
ประวัติและความสำคัญ
ณ พระนครกบิลพัสดุ์ อันเป็นแว่นแคว้นที่ประทับของเจ้าศากยะ ซึ่งเป็นพระญาติข้างฝ่ายพระพุทธบิดา กับพระนครเทวทหะอันเป็นแว่นแคว้นที่ประทับอยู่ของเจ้าโกลิยะ ซึ่งเป็นพระญาติข้างฝ่ายพระพุทธมารดา ทั้งสองพระนครนี้ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโรหิณี ชาวนาของ ๒ พระนครนี้ อาศัยน้ำในแม่น้ำโรหิณีนี้ ทำนาร่วมกันมาโดยปกติสุข ต่อมาสมัยหนึ่งฝนแล้ง น้ำน้อย น้ำในแม่น้ำโรหิณีเหลือน้อย ชาวนาทั้งหมดต้องกั้น ทำนบทดน้ำในแม่น้ำโรหิณีขึ้นมาทำนา แม้ดังนั้นแล้ว น้ำก็ยังไม่พอ เป็นเหตุให้มีการแย่งน้ำกันทำนาขึ้น ขั้นแรกก็เป็นการวิวาทกันเฉพาะเพียงบุคคลต่อบุคคล แต่เมื่อไม่มีการระงับด้วยสันติวิธี การวิวาทนั้นก็ลุกลามมากขึ้นจนถึงคุมสมัครพรรคพวกเข้าไปประหารกัน และด่าว่ากระทบถึงชาติ โคตร และลามปามไปถึงราชวงศ์ ในที่สุดกษัตริย์ผู้เป็นพระญาติของพระพุทธเจ้าทั้งสองเมือง ก็ยกกำลังพลเข้าประชิดกัน เพื่อแย่งน้ำ โดยหลงเชื่อคำยุยุงพูดเท็จของอำมาตย์ที่กำลังเคียดแค้น มิทันได้ทรงวินิจฉัยให้ถ่องแท้แน่นอนว่า เมื่อเรื่องเล็กน้อยเช่นนั้นเกิดขึ้น ควรจะระงับด้วยสันติวิธี พระพุทธเจ้าทรงทราบก็ทรงพระมหากรุณาเสด็จมาห้าม สงครามการแย่งน้ำระหว่างพระญาติทั้งสองฝ่าย โดยทรงแสดงโทษคือความพินาศย่อยยับของชีวิตมนุษย์โดยเหตุอันไม่สมควร ที่พระราชาจะต้องมาล้มตายทำลายเกียรติของตน เพียงเพราะแย่งน้ำกันทำนาเพียงเล็กน้อย ครั้นแล้วพระญาติทั้งสองฝ่ายก็ทำความเข้าใจกันได้และหันมาสามัคคีกัน พระพุทธจริยาที่ทรงโปรดพระญาติ เพื่อห้ามมิให้ทะเลาะวิวาท สู้รบกันเพราะเหตุแห่งการแย่งน้ำนี้ เป็นมงคลแสดงอนุภาพแห่งธรรมที่พระองค์ทรงแสดง พุทธศาสนิกชนผู้หนักในธรรมคำสอน เล็งเห็นคุณอัศจรรย์แห่งอนุสาสนีปาฎิหาริย์ จึงถือเป็นเหตุในการสร้าง พระพุทธรูปขึ้น เรียกว่า ปางห้ามญาติบ้าง ปางห้ามสมุทรบ้าง
คาถาสวดบูชา

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสเมนตุ ฯ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสเมนตุ ฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสเมนตุ ฯ

๓. เกิดวันอังคาร   พระปางไสยาสน์
๓. เกิดวันอังคาร พระประจำวันเกิดคือ ปางไสยาสน์
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา เมื่อคราวจะปรินิพพาน หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทายไปตามพระวรกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางอยู่ที่พื้นข้างพระวรกาย พระบาทซ้ายทับพระบาทขวาลักษณะตั้งซ้อนกัน
ประวัติและความสำคัญ
พระพุทธเจ้าครั้นโปรดสุภัททปริพาชกให้บรรพชาอุปสมบทและให้สำเร็จเป็น พระอริยเจ้าเป็นปัจฉิมสาวกแล้ว ต่อมาพระอานนท์จึงได้ทูลถามพระองค์ว่า พระฉันนะถือตัวว่าเป็นข้าเก่า ติดตามพระองค์คราวเสด็จออกบวช เป็นคนว่ายากสอนยาก แม้จะกรุณาเตือนแล้วก็ตาม เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ยิ่งจะว่ายากขึ้นไปอีก หาผู้ยำเกรงมิได้ ข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติต่อพระฉันนะนั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ คือ ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงโอวาท ไม่พึงสั่งสอน เมื่อถูกพรหมทัณฑ์แล้ว จะสำนึกผิดเอง ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าได้ตรัสปัจฉิมโมวาท เตือนว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรม เธอทั้งหลาย จงทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ในลำดับแห่งการพิจารณาองค์แห่งจตุถฌาน ก็บังเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินใหญ่ไหวสะเทือนสะท้าน เกิดการโลมชาติ ชูชันขันพองสยองเกล้า กลองทิพย์ก็บันลือลั่นในอากาศ พร้อมกับการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายพากันเศร้าโศก ร่ำไห้ คร่ำครวญถึงพระองค์ พระอานนท์และพระอนุรุทธเถระได้แสดงธรรมเพื่อปลอบโยนมหาชน พุทธศาสนิกชนเมื่อรำลึกถึงการเสด็จปรินิพพานของพระองค์ จึงได้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้น เพื่อบูชาพระพุทธองค์ 
คาถาสวดบูชา

ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เส ฯ

๔. เกิดวันพุธ กลางวัน   พระปางอุ้มบาตร
  ๔. เกิดวันพุธ กลางวัน พระประจำวันเกิดคือ ปางอุ้มบาตร
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ส้นพระบาททั้งสองชิดติดกัน พระหัตถ์ทั้งสองข้างชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองยกประคองบาตรราวสะเอว มีบาตรอยู่ฝ่าพระหัตถ์ในท่าประคอง
ประวัติและความสำคัญ
ประวัติที่เป็นเรื่องราวนั้นสืบเนื่องต่อมาจากพระพุทธรูปปางแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ กล่าวคือ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ ครั้งแรกทรงทำอิทธิปาฎิหาริย์ เหาะขึ้นไปบนอากาศ ทรมานให้พระประยุรญาติได้ถวายบังคมแล้วเสด็จลงมาประทับนั่ง บนพระบวรพุทธอาสน์ ยังฝนโบกขรพรรษ์ให้ตกลงในท่ามกลางสมาคมพระญาติ แล้วทรงประกาศมหาเวสสันดรชาดก ยกขึ้นเป็นเทศนา ครั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบแล้ว บรรดาพระญาติทั้งหลาย มีพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาเป็นประธาน ก็ได้เบิกบานปีติปาโมทย์ เปิดพระโอษฐ์แซ่ซ้องสาธุการแล้ว พระญาติทั้งหลายก็กราบทูลลาคืนยังพระราชสถานแห่งตน มิได้มีพระญาติสักองค์หนึ่ง ได้กราบทูลอาราธนาให้ทรงรับอาหารบิณฑบาตรในยามเช้าพรุ่งนี้ แม้แต่พระเจ้าสุทโธทนะ ก็เพียงแต่ทูลลามิได้ทูลอาราธนาเสวยพระกระยาหารเช้า เช่นกัน ด้วยทรงนึกไม่ถึงว่า ธรรมดาพระจะต้องอาราธนา จึงจะได้มารับบิณฑบาตรในบ้านซึ่งเป็นปกติของสามัญชนธรรมดาทั่วไป พระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา ทรงรู้สึกอย่างเป็นพระญาติที่สนิทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระโอรส พระสงฆ์สาวกเหล่านั้นก็เป็นศิษย์ของพระโอรสแล้วพระโอรสจะเสด็จไปไหนเสีย เมื่อไม่มายังพระราชนิเวศน์ของพระองค์ จึงไม่จำเป็นต้องทูลอาราธนา พระเจ้าสุทโธทนะทรงแน่พระทัยเป็นอย่างยิ่งว่า พระบรมศาสดาจะต้องพาพระสาวก ทั้งหลายมาเสวยพระกระยาหารในพระราชนิเวศน์ของพระองค์แน่นอน จึงไม่ทรงทูล อาราธนา ยิ่งไปกว่านั้นยังกลับเห็นว่า หากออกพระกระแสรับสั่งอาราธนา ก็จะกลายเป็นว่า พระบรมศาสดาเป็นคนอื่นมิใช่พระโอรส ครั้นพระเจ้าสุทโธทนะเสด็จถึงพระราชนิเวศน์ จึงโปรดให้พนักงานจัดแจงตกแต่งอาหารอันประณีตเป็นพิเศษไว้พร้อมมูล เพื่อถวายพระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์สาวกทั้งมวลในวันพรุ่งนี้ ตลอดเวลาเย็นถึงเวลารุ่งเช้า เมื่อไม่ปรากฏว่ามีใครมาอาราธนาพระบรมศาสดาไปเสวยที่ใดแล้ว พระองค์ก็ทรงพิจารณาว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อน เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระนครของพระพุทธบิดาแล้ว ทรงปฎิบัติอย่างไร ก็ทรงทราบด้วยพระญาณว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อนได้เสด็จไปบิณฑบาตรตามลำดับตรอก ครั้นพระพุทธองค์ทรงทราบอย่างนี้แล้ว จึงทรงถือเอาบาตรและจีวรพาภิกษุสงฆ์ เสด็จพระดำเนินไปตามท้องถนนหลวง ปรากฏแก่ประชาราษฏร์ ต่างได้มีโอกาสชมพระบารมี และมีความปีตียินดีประณมหัตถ์นมัสการ นับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้เห็น พระบรมศาสดาทรงอุ้มบาตร เสด็จพระพุทธลีลาโปรดประชาสัตว์ เป็นการเพิ่มพูนความปีติ โสมนัส พระพุทธจริยาตอนนี้เป็นเหตุให้พุทธบริษัทสร้างพระพุทธรูป เรียกว่า ปางอุ้มบาตร
คาถาสวดบูชา

สัพพาสีวะชาตีนัง ทิพพะมันตาทะคัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณิณัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเส ฯ

๕. เกิดวันพฤหัสบดี
พระปางตรัสรู้หรือปางสมาธิ
๕. เกิดวันพฤหัสบดี พระประจำวันเกิดคือ ปางตรัสรู้ หรือปางสมาธิ
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองหงายวางซ้อนกัน บนพระเพลา คือพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ขาวทับพระชงฆ์ซ้าย
ประวัติและความสำคัญ
เมื่อพระมหาบุรุษบรมโพธิสัตว์ ทรงกำจัดพญามาร และเสนามารให้ปราชัยด้วยพระบารมี ตั้งแต่เวลาสายัณห์มิทันพระอาทิตย์จะอัสดง ก็ทรงเบิกบานพระทัยได้ปีติเป็นกำลังภายในสนับสนุนเพิ่มพูนแรงปฎิบัติภาวนาให้ยิ่งขึ้น ดังนั้น พระองค์จึงมิได้ทรงพักให้เสียเวลาทรงเจริญสมาธิภาวนาทำจิตใจให้ปราศ จากอุปกิเลสจนจิตสุขุมเข้าโดยลำดับ ไม่ช้าก็ได้บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน อันเป็นส่วนรูปสมบัติตามลำดับ ต่อจากนั้น ก็ทรงเจริญญานอันเป็นองค์ปัญญาชั้นสูง ๓ ประการ ยังองค์พระโพธิญาณให้เกิดขึ้นเป็นลำดับ ตามลำดับแห่งยามสามอันเป็นส่วนราตรี นั้นคือ ในปฐมยาม ทรงบรรลปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกอดีตชาติที่พระองค์ทรงบังเกิดมาแล้วทั้งสิ้นได้ ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุจตูปปาตญาณ หรือทิพจักขุญาณ สามารถหยั่งรู้การเกิด การตาย ตลอดจนการจุติและปฎิสนธิของสัตว์ทั้งหลายได้หมด ในปัจฌิมยาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ทรงพระปรีชาสามารถทำอาสวะกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้นไป ด้วยปัญญาพิจารณาในปัจจยาการแห่งปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลมทั้งฝ่ายเกิดและฝ่ายดับ สาวไปข้างหน้าและสาวกลับไปมาแล้ว ทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลา ปัจจุสสมัยรุ่งอรุโณทัย ทรงเบิกบานพระหฤทัยอย่างสูงสุดในการตรัสรู้อย่างไม่เคยมีมาก่อน ถึงกับทรงเปล่งอุทานเย้ยตัณหา อันเป็นตัวการก่อให้เกิดสงสารวัฏฏทุกข์แก่พระองค์หลายเอนกชาติว่า "นับแต่ตถาคตท่องเที่ยวสืบเสาะหานายช่างเรือนคือตัณหา ตลอดชาติอันจะนับประมาณมิได้ ก็มิได้พบท่านเลย นับแต่นี้ไป ท่านจะทำเรือนให้ตถาคตไม่ได้อีกแล้ว กลอนเรือนเราก็ได้รื้อเสียแล้ว ช่อฟ้าเราก็ทำลายแล้ว จิตของเราปราศจากสังขารเครื่องปรุงแต่งมีกิเลสไปปราศแล้ว เราถึงความดับสิ้นไปแห่งตัณหาแล้ว" ในขณะนั้นมหาอัศจรรย์ก็บังเกิดมีขึ้น กล่าวคือ พื้นมหาปฐพีอันกว้างใหญ่ก็หวั่นไหว พฤกษาชาติทั้งหลายก็ผลิตดอกออกช่องามตระการตา เทพเจ้าทุกข์ชั้นฟ้าก็แซ่ซ้องสาธุการโปรยปรายบุปผามาลัยทำสักการะบูชา เปล่งวาจาว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ด้วยปีติยินดีเป็นเหตุอัศจรรย์ที่ไม่เคยมีมาก่อน เรื่องนี้จึงเป็นมูลเหตุให้มีการสร้างพระพุทธรูปปางตรัสรู เพื่อเป็นพุทธานุสสติ ฉะนี้แล 
คาถาสวดบูชา

ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง เยนะ สังวิหิตารักขัง มหาสัตตัง วเนจรา จิรัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง ฯ

๖. เกิดวันศุกร์   พระปางรำพึง
๖. วันศุกร์ พระประจำวันเกิดคือ ปางรำพึง
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาททั้งสองประทับยืนชิดติดกัน
ประวัติและความสำคัญ
เมื่อตปุสสะและภัลลิกะ ๒ พาณิชกราบทูลลาไปแล้ว พระพุทธองค์เสด็จกลับจากร่มไม้ราชายตนะ ไปประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชลปาลนิโครธอีกครั้งหนึ่ง และทรงรำพึงถึงธรรม ที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วนั้นว่า เป็นธรรมประณีตละเอียดสุขุมคัมภีรภาพ ยากที่บุคคลจะรู้ได้ ทำให้ท้อแท้พระทัยถึงกับทรงดำริจะไม่แสดงธรรมแก่มหาชน ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบวาระจิตของพระพุทธองค์ จึงร้องประกาศชวนเทพยดาทั้งหลาย พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ยังที่ประทับ ฯ ควงไม้อชปาลนิโครธ ถวายอภิวาทแล้วกราบ ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ ขอให้ทรงแสดงธรรมโปรดประชาชน เพื่อบุคคลผู้มีธุลีในนัยน์ตาน้อย ทั้งมีอุปนิสสัยอันจะเป็นพุทธสาวก จะได้ตรัสรู้ธรรมบ้าง พระพุทธองค์ทรงรำพึงถึงธรรมเนียม ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อนว่า ได้ตรัสรู้แล้วย่อมทรงแสดงธรรมโปรดประชาชนทั้งหลาย ประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้แผ่ไพศาล เพื่อประโยชน์สุขแก่ปัจฉิมชนผู้เกิดมาภายหลัง แล้วจึงเสด็จปรินิพพาน จึงได้น้อมพระทัยไปในอันแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ในโลก แล้วพระพุทธองค์ ทรงพิจารณาอีกว่า จะมีผู้รู้ถึงธรรมนั้นบ้างหรือไม่ ก็ทรงทราบถึงอุปนิสัยของบุคคลทั้งหลาย ในโลกนี้ย่อมมีต่าง ๆ กัน คือ ทั้งประณีต ปานกลางและหยาบ ที่มีนิสัยดีมีกิเลสน้อยเบาบาง มีบารมีที่ดีสั่งสมอบรมมาแล้ว ซึ่งพอจะตรัสรู้ธรรมตามพระองค์ได้ก็มีอยู่ ผู้มีอินทรีย์ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิปัญญากล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่ายก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยยากก็มี เป็นผู้สามารถจะรู้ได้ก็มี เป็นผู้ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มี บุคคลจึงเปรียบเหมือนดอกบัวที่เกิดในน้ำเจริญในน้ำ น้ำเลี้ยงอุปถัมภ์ไว้ บางเหล่ายังจมอยู่ในน้ำ บางเหล่าอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าขึ้นพ้นน้ำแล้วในดอกบัว ๓ เหล่านั้น ดอกบัวที่ขึ้นพ้นน้ำแล้วนั้นคอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่จักบาน ณ เช้าวันนี้ ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบาน ณ วันพรุ่งนี้ ดอกบัวที่ยังไม่ขึ้นจากน้ำ ยังอยู่ภายในน้ำ จักบานในวันต่อ ๆ ไป ดอกบัวที่จะบานมีต่างชนิดฉันใด เวนัยสัตว์ที่จะตรัสรู้ธรรมก็มีต่างกัน ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ผู้มีกิเลสน้อยเบาบาง มีอินทรีย์แก่กล้า เป็นผู้ที่พึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย และอาจจะรู้ธรรมพิเศษนั้นได้โดยฉับพลัน ผู้มีคุณสมบัติเช่นนั้นเป็นประมาณปานกลาง เมื่อได้รับอบรมในปฏิปทาอันเป็นบุพพาค จนมีอุปนิสสัยแก่กล้าดังกล่าว แต่ยังอ่อน ก็ยังควรได้รับการแนะนำในธรรมเบื้องต่ำต่อไปก่อนเพื่อบำรุงอุปนิสัย เมื่อเป็นเช่นนี้ พระธรรมเทศนาของพระองค์คงไม่ไร้ผล จักยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่คน ทุกหมู่เหล่า เว้นแต่จำพวกปทปรมะ ซึ่งมิใช่เวไนย คือ ไม่รับการแนะนำ ซึ่งเปรียบด้วยดอกบัวอ่อน อันจะเป็นภักษาหารของปลาและเต่าต่อไป ครั้นพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณ หยั่งทราบเวไนยสัตว์ผู้จะรับประโยชน์จากพระธรรมเทศนาแล้ว ก็ทรงอธิษฐานพระหฤทัยในอันจะแสดงธรรมสั่งสอนไวไนยสัตว์ และตั้งพุทธปณิธานจะใคร่ดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระพุทธศาสนา ให้แพร่หลายประดิษฐานให้มั่นคงสำเร็จประโยชน์แก่ชนนิกรทุกหมู่เหล่าต่อไป พระพุทธจริยาที่ทรงรำพึงถึงธรรมที่จะแสดงโปรดชนนิกรผู้เป็นเวไนยบุคคลนั้นแล เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปที่เรียกว่า ปางรำพึง
คาถาสวดบูชา

อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุ สัมมะเต อะมะนุสเนหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิ สะการิภิ ปะริสานัญจะ ตัสสันนัง มะหิงสายะ จะ คุตติยา ยันเทเสหิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

๗. เกิดวันเสาร์ พระประจำวันเกิดคือ ปางนาคปรก
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ทรงหงายพระหัตถ์ทั้งสองแบวางซ้อนกัน บนพระเพลา พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมเบื้องพระเศียร
ประวัติและความสำคัญ
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธสิ้น ๗ วัน แล้วพระองค์ก็เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขยังร่มไม้จิก อันมีชื่อว่า มุจจลินท์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศอาคเนย์ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ วันนั้นเกิดฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน พญานาคมุจจลินท์ ผู้เป็นราชาแห่งนาค ได้ออกจากนาคพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย ครั้งฝนหายแล้ว พญามุจจลินท์นาคราช จึงคลายขนดจากที่ล้อมพระวรกาย พระพุทธเจ้า จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยยืนทำอัญชลีถวายนมัสการพระพุทธองค์ ในที่เฉพาะพระพักตร์ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า สุโข วิเวโก ตุฏฺฐัสสะ สุตะธัมมัสสะ ปัสสะโต อัพยาปัชชัง สุขัง โลเก ปาณะภูเตสู สัญญะโม สุขา วิราคะตา โลเก กามานัง สะมะติกฺกะโม อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง ฯ ความว่า ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นคนปราศจากความกำหนัด คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลกความนำออกเสียซึ่งอัสมินมานะ คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้เป็นสุขอย่างยิ่ง พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ภายในวงขนดของพญานาคมุจจลินท์นาคราชที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นมา เรียกว่า ปางนาคปรก เรื่องพระปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาคเหมือนเอานาคเป็นบัลลังก์ดูสง่า องอาจเป็นพระเกียรติอำนาจของพระองค์อย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่างพระเจ้าของพราหมณ์ ถ้าจะรักษาลักษณะของพระพุทธรูปตามประวัติ ก็จะเป็นไปอีกในลักษณะหนึ่งคือ พระพุทธรูปจะมีพญานาคพันรอบพระวรกายด้วยขนดตัวพญานาคถึง ๔-๕ ชิ้น จนบังพระวรกายมิดชิด เพื่อป้องกันฝนและลม จะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ และพระอังสาเป็นอย่างมาก ทั้งเบื้องบนก็มีหัวพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอีกด้วย 
คาถาสวดบูชา

ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา

โวโรเปตา เตน สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ คัพภัสสะ ฯ

๘. เกิดวันพุธ กลางคืน พระปางป่าเลไลย์
๘. เกิดวันพุธ กลางคืน พระประจำวันเกิดคือ ปางป่าเลไลย์
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งบนก้อนศิลา ห้อยพระบาททั้งสองข้างลง ทอดพระบาทเล็กน้อย พระหัตถ์ซ้ายคว่ำวางบนพระชานุซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางบนพระชานุขวาเป็นกิริยาทรงรับ มีช้างหมอบถือน้ำยื่นถวาย และมีลิงหมอบถือรวงผึ้งถวายอยู่ข้างหน้า
ประวัติและความสำคัญ
ณ เมืองโกสัมพีมีพระภิกษุ ๒ ฝ่ายอยู่ในวิหารเดียวกันคือฝ่ายพระวินัยธร ที่ถือเคร่งครัดทางพระวินัย และฝ่ายพระธรรมธร ที่ถือการแสดงธรรมเป็นใหญ่ แต่ละฝ่ายก็มีลูกศิษย์เป็นบริวารมากมาย วันหนึ่งพระธรรมธรได้เข้าไปในห้องน้ำ ใช้น้ำแล้วเหลือไว้นิดหนึ่ง เมื่อพระวินัยธรเข้าไปเจอน้ำเหลือไว้ จึงได้ตำหนิพระธรรมธร ตัวพระธรรมธรเองก็ได้ยอมรับผิดต่อพฤติกรรมนั้น แต่พระวินัยกลับนำเรื่องเพียงเล็กน้อยนี้เป็นพูดกับอันเตวาสิกของตนว่า พระธรรมธรขนาดทำผิดแล้วยังไม่รู้สึกตัวอีก ต่อมาอันเดวาสิกของพระธรรมธรก็ได้พูดถากถาง ทำนองเดียวกันกับอันเดวาสิกของพระธรรมธร ว่าอาจารย์ของพวกท่านทำผิดแล้วยังไม่รู้อีก น่าละอายนัก ฝ่ายลูกศิษย์ก็นำเรื่องนี้ไป ปรึกษากับพระธรรมธร พระธรรมธรได้ฟังดังนั้น จึงพูดว่าทำไมพระวินัยธรจึงพูดอย่างนี้ เราทำผิดกฎก็ยอมรับผิดและแสดงอาบัติไปแล้ว ไฉนจึงพูดกลับกลอกเช่นนี้เล่าจึงพูดกับอันเตวาสิกว่า พระวินัยธรพูดเท็จและทั้งสองฝ่ายก็ได้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน เพราะเหตุเพียงเล็กน้อยเอง เมื่อไม่สามารถจะระงับกันได้ พระพุทธเจ้าได้แสดงเหตุของการแตกแยก และคุณของความสามัคคี แต่ก็หาเชื่อต่อพระพุทธเจ้าไม่ ซ้ำยังแสดงคำพูดที่ไม่เหมาะสมว่า ขอให้พระพุทธเจ้าอยู่เฉยอย่ามายุ่ง พระพุทธองค์เห็นว่าไม่สามารถจะระงับได้ จึงส่งพระโมคคัลลานะ ไปช่วยระงับ แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่ยอมเชื่อฟัง ทำให้พระพุทธองค์เกิดความเบื่อหน่ายระอาใจต่อเหตุการณ์นี้เป็นอย่างยิ่ง แม้ชาวบ้านเองก็แตกเป็น ๒ ฝ่ายตามพระที่ตนเองนับถือ ส่วนพุทธศาสนิกชนที่มีศีลก็ระอาพากันคว่ำบาตร ไม่ให้การบำรุงพระสงฆ์เหล่านั้น เป็นประวัติศาสตร์ที่น่าสะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง ฝ่ายพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จไปอยู่ ณ ป่าได้มีช้างปาริไลยกะและลิงคอยทำการอุปัฏฐาก มีความพระเกษมสำราญในการอยู่คนเดียว จากเหตุการณ์นี้ ถือว่าเป็นเหตุการณ์อันน่าสลดใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงพฤติกรรมของพระ ๒ ฝ่ายในขณะนั้น ไม่เชื่อฟังแม้กระทั้งพระพุทธเจ้า พุทธศาสนิกชนจึงได้สร้างพระปางนี้ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจถึงการแตกสามัคคี การทะเลาะวิวาทกัน
คาถาสวดบูชา
สัพพาสีวะชาตีนัง ทิพพะมันตาทะคัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณิณัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเส ฯ
 อานิสงส์ต่างๆของการปฏิบัติธรรม
1. นั่งสมาธิ อย่างน้อยวันละ 15 นาที(หรือเดินจงกรมก็ได้)
อานิสงส์ --- เพื่อสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดขึ้นทั้งภพนี้และภพหน้า
เพื่อจิตใจที่สว่างผ่อนปรนจากกิเลส ปล่อยวางได้ง่าย
จิตจะรู้วิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยอัตโนมัติ
ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่มีวันอับจน
ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายและจิตแข็งแรง
เจ้ากรรมนายเวรและญาติมิตรที่ล่วงลับจะได้บุญกุศล
2. สวดมนต์ด้วยพระคาถาต่างๆอย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน
อานิสงส์ --- เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง
ชีวิตหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า
เงินทองไหลมาเทมา แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง จิตจะเป็นสมาธิได้เร็ว
แนะนำพระคาถาพาหุงมหากา , พระคาถาชินบัญชร ,
พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นต้น
เมื่อสวดเสร็จต้องแผ่เมตตาทุกครั้ง
3. ถวายยารักษาโรคให้วัด , ออกเงินค่ารักษาให้พระตามโรงพยาบาลสงฆ์
อานิสงส์ --- ก่อให้เกิดสุขภาพร่มเย็นทั้งครอบครัว โรคที่ไม่หายจะทุเลา
สุขภาพกายจิตแข็งแรง อายุยืนทั้งภพนี้และภพหน้า
ถ้าป่วยก็จะไม่ขาดแคลนการรักษา
4. ทำบุญตักบาตรทุกเช้า
อานิสงส์--- ได้ช่วยเหลือศาสนาต่อไปทั้งภพนี้และภพหน้า ไม่ขาดแคลนอาหารตายไปไม่หิวโหย อยู่ในภพที่ไม่ขาดแคลน ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์
5. ทำหนังสือหรือสื่อต่างๆเกี่ยวกับธรรมะแจกฟรีแก่ผู้คนเป็นธรรมทาน
อานิสงส์ --- เพราะธรรมทานชนะการให้ทานทั้งปวง ผู้ให้ธรรมจึงสว่างไปด้วยลาภยศ
สรรเสริญ ปัญญา และบุญบารมีอย่างท่วมท้น เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรมให้ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองอย่างไม่คาดฝัน
6. สร้างพระถวายวัด
อานิสงส์ --- ผ่อนปรนหนี้กรรมให้บางเบา ให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง ครอบครัวเป็นสุข
ได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ของพุทธศาสนาตลอดไป
7. แบ่งเวลาชีวิตไปบวชชีพราหมณ์หรือบวชพระอย่างน้อย 9 วันขึ้นไป
อานิสงส์ --- ได้ตอบแทนคุณพ่อแม่อย่างเต็มที่
ผ่อนปรนหนี้กรรมอุทิศผลบุญให้ญาติมิตรและเจ้ากรรมนายเวร
สร้างปัจจัยไปสู่นิพพานในภพต่อๆไป ได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ของพุทธศาสนาจิตเป็นกุศล
8. บริจาคเลือดหรือร่างกาย
อานิสงส์ --- ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพแข็งแรง ช่วยต่ออายุ
ต่อไปจะมีผู้คอยช่วยเหลือไม่ให้ตกทุกข์ได้ยาก เทพยดาปกปักรักษา
ได้เกิดมามีร่างกายที่งดงามในภพหน้า ส่วนภพนี้ก็จะมีราศีผุดผ่อง
9. ปล่อยปลาที่ซื้อมาจากตลาดรวมทั้งปล่อยสัตว์ไถ่ชีวิตสัตว์ต่างๆ
อานิสงส์ --- ช่วยต่ออายุ ขจัดอุปสรรคในชีวิต
ชดใช้หนี้กรรมให้เจ้ากรรมนายเวรที่เคยกินเข้าไป ให้ทำมาค้าขึ้น
หน้าที่การงานคล่องตัวไม่ติดขัด ชีวิตที่ผิดหวังจะค่อยๆฟื้นคืนสภาพที่สดใสเป็นอิสระ
10. ให้ทุนการศึกษา , บริจาคหนังสือหรือสื่อการเรียนต่างๆ , อาสาสอนหนังสืออานิสงส์ --- ทำให้มีสติปัญญาดี ในภพต่อๆไปจะฉลาดเฉลียวมีปัญญาได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอย่างรอบรู้ สติปัญญาสมบูรณ์พร้อม
11. ให้เงินขอทาน , ให้เงินคนที่เดือดร้อน(ไม่ใช่การให้ยืม)
อานิสงส์  ทำให้เกิดลาภไม่ขาดสายทั้งภพนี้และภพหน้า ไม่ตกทุกข์ได้ยาก
เกิดมาชาติหน้าจะร่ำรวยและไม่มีหนี้สิน ความยากจนในชาตินี้จะทุเลาลง
จะได้เงินทองกลับมาอย่างไม่คาดฝัน
12. รักษาศีล 5 หรือศีล 8
อานิสงส์ --- ไม่ต้องไปเกิดเป็นเปรตหรือสัตว์นรก
ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐครบบริบูรณ์ ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
กรรมเวรจะไม่ถ่าโถม ภัยอันตรายไม่ย่างกราย เทวดานางฟ้าปกปักรักษา
อานิสงส์ 10 ข้อของการไม่กินเนื้อสัตว์
1. เป็นที่รักของบรรดาเทพ พรหม ตลอดจนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
2. จิตอันเป็นมหาเมตตาย่อมบังเกิดขึ้น
3. สามารถตัดขาดความอาฆาต ดับอารมณ์...มโหดเครียดแค้นในใจลงได้
4. ปราศจากโรคภัยร้ายแรงมาเบียดเบียนร่างกาย
5. มีอายุมั่นขวัญยืน
6. ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากเทพทั้งปวง
7. ยามหลับนิมิตเห็นแต่สิ่งที่ดีงามเป็นสิริมงคล
8. ย่อมระงับการจองเวร สลายความอาฆาตแค้นซึ่งกันและกัน
9. สามารถดำรงอยู่ในกระแสพระนิพพาน ไม่พลัดหลงตกลงสูอบายภูมิ
10. ทันทีที่ละสังขารจากโลกนี้ จิตจะมุ่งสู่สุคติภพ
อานิสงส์การจัดสร้างพระพุทธรูปหรือสิ่งพิมพ์อันเกี่ยวกับพระธรรมคำสอนเป็นกุศลดังนี้
1. อกุศลกรรมในอดีตชาติแต่ปางก่อน จะเปลี่ยนจากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นสูญ
2. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง สรรพภยันตรายสลาย ปวงภัยไม่มีคนคิดร้ายไม่สำเร็จ
3. เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติแต่ปางก่อน เมื่อได้รับส่วนบุญไปแล้วก็จะเลิกจองเวรจองกรรม
4. เหล่ายักษ์ผีรากษส งูพิษเสือร้าย ไม่อาจเป็นภัยอยู่ในที่ใดก็แคล้วคลาดจากภัย
5. จิตใจสงบ ราศีผ่องใส สุขภาพแข็งแรง กิจการงานเป็นมงคล รุ่งเรืองก้าวหน้าผู้คนนับถือ
6. มั่นคงในคุณธรรม ความอุดมสมบูรณ์ปรากฏ ( เกินความคาดฝัน) ครอบครัวสุขสันต์ วาสนายั่งยืน
7. คำกล่าวเป็นสัจจ์ ฟ้าดินปราณี ทวยเทพยินดี มิตรสหายปรีดา หนี้สินจะหมดไป
8. คนโง่สิ้นเขลา คนเจ็บหายได้ คนป่วยหายดี ความทุกข์หายเข็ญ สตรีจะได้เกิดเป็นชายเพื่อบวช
9. พ้นจากมวลอกุศล เกิดใหม่บุญเกื้อหนุน มีปัญญาล้ำเลิศ บุญกุศลเรืองรอง
10. สิ่งที่สร้างจะบังเกิดเป็นกุศลจิตแก่ทุกคนที่ได้พบเห็นเป็นเนื้อนาบุญอย่างเอนกทุกชาติของผู้สร้างที่เกิดจะได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้าปัญญาในธรรมแก่กล้าสามารถได้อภิญญาหก สำเร็จโพธิญาณ
อานิสงส์การบวชพระบวชชีพรามณ์ ( บวชชั่วคราวเพื่อสร้างบุญ , อุทิศให้พ่อแม่เจ้ากรรมนายเวร )
1. หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรือง ได้ลาภ ยศ สรรเสริญตามปรารถนา
2. เจ้ากรรมนายเวรจะอโหสิกรรม หนี้กรรมในอดีตจะคลี่คลาย
3. สุขภาพแข็งแรง สติปัญญาแจ่มใส ปัญหาชีวิตคลี่คลาย
4. เป็นปัจจัยสู่พระนิพพานในภพต่อๆไป
5. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง โพยภัยอันตรายผ่อนหนักเป็นเบา
6. จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ง่าย มองเห็นสัจธรรมแห่งชีวิต
7. เป็นที่รักที่เมตตามหานิยมของมวลมนุษย์มวลสัตว์และเหล่าเทวดา
8. ทำมาค้าขึ้น ไม่อับจน การเงินไม่ขาดสายไม่ขาดมือ
9. โรคภัยของตนเอง ของพ่อแม่ และของคนใกล้ชิดจะเบาบางและรักษาหาย
10. ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ได้เต็มที่สำหรับผู้ที่บวชไม่ได้เพราะติดภาระกิจต่างๆ ก็สามารถได้รับอานิสงส์เหล่านี้ได้ด้วยการสร้างคนให้ได้บวชสนับสนุนส่งเสริมอาสาการ ให้คนได้บวช
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างบุญที่ยกขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงอานิสงส์ที่ท่านพึงจะได้รับจงเร่งทำบุญเสียแต่วันนี้ เพราะเมื่อท่านล่วงลับท่านไม่สามารถสร้างบุญได้อีกจนกว่าจะได้เกิด หากท่านไม่มีบุญมาหนุนนำแรงกรรมอาจดึงให้ท่านไปสู่ภพเดรัจฉาน ภพเปรต ภพสัตว์นรกที่ไม่อาจสร้างบุญสร้างกุศลได้ต่อให้ญาติโยมทำบุญอุทิศให้ก็อาจไม่ได้รับบุญดังนั้นท่านจงพึ่งตนเองด้วยการสร้างสมบุญบารมีซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ท่านจะนำติดตัวไปได้ทุกภพทุกชาติเสียแต่วันนี้ด้วยเทอญ

*** ส่งต่อก็ได้บุญ การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง




อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ ปิงคลโกจฉะเข้าไปเฝ้า เมื่อได้กล่าวทักทายปราศรัยพอสมควรแล้ว พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า 

"พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นคณาจารย์ มีคนรู้จักมาก มีเกียรติยศเป็นเจ้าลัทธิ อันชนหมู่มากเข้าใจกันว่าเป็นคนดี เช่น ปูรณะ กัสสป, มักขละ โคสาล, อชิตะ เกสกัมพล,ปกุธะ กัจจายนะ, สัญชัย เวลัฏฐบุตร, และ นิครนถนาฏบุตร 

๑ สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือว่าไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลย หรือบางพวกรู้ บางพวกไม่รู้"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อย่าเลย พราหมณ์ ข้อที่สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลยเป็นต้นนั้น ขอจงยกไว้ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังให้ดีเถิด" 

เมื่อพราหมณ์ทูลรับคำแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ดูก่อนพราหมณ์ มีข้ออุปมาว่า บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหากแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ ละเลยแก่น, กะพี้, เปลือก, และสะเก็ดไม้เสีย ตัดเอากิ่งและใบไม้ไปด้วย
สำคัญว่าเป็นแก่น คนที่รู้เรื่องดีเห็นเข้า ก็จะพึงกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกะพี้, เปลือก, สะเก็ด, กิ่งและใบไม้ เมื่อต้องการแก่นไม้ จึงละเลยแก่นเป็นต้น ตัดเอาแต่กิ่งและใบไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น 

ทั้งจะไม่ได้รับประโยชน์จากกิ่งและใบไม้นั้นด้วย"
"มีอุปมาอื่นอีก บุรุษต้องการแก่นไม้ แต่ถากสะเก็ดไม้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น หรือถากเปลือกไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น หรือถากกะพี้ไม้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น ก็จพึงถูกหาว่า ไม่รู้จักแก่นไม้เป็นต้น 

และไม่ได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ถากไปนั้นเช่นเดียวกัน"
"อีกอุปมาหนึ่ง บุรุษต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไป ด้วยรู้จักแก่นไม้ คนที่รู้เรื่องดีเห็นเข้าก็จะพึงกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญนี้ รู้จักแก่น กะพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบไม้ ต้องแก่นไม้ก็ตัดเอาแต่แก่นไป 

ด้วยรู้จักแก่นไม้ ทั้งจะได้รับประโยชน์จากแก่นไม้นั้นด้วย"
"ดูก่อนพราหมณ์ ข้ออุปไมยก็ฉันเดียวกันนั่นแหละ คือกุลบุตรบางคนในศาสนานี้ มีศรัทธาออกบวชไม่ครองเรือน ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
และความคับแค้นใจ เข้าถึง ๒ ตัวแล้ว อันความทุกข์เข้าถึงตัวแล้ว มีความทุกข์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ไฉนหนอการทำที่สุดแห่งทุกข์๓ ทั้งหมดนี้จะปรากฏ ผู้นั้นออกบวชแล้ว ลาภสักการะและชื่อเสียง
เกิดขึ้น ก็อิ่มใจ เต็มความปรารถนาด้วยลาภสักการะและชื่อเสียงนั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและชื่อเสียงนั้น ว่าเราเป็นผู้มีลาภ สักการะ ชื่อเสียง ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านั้นไม่มีใครรู้จักเป็นผู้มีศักดาน้อย คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าลาภ สักการะ และชื่อเสียง ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรม

นั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม"
"ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือน ผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่น, กะพี้, เปลือก, และสะเก็ดเสีย ตัดเอากิ่งและใบไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น" 

"อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วย ลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะสิ่งนั้น ทั้งยังปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าลาภสักการะชื่อเสียงนั้น
ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ผู้นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะสีลสัมปทานั้นว่า เราเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ 

เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลว คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสีลสัมปทา ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่น กะพี้ และเปลือกเสีย ถากเอาสะเก็ดไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น" 

"อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ประพฤติสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ยังไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา 
 (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเป็นต้นเพราะสีลสัมปทานั้น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสีลสัมปทานั้น 
ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ ไม่มีความประพฤติยอ่หย่อนหละหลวม ผู้นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ (ความตั้งมั่นหรือความสงบแห่งจิต) ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยสมาธิสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น 
ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะสมาธิสัมปปทานั้นว่า เราเป็นผู้ตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ เป็นผู้ไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่า สมาธิสัมปทานั้น 

ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นและกะพี้เสีย ถากเอาเปลือกไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น" 

"อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น
ได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสมาธินั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะสมาธิสัมปทานั้น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสมาธิสัมปทา ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ 
ไม่เป็นผู้มีความประพฤติยอ่หย่อนหละหลวม ผู้นั้นได้ญาณทัสสนะ (ความเห็นด้วยญาณหรือปัญญา) ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยญาณทัสสนะ หรือปัญญานั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสนะนั้น 
ว่าเราอยู่อย่างรู้เห็น ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ อยู่อย่างไม่รู้เห็น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าญาณทัสสนะ ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ 

เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นเสียถากเอากะพี้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น" 

"อนึ่ง บุคคลบางคนอออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ
ก็อิ่มใจแต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสมาธิสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น ได้ญาณทัสสนะ (หรือปัญญา) ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปราถรนาด้วยญาณทัสสนะนั้น ไม่ยกตน ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสะนั้น 
คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมอะไรบ้าง ที่ยิ่งกว่า 
ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าปฐมฌาน ๔ (ฌานที่ ๑) เข้าทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) เข้าตติยฌาน (ฌานที่ ๓) เข้าจตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) เข้าอากาสานัญจายตนะ (อรูปฌาน กำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) 
เข้าวิญญาณัญจายตนะ (อรูปฌาน กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) เข้าอากิญจัญญายตนะ (อรูปฌาน กำหนดว่าไม่มีอะไรแม้แต่นิดหน่อย) เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ 
 (อรูปฌาน ที่มีสัญญาความจำได้หมายรู้ ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่) เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อเข้าแล้วทำให้ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนาความเสวยอารมณ์สุขทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขได้) 

อาสวะของภิกษุนั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา คุณธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไม้ไปฉะนั้น" 

"ด้วยประการฉะนี้แหละพราหมณ์ พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะชื่อเสียงเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบอันใด 

พรหมจรรย์นี้ มีความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบนั้นแหละเป็นที่ต้องการ นั้นเป็นแก่นสาร นั้นเป็นที่สุดโดยรอบ" 


เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ปิงคลโกจฉะพราหมณ์กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต.
จูฬสาโรปมสูตร ๑๒/๓๗๔ 


สรุปความ
๑. ลาภสักการะชื่อเสียง เปรียบเหมือนกิ่งไม้ใบไม้
๒. ความสมบูรณ์ด้วยศีล เปรียบเหมือนสะเก็ดไม้
๓. ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ เปรียบเหมือนเปลือกไม้
๔. ญาณทัสสนะ หรือปัญญา เปรียบเหมือนกะพี้ไม้
๕. ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบ ซึ่งใช้คำภาษาบาลี
"อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ" เปรียบเหมือนแก่นไม้


อานิสงส์ของการไหว้พระสวดมนต์
๑. การสวดมนต์ทุกวันเป็นมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
๒. เป็นการบำเพ็ญภาวนาอย่างหนึ่ง
๓. ทำให้จิตบังเกิดกุศลได้ง่าย
๔. ทำให้ใจสงบสุข
๕. เหมาะสำหรับการเตรียมตัวก่อนปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
๖. เป็นบุญที่ได้กล่าวคำศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้
๗. สวดมนต์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
๘. เพื่อป้องกันภัยวิบัติ
๙. เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง
๑๐. เพื่อให้ทุกข์ต่าง ๆ หมดไป
๑๑. เป็นการขจัดภัยต่าง ๆ
๑๒. เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยต่าง ๆ
   การสวดมนต์ ควรสวดให้มีจังหวะวรรคตอนพอดี ไม่เร็วหรือไม่ช้าเกินไป เสียงดังพอประมาณจะทำให้เกิดความสบายใจ และถ้าเราเข้าใจความหมายเนื้อเรื่องของบทสวดแล้วนำไปปฏิบัติจะทำให้เราได้ประโยชน์จากการสวดมนต์ที่สมบูรณ์
วิธีการสวด
   ให้เริ่มสวด ตั้งแต่บทบูชาพระรัตนตรัย กราบพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนรัย    ( นะโม ๓ จบ ) คำขอขมาพระรัตนตรัย ไตรสรณคมณ์ ถวายพรพระ ( อิติปิ โสฯ ) พุทธชัยมงคลคาถา ( พาหุงฯ ) เพียง ๑ จบ จากนั้นให้สวดอิติปิ โสฯ เท่าอายุบวกด้วย ๑ เสร็จแล้วให้แผ่เมตตาให้ตนเอง แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ แผ่ส่วนกุศล
เสร็จแล้วจึงอธิษฐานตามสิ่งที่ปรารถนา จากนั้นจึงสวดพระคาถาและบทสวนอื่น ๆ





























































































































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น