เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้

เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้
คติพจน์ประจำใจ

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สืบสานงานบุญข้าวกระยาสารทวัดเหล่าหัวภู 2556

งานบุญตักบาตรข้าวกระยาสารท
ประจำปี  ๒๕๕๖
ณ  วัดไทยเจริญเหล่าภู
  ตำบลกกกุง  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด

ความหมายของกระยาสารท

      สารท เทศกาลทำบุญสิ้นเดือนสิบ เดิมเป็นฤดูทำบุญด้วยเอาข้าวที่กำลังท้อง (ข้าวรวงเป็นน้ำนม) มาทำยาคูและกวนข้าวปายาสเลี้ยงพราหมณ์ อย่างนี้เรียกว่า กวนข้าวทิพย์ส่วนผู้นับถือพุทธศาสนานำคตินั้นมาใช้ แต่เปลี่ยนเป็นถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติในปรโลก สำหรับชาวบ้านทั่วไปมักทำแต่กระยาสารท เป็นต้น

พระครูปริยัติโชติยาภรณ์ (หนูพร จารุวณฺโณ)
น.ธ. เอก ป.ธ. ๓ ศศ.บ.
รักษาการเจ้าคณะตำบลกกกุง
เจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง
เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมืองสรวง
พระสุทธี  เอกอคฺคจิตฺโต
น.ธ. เอก
รักษาการเจ้าอาวาสวัดไทยเจริญเหล่าหัวภู
ตำบลกกกุง  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด
****************************
ความเป็นมาของกระยาสารท?
      สารทเป็นนักขัตฤกษ์ ถือเป็นประเพณีนิยมมาแต่โบราณกาลว่าเทศกาลทำบุญสิ้นเดือน ๑๐ คือ วัน เวลา เดือน และปีที่ผ่านพ้นไปกึ่งปี และโดยที่มนุษยชาติดำรงอยู่ได้ด้วยเกษตรกรรมเป็นหลักสำคัญ เมื่อถึงกึ่งปีเป็นฤดูกาลที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนม จึงได้มีกรรมวิธีปรุงแต่งที่เรียกกันว่า กวนข้าวทิพย์ 

หรือ ข้าวปายาส ข้าวยาคู และขนมชนิดหนึ่งเรียกว่า กระยาสารท แล้วประกอบการบำเพ็ญกุศลถวายพระสงฆ์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนาทั้งอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนผู้มีพระคุณ และแจกสมนาคุณญาติมิตรตามคติที่ชาวไทยเป็นพุทธศาสนิกชน แม้จะเป็นประเพณีที่มีส่วนมาจากลัทธิพราหมณ์ ชาวไทย

ก็นิยมรับเพราะเป็นประเพณีในส่วนที่มีคุณธรรมอันดีพึงยึดถือปฏิบัติ
พิธีสารท นอกจากเป็นประเพณีของชนชาวไทยทั่วไปแล้ว ในส่วนของพระมหากษัตริย์ที่เรียกว่าพิธีของหลวงนั้นในสมัยสุโขทัย มีในตำนานนางนพมาศ ว่าราชบุรุษชาวพนักงานตกแต่งโรงพิธีในพระราชนิเวศน์ ตั้งก้อนเส้าเตาเพลิงแลสัมภาระเครื่องใช้เบ็ดเสร็จ นายนักการระหารหลวงก็เก็บเกี่ยวครรภสาลีและรวงข้าวมาตำเป็นข้าวเม่า 

นายเสถียร  บัวสิงห์ 
นายกเทศมนตรีตำบลกกกุง
กล่าวเปิดงานตักบาตรข้าวกระยาสารท
ประจำปี  ๒๕๕๖

ข้าวตอกส่งต่อมณเฑียรวังเวรเครื่อง นายพระโคก็รีดน้ำชีรารสมาส่งดุจเดียวกัน ครั้งได้ฤกษ์รับสั่งให้จ่าชาวเวรเครื่องทั้งมวลตกแต่งปรุงมธุปายาสปรุงปนระดมเจือล้วนแต่โอชารส มีขัณฑสกร น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล นมสด เป็นต้นใส่ลงไปในภาชนะซึ่งตั้งบนเตาเพลิง 
จึงให้สาวสำอางกวนมธุปายาสโดยสังเขปชาวดุริยางค์ดนตรีก็ประโคมพิณพาทย์ ฆ้อง กลอง เล่นการมหรสพ ระเบงระบำล้วนแต่นารี แล้วพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยราชบริพารน้ำข้าวปายาส
ไปถวายพระมหาเถรานุเถระถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้สืบประเพณีพระราชพิธีสารทมาจัดทำ เช่น ในรัชกาลที่ ๑ มีพระราชพิธีสารทกวนข้าวทิพย์ รัชกาลต่อมาได้ทำบ้างงดบ้าง จนถึงปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
โปรดเกล้าฯให้ตั้งการพระราชพิธีสารท มีกำหนดการดังนี้เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) เสนาบดีกระทรวงวังรับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่าราชประเพณีแต่ก่อนมา 
ถึงเวลากลางปีเคยมีการพระราชพิธีสารทกวนข้าวทิพย์ปายาสทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายยาคูแด่พระสงฆ์ ด้วยว่าประจวบฤดูข้าวในนาแรกออกรวงเป็นกษีรรสพอจะเริ่มบริจาคเป็นทานถวายแด่ภิกษุสงฆ์ 
ในพระพุทธศาสนาได้เรียกว่าสาลีคัพภทาน แต่เว้นว่างมิได้กระทำมาเสียนานมีพระราชประสงค์ที่จะทรงกระทำในปีนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชพิธีสารทในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย 
แต่งสาวพรหมจารีราชอนุวงศ์ให้กวนข้าวทิพย์ปายาส แลแผ่พระราชกุศลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าฝ่ายใน ให้รับรวงข้าวอ่อนไปแต่งเป็นยาคูบรรจุโถทำด้วยฟักเหลืองประดับประดาอย่างวิจิตรพึงชม ถวายโดยเสด็จในการพระราชกุศลพิธีสารท 
แต่งสาวพรหมจารีราชอนุวงศ์ให้กวนข้าวทิพย์ปายาส แลแผ่พระราชกุศลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าฝ่ายใน ให้รับรวงข้าวอ่อนไปแต่งเป็นยาคูบรรจุโถทำด้วยฟักเหลืองประดับประดาอย่างวิจิตรพึงชม ถวายโดยเสด็จในการพระราชกุศลพิธีสารท 
มีกำหนดการดังนี้วันที่ ๒๕ กันยายน ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ แรม ๑๕ ค่ำ ปีเถาะ เจ้าพนักงานจะได้แต่งการในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เชิญพระพุทธรูปชัยวัฒน์ทั้ง ๗ รัชกาลแลพระสุพรรณบัฎ พระมหาสังข์ พระเต้าน้ำพระพุทธมนต์
ทั้งพระแสงราชาวุธ จัดตั้งไว้บนพระแท่นเศวตฉัตร ตั้งโต๊ะจีนสองข้างประดิษฐานพระพุทธรูปนิรันตรายบนโต๊ะข้างตะวันออก ประดิษฐานรูปพระสยามเทวาธิราชบนโต๊ะข้างตะวันตก 
ตั้งเครื่องนมัสการสรรพสิ่งทั้งปวงสำหรับพระราชพิธีพร้อมกับทั้งตกแต่งโรงพระราชพิธีที่กวนข้าวทิพย์ปายาส ณ สวนศิวาลัย แลแต่งหอเวทวิทยาคมพราหมณ์เข้าพิธีเสร็จสรรพ  เวลา ๕.๐๐ ล.ท. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงจุดเทียนนมัสการทรงศีล อาลักษณ์อ่านประกาศพระราชพิธีสารท
เมื่ออาลักษณ์อ่านประกาศจบ พระสงฆ์ ๓๐ รูปสวดพระพุทธมนต์ สาวพรหมจารีราชอนุวงศ์ซึ่งจะกวนข้าวทิพย์ปายาสฟังพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ในพระสูตร ครั้นสวดจบสมเด็จพระสังฆราชเจ้าถวายอดิเรกถวายพระพรลา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ ทรงเจิมพระราชทานสาวพรหมจารีและท้าวนางนำไปสู่โรงพระราชพิธี ณ สวนศิวาลัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปเข้าโรงพระราชพิธี ทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์สงในกะทะแลทรงเจิมพายแล้วทรงรินน้ำพระพุทธมนต์ในพระเต้าลงกะทะโดยลำดับ โปรดเกล้าฯให้หม่อมเจ้าน้อย ๆ นำเครื่องปรุงอเนกรสหยอดตามเสด็จไป เจ้าพนักงานเทถุงเครื่องกวนลงไปในกะทะสาวพรหมจารีกวนข้าวทิพย์ปายาส
เจ้าพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร เครื่องดุริยางค์ พราหมณ์ หลั่งน้ำเทพมนต์ลงทุกกระทะเพื่อเป็นสวัสดิมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับ ครั้นกวนข้าวทิพย์ปายาสได้ที่แล้ว เจ้าพนักงานบรรจุเตียบนำไปตั้งไว้ในมณฑลพระราชพิธี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยวันที่ ๒๖ กันยายน ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีเถาะ 
เวลาเช้าเจ้าพนักงานจะได้รับโถยาคูซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทแต่งมาโดยเสด็จการพระราชกุศล จัดตั้งเรียงไว้ถวายตัว  เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย 
ทรงจุดเทียนนมัสการ ทรงศีล พระสงฆ์ถวายพรพระ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรโถยาคู ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทแต่งมาถวาย ทรงเลือกปักธงชื่อพระตามประราชประสงค์จำนงพระราชทานโถไหนแก่รูปไหนแล้ว เจ้าพนักงานยกไปตั้งตามที่ทางประเคนภัตตาหารแก่พระสงฆ์ 
ครั้นพระสงฆ์ฉันของคาวแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ประเคนของหวานกับทั้งยาคูแลข้าวทิพย์ปายาส ครั้นฉันแล้วทรงประเคนเครื่องไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้าถวายอดิเรกถวายพระพรลาแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับ เจ้าพนักงานจำแนกข้าวทิพย์ปายาสพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ กับข้าทูลละอองธุลีพระบาททั่วกันแล้ว เป็นเสร็จการ
ช่วงเวลา 
ปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคมของทุกปี
  • ความสำคัญ

      การกวนกระยาสารท กล้วยไข่ ทางจังหวัดไทยเจริญเหล่าภู  ตำบลกกกุง  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด   ได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นต้นมา   ในปีนี้กำหนดจัดงานวันที่  ๑๕  ตุลาคม  ๒๕๕๖  ตรงกับวันขึ้น  ๑๑  ค่ำ  เดือน  ๑๑  ในวันงานการทำบุญตักบาตรข้าวกระยาสารท  ข้าวสุข  อาหารแห้ง  ตามกำลังศรัทธา  และมีกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การขับร้องสรภัญญ์ประเภทประชาชนทั่วไป  และประเภทเยาวชน
พิธีกรรม

ชาวบ้านจะนำเอาพืชผลทางการเกษตรที่ผลิตได้มาร่วมกันทำกระยาสารท ได้แก่ ข้าวเม่า ข้าวตอก ถั่วงา น้ำตาล น้ำผึ้ง มาร่วมกันกวน หลังจากนั้นจึงนำถวายพระสงฆ์และผู้มาร่วมงานตามลำดับ
สาระสำคัญ

        กระยาสารท เป็นอาหารที่ทำในฤดูสารท เดือนสิบ -เดือนสิบเอ็ด  เป็นช่วงที่ผลิตผลทางการเกษตรของชาวบ้านสนามชัย  บ้านเหบ่าหัวภู  อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา ซึ่งเป็นการเก็บ พืชผลครั้งแรก
ร่วมแห่ขันข้าวกระยาสารทรอบอุโบสถ
วัดไทยเจริญเหล่าหัวภู  ตำบลกกกุง  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด
มหาอานิสงส์ของธรรมทาน 25 ข้อ

มหาอานิสงส์ แปลว่า ผลบุญอันยิ่งใหญ่ มาจากคำว่า มหา (ใหญ่,ยิ่งใหญ่) 
อานิสงส์ (ผลที่เกิดจากการกระทำ, ผลบุญ)
·   มีจิตใจเบิกบานแจ่มใส หน้าตาสดใสมีสง่าราศี

·   มีสติปัญญาดีเลิศ คิดสิ่งใดก็คิดออกได้ง่าย และ ถูกต้องกว่าแต่ก่อน
·   ได้คนรอบตัวดีดี มีเพื่อนแท้แก้ทุกข์สู้งานใหญ่

·   ได้เพื่อนธรรมกัลยาณมิตร ชวนกันคิด ชวนกันทำ กรรมดี เพื่อการสั่งสมบุญบารมี
·   เจ้ากรรมนายเวรไล่ล่าเราไม่ทัน เปรียบเสมือนได้ลบล้างหนี้เวรกรรม

·   โรคภัยไข้เจ็บอันเกิดจากเจ้ากรรมนายเวร ก็ทุเลาหายไปเพราะเราอุทิศบุญให้
·   ทำให้ชีวิตตนและครอบครัวมั่นคง ทรัพย์สมบัติกิจการค้า ตำแหน่งการงาน เจริญรุ่งเรือง

·   ช่วยดึงและดันให้สั่งสมบุญบารมีขั้นสูงกว่า คือการรักษาศีลลและการเจริญภาวนา เมื่อทำก็ทำได้ง่ายไร้อุปสรรค
·   ได้สร้างเสริมและเจริญเมตตาธรรม ฝึกตนให้เป็นพระพรหมมีจิตใจครบ

· 4 หน้า คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เมื่อเป็นผู้ที่มีพรหมวิหารทั้ง 4
·   ก็ย่อมให้อภัย ไม่พยาบาท ทำดีได้ง่ายขึ้น เข้าสมาธิและฌานได้ง่ายดี

·   สมาชิกในครอบครัว ในธุรกิจ ในหน่วยงาน มีรักสามัคคี มีเมตตาไมตรีต่อกันมาก
·   เทวดาคุ้มครอง ปกป้อง รักษาความปลอดภัยแก่สมาชิกในครอบครัว ในธุรกิจ ในรถ เรือ บ้านเรือน อาคาร

·   สร้างธรรมทานด้วยหวังขจัดกิเลส และด้วยจิตใจเบิกบานทั้ง 3 ระยะ คือ ก่อนสร้าง, ขณะสร้าง และหลังสร้างบุญธรรมทาน ชาติหน้าเกิดมาก็จักรวยตั้งแต่เกิด รวยมั่นคงจนถึงปลายชีวิต เพราะชาตินี้สร้างธรรมทานด้วยความยินดี มีจิตเบิกบานตลอด 3 ระยะ
·   อุทิศบุญกุศลให้บุพการีและผู้มีพระคุณ บุญส่งให้ท่านเหล่านั้นได้อยู่ในภพภูมิที่ดีดี

·   คิดหาวิธีเองได้ ที่จะทำให้ตนและผู้อื่นพ้นทุกข์น้อยใหญ่ ไล่ความโง่ เติมความงามแก่กายใจ
·   ช่วยให้คนทั้งโลก แม้ว่าจะต่างเชื้อชาติ ศาสนา มีความสุขสงบร่มเย็น เป็นเพื่อนเกื้อกูลกัน

·   ขจัดความตระหนี่ถี่เหนี่ยว ลดความยึดมั่นถือมั่น ตัดความงกความเป็นเจ้าของออกจากใจ
·   ไล่ตัวมารแห่งความโลภ ขจัดความโศกที่เกิดจากการดิ้นรนอยากมีวัตุสิ่งของเกินความจำเป็น

·   เห็นเส้นทางเดินตามพระราชปรัชญา แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง"
·   เพิ่มวิปัสสนาปัญญาคือความเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสรรพสิ่งดั่งสมบัติผลัดกันชมผลัดกันใช้

·   ได้เปลี่ยนความคิดเห็นที่ผิดที่ไม่ถูกต้อง (มิจฉาทิฐิ) เป็นความคิดเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฐิ)
·   เมื่อได้เสริมบุญธรรมทาน ด้วยการรักษาศีล และเจริญภาวนาทำสมาธิเป็นเนืองนิตย์ หากตายไปจักได้เกิดเป็นเทวดาอย่างแน่นอน พอจิตอิ่มบุญบารมีสูงสุดก็จักเข้าสู่นิพพาน ไม่เกิดเป็นอะไรอีกแล้ว
·   สร้างความสุขให้ชาวโลกในอนาคต เติมเชื้อธรรมไว้ในปฐพี อีก 100 ปี มีผู้เห็นหนังสือที่พิมพ์แจก เขาก็จักฟื้นฟูดูแลพระพุทธศาสนา เราท่านเกิดมาในชาติหน้าจะเป็นพุทธบริษัทที่สมบูรณ์ อยู่ในแดนพุทธที่เจริญ และปลอดภัย
·   หากได้เกิดเป็นมนุษย์อีก จักเกิดในครอบครัวที่อุดมด้วยสัมมาทิฐิ "รีบเร่งสั่งสมบุญบารมีในชาตินี้เถิด
·   ไม่เกิดในอบายภูมิได้ง่าย (นรก, เปรต, อสุรกาย, ดิรัจฉาน)
·  ช่วยรักษาและเผยแผ่พระพุทธธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ให้เสื่อมสูญ

ที่มา : หนังสือพุทธฤทธิ์พิชิตมาร




















































พระครูปริยัติโชติยาภรณ์ 
และ
พระใบฏีกาสมบัติ  ปิยสีโล



ประเพณีฮีตสิบสอง คองสิบสี่
       ฮีตสิบสอง  มาจากคำ 2 คำ คือ ฮีต กับ สิบสอง ฮีตมาจากคำว่า จารีต หมายถึงสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีที่ดีงาม ชาวอีสาน เรียกว่า จาฮีต หรือฮีต สิบสองในหนึ่งปี
คองสิบสี่ หมายถึง ครองธรรม 14 อย่าง เป็นกรอบหรือแนวทางที่ใช้ปฏิบัติระหว่างกัน ของผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง พระสงฆ์ และระหว่างบุคคลทั่วไป เพื่อความสงบสุขร่มเย็นของ บ้านเมือง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสานที่ดำรงชีพอยู่ในสังคมเกษตรกรรม ตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่แห้งแล้งกันดารนั้น ในความเชื่อต่อการดำเนินชีวิตที่มีความผาสุกและเจริญรุ่งเรืองเกิดขึ้นแก่ครอบครัวและบ้านเมืองก็ต้องมีการประกอบพิธีกรรม มีการเซ่นสรวงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย และร่วมทำบุญตามประเพณีทางพุทธศาสนาด้วยทุกๆเดือนในรอบปีนั้นมีการจัดงานบุญพื้นบ้านประเพณีพื้นเมืองกันเป็นประจำ จึงได้ถือเป็นประเพณี 12 เดือนเรียกกันว่า ฮีตสิบสอง ถือกันว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน คติความเชื่อในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เกี่ยวพันกับการเกษตรกรรม เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจต่อการดำรงชีวิตชาวอีสานจึงมีงานบุญพื้นบ้านมากมายจนได้ชื่อว่าเป็นภูมิภาคที่มีงานประเพณีพื้นบ้านมากที่สุดในประเทศฮีตสิบสองเดือนหรือประเพณีสิบสองเดือนนั้น ชาวอีสานร่วมกันประกอบพิธีนับแต่ต้นปี คือ
เดือนอ้าย หรือเดือนเจียง งานบุญเข้ากรรม มีงานบุญดอกผ้า (นำผ้าห่มหนาวไปถวายสงฆ์) ประเพณีเส็งกลอง ทำลานตี(ลานนวดข้าว)ทำปลาแดก (ทำปลาร้าไว้เป็นอาหาร) เกี่ยวข้าวในนา เล่นว่าว ชักว่าวสนู นิมนต์พระสงฆ์เข้าประวาสกรรมตามป่ระเพณีนั้นมีการทำบุญทางศาสนา เพื่ออานิสงส์ทดแทนบุญคุณต่อบรรพบุรุษ ชาวบ้านเลี้ยงผีแถน ผีบรรพบุรุษ มีการตระเตรียมเก็บสะสมข้าวปลาอาหารไว้กินในยามแล้ง
เดือนยี่ งานบุญคูนลาน ทำบุญที่วัด พระสงฆ์เทศน์เรื่องแม่โพสพ ทำพิธีปลงข้าวในลอมและฟาดข้าวในลาน ขนข้าวเหลือกขึ้นเล้า (ยุ้งฉาง) นับเป็นความเชื่อในการบำรุงขวัญและสิริมงคลทางเกษตรกรรม มีทั้งทำบุญที่วัดและบางครั้งทกบุญที่ลานนวดข้าว เมื่อขนข้าวใส่ยุ้งแล้วมักไปทำบุญที่วัด

เดือนสาม บุญข้าวจี่ มีพิธีเลี้ยงลาตาแฮก (พระภูมินา) เพราะขนข้าวขึ้นยุ้งแล้ว งานเอิ้นขวัญข้าวหรือกู่ขวัญข้าว เพ็ญเดือนสามทำบุญข้าวจี่ตอนเย็นทำมาฆบูชา ลงเข็นฝ้ายหาหลัวฟืน (ไม้เชื้อเพลิงลำไม้ไผ่ตายหลัว กิ่งไม้แห้ง-ฟืน)
ตามประเพณีหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวใส่ยุ้งแล้ว มีการทำบุญเซ่นสรวงบูชาเจ้าที่นา ซึ่งชาวอีสานเรียกว่าตาแฮก และทำบุญแผ่ส่วนกุศลให้ผีปู่ย่าตายาย อันเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยการทำข้าวจี่(ข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนสอดไส้น้ำตาลหรือน้ำอ้อยชุบไข่ปิ้งจนเหลือง) นำไปถวายพระพร้อมอาหารคาวหวานอื่นๆ
เดือนสี่ บุญพระเวส (อ่านออกเสียงพระ-เหวด) มีงานบุญพระเวส (ฟังเทศน์มหาชาติ) แห่พระอุปคุตตั้งศาลเพียงตา ทำบุญแจกข้าวอุทิศให้ผู้ตาย (บุญเปตพลี) ประเพณีเทศน์มหาชาติเหมือนกับประเพณีภาคอื่นๆ ด้วย เป็นงานบุญทางพุทธศาสนาที่ถือปฏิบัติทำบุญถวายภัตตาหารแล้วตอนบ่ายฟังเทศน์ เรื่องเวสสันดรชาดก ตามประเพณีวัดติดต่อกัน 2-3 วันแล้วแต่กำหนดในช่วงที่จัดงานมีการแห่พระอุปคุตเพื่อขอให้บันดาลให้ฝนตกด้วย
เดือนห้า บุญสรงน้ำ หรือเทศกาลสงกรานต์ ชาวอีสานเรียกกันว่า สังขานต์
ตามประเพณีจัดงานสงกรานต์นั้น บางแห่งจัดกัน 3 วัน บางแห่ง 7 วัน แล้วแต่กำหนดมีการทำบุญถวายภัตตาหารคาวหวาน หรือถวายจังหันเช้า-เพลตลอดเทศกาล ตอนบ่ายมีสรงน้ำพระ รดน้ำผู้ใหญ่ผู้เฒ่าก่อเจดีย์ทราย
เดือนหก บุญบั้งไฟ บางแห่งเรียก บุญวิสาขบูชา มีงานบุญบั้งไฟ (บุญขอฝน) บุญวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก
เกือบตลอดเดือนหกนี้ ชาวอีสานจัดงานบุญบั้งไฟ จัดวันใดแล้วแต่คณะกรรมการหมู่บ้านกำหนดถือเป็นการทำบุญบูชาแถน (เทวดา) เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลและความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหารในปีต่อไปครั้นวันเพ็ญหก เป็นงานบุญวิสาขบูชาประเพณีสำคัญทางพุทธศาสนา มีการทำบุญฟังเทศน์และเวียนเทียนเพื่อผลแห่งอานิสงส์ในภพหน้า
เดือนเจ็ด บุญชำฮะ มีพิธีเลี้ยงตาแฮก ปู่ตา หลักเมือง งานบุญเบิกบ้านเบิกเมือง งานเข้านาคเพื่อบวชนาค
คติความเชื่อหลังจากหว่านข้าวกล้าดำนาเสร็จ มีการทำพิธีเซ่นสรวงเจ้าที่นา เพื่อความเป็นสิริมงคลให้ข้าวกล้าในนางงอกงาม บ้านที่กุลบุตรมีงานอุปสบททดแทนบุญคุณบิดามารดาและเตรียมเข้ากรรมในพรรษา
เดือนแปด งานบุญเข้าพรรษา มีพิธีหล่อเทียนพรรษางานบุญเทศกาลเข้าพรรษา
แต่ละหมู่บ้านช่วยกันหล่อเทียนพรรษา ประดับให้สวยงาม จัดขบวนแห่เพื่อนนำไปถวายเป็นพุทธบูชา มีการทำบุญถวายภัตตหาร เครื่องไทยทานและผ้าอาบน้ำฝน เพื่อพระสงฆ์จะได้นำไปใช้ตลอดเทศกาลเข้าพรรษา
เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน จัดงานวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 นับแต่เช้ามืด ชาวบ้านจัดอาหารคาวหวาน หมากพลูบุหรี่ใส่กระทงเล็กๆ นำไปวางไว้ตามลานบ้าน ใต้ต้นไม้ ข้างพระอุโบสถ เพื่อเป็นการให้ทานแก่เปรตหรือวิญญาณที่ตกทุกข์ได้ยากตอนสายมีการทำบุญที่วัด ฟังเทศน์เป็นอานิสงส์
เดือนสิบ บุญข้าวสาก ข้าวสากหมายถึงการกวนกระยาสารท คล้ายงานบุญสลากภัตในภาคกลาง จัดงานวันเพ็ญเดือน 10 นำสำรับคาวหวานพร้อมกับข้าวสาก(กระยาสารท) ไปทำบุญที่วัดถวายผ้าอาบน้ำฝนและเครื่องไทยทาน แต่ก่อนที่จะถวายนั้นจะทำสลากติดไว้ พระสงฆ์องค์ใดจับสลากใดได้ก็รับถวายจากเจ้าของสำรับนั้น ตอนบ่ายฟังเทศน์เป็อานิสงส์
เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา มีพิธีถวายผ้าห่มหนาวในวันเพ็ญ มีงานบุญตักบาตรเทโว พิธีกวนข้าวทิพย์ พิธีลอยเรือไฟ
นับเป็นช่วงที่จัดงานใหญ่กันเกือบตลอดเดือน นับแต่วันเพ็ญ มีการถวายผ้าห่มหนาวแต่พระพุทธพระสงฆ์ วันแรม 1 ค่ำ งานบุญตักบาตรเทโว ตอนเย็นวันขึ้น 14 ค่ำ มีพิธีกวนข้าวทิพย์ มีงานช่วงเฮือ (แข่งเรือ) ในวันเพ็ญมีงานแห่ปราสาทผึ้ง พิธีลอย เฮือไฟ (ไหลเรือไฟ) เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา มีทั้งงานบุญกุศลและสนุกสนานรื่นเริง
เดือนสิบสอง บุญกฐิน ทำบุญข้าวเม่าพิธีถวายกฐินเมื่อถึงวันเพ็ญจัดทำข้าวเม่า(ข้าวใหม่)นำไปถวายพระ พร้อมสำรับคาวหวานขึ้นตอนบ่ายฟ้งเทศน์เป็นอานิสงส์จัด พิธีทอดกฐินตามวัดที่!!จองกฐินไว้ งานบุญในฮีตสิบสองนั้น ตามหมู่ที่เคร่งประเพณียังคงจัดกันอย่างครบถ้วนบางแห่งจัดเฉพาะงานบุญใหญ่ๆตามแต่คณะกรรมการหมู่บ้านร่วมกันจัด บางแห่งเป็นงานใหญ่ประจำปี งานบุญแห่เทียนพรรษา ชาวจังหวัดอุบลฯจัดเป็นงานใหญ่ทุกปีงานลอยเฮือไฟ ชาวจังหวัดนครพนมจัดเป็นงานใหญ่ประจำ และงานแห่ปราสาทผึ้งชาวเมืองสกลนคร จัดเป็นงานใหญ่ประจำ เป็นต้น ปัจจุบันนี้มีการฟื้นฟูการจัดงานฮีตสิบสองเป็นงานใหญ่ๆเพื่อการอนุรักษ์สินมรดกทางวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่จังหวัดด้วย
--------------------------------------------------------------------------------
คองสิบสี่
สำหรับ คองสิบสี่ ตามคติการถือปฏิบัติของชาวอีสานนั้น ถือเป็นหลักธรรมในการครองบ้านครองเรือนที่ควรปฏิบัติ ซึ่งหากใครที่ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแล้วนับเป็นบุคคลอยู่ในศีลในธรรมเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไปหลักปฏิบัติ 14 ข้อ หรือ 14 ประการ ได้แก่
1. หูเมือง เป็นราชทูตต่างหน้าแทนบ้านเมือง หมายถึง เป็นบุคคลที่พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน พูดจริง
2. ตาเมือง เป็นนักปราชญ์ มีความรอบรู้ในวิชาการบ้านเมือง รู้หลักธรรม
3. แก่นเมือง เป็นผู้ทรงคุณธรรม ยุติธรรม
4. ประตูเมือง เป็นผู้มีความสามารถในการใช้ศัตราวุทยุทธโธปกรณ์
5. รากเมือง เป็นผู้รอบรู้ในด้านโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์
6. เหง้าเมือง เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์
7. ขางเมือง เป็นผู้ชำนาญในการออกแบบ ชำนาญในการศึก
8. ขื่อเมือง เป็นผู้มีตระกูลเป็นนักปราชญ์ผู้กล้าหาญ
9. แปเมือง เป็นผู้มีศีลธรรมอันดี ตัดสินคดีความเที่ยงธรรม
10. เขตเมือง เป็นผู้ทำหน้าที่พิทักษ์เขตเมือง รักษาเขตแดนบ้านเมือง
11. ใจเมือง เป็นผู้ทำหน้าที่ปกครองบ้านเมืองที่ดี
12. ค่าเมือง เป็นผู้พิทักษ์รักษาให้เมืองมีค่า มีเงินทอง ติดต่อค่าขาย
13. สติเมือง เป็นผู้รู้จักการรักษาพยาบาล หมอยา
14. เมฆหมอกเมือง เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ประดุจเทพอารักษ์พิทักษ์เมืองเป็นหลักเมืองการถือคองสิบสี่ประการนี้
นับเป็นการรักษาบ้านครองเรือนมีศีลธรรม มีทศพิธราชธรรม






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น