เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้

เรียนรู้ทุกชนิดแต่ควรคิดก่อนใช้
คติพจน์ประจำใจ

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หนอนภูสอบธรรมแผนกธรรมศึกษา 2555

ประกาศกำหนดวันสอบธรรมสนามหลวง

ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ ดังนี้

สนามสอบอำเภอเมืองสรวง สนามสอบวัดเมืองสรวงเก่า ตำบลหนองผือ อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด 
โดย

พระครูปริยัติธรรมกิจ
ประธานหน่วยสอบธรรมสนามหลวง

พระมหาหนูพร จารุวณฺโณ
เลขานุการกองงานเลขานุการ/กรรมการกลางจังหวัดร้อยเอ็ด
ผู้แทนแม่กองธรรมสนามหลวง
๑. นักธรรมชั้นตรี

กำหนดสอบวันที่ ๒๔ - ๒๕ - ๒๖ - ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๕
(ตรงกับวันพุธ- พฤหัสบดี- ศุกร์-เสาร์ ขึ้น ๙ - ๑๐ - ๑๑ - ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๑)
รวมสอบ๔ วัน ๆละ ๑วิชา เริ่มสอบเวลา ๑๓.๐๐ น.ทั้ง ๔วันให้เวลาวิชาละ ๓ ชั่วโมง

๒. นักธรรมชั้นโท - เอก
          กำหนดสอบวันที่ ๒๙ - ๓๐ พฤศจิกายน และ ๑ - ๒ ธันวาคม ๒๕๕๕
(ตรงกับวันพฤหัสบดี-ศุกร์ - เสาร์ - อาทิตย์ แรม ๑ -๒ - ๓ - ๔ ค่ำ เดือน ๑๒
รวมสอบ ๔ วัน ๆ ละ ๑ วิชา)  เริ่มสอบเวลา ๑๓.๐๐ น. ทั้ง ๔ วัน ให้เวลา วิชาละ ๓ ชั่วโมง

๓. ธรรมศึกษาทุกชั้น
กำหนดสอบวันจันทร์ ที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕  (ตรงกับแรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๒ สอบ ๑ วัน)
-เช้าสอบวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม เริ่มสอบเวลา ๐๘.๓๐ น. ให้เวลา ๓ ชั่วโมง
-บ่ายสอบวิชาธรรม วิชาพุทธ และวิชาวินัย ให้เวลาวิชาละ ๕๐ นาที
เริ่มสอบเวลา ๑๓.๐๐ น. ใช้ข้อสอบแบบปรนัยหรือแบบเลือกตอบ
     อนึ่ง ปัญหาสอบธรรม นักธรรมทุกชั้นคงสอบแบบอัตนัยทุกวิชาเหมือนปีที่ผ่านมา
ส่วนธรรมศึกษาทุกชั้นยังคงสอบแบบปรนัยทุกวิชา ยกเว้นวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม
คงสอบแบบอัตนัยอย่างเดิม

         

ประวัติความเป็นมาการสอบธรรมศึกษา นักธรรมสนามหลวง
          การสอบบาลีสนามหลวงนั้นมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสอบในทำนองเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ 3 ปีมีการสอบครั้งหนึ่ง เป็นการ
สอบแบบปากเปล่า มีพระเถราจารย์ผู้ทรงภูมิความรู้เป็นกรรมการสอ
 การสอบไล่ปากเปล่าในอดีต    วิธีการสอบไล่ในอดีตคือผู้เข้าสอบเข้าไปแปลคัมภีร์อรรถกถาต่อหน้าพระเถราจารย์ และพระเถราจารย์จะซักถามผู้เข้าสอบไล่ จึงเป็นที่มาของคำว่า ไล่ความรู้ หรือ สอบไล่
           วิชาที่สอบแต่ละประโยคนั้นก็จะกำหนดพระสูตรต่างๆ สำหรับแต่ละประโยค เริ่มตั้งแต่ประโยค 1 ไปจนถึง ประโยค 9 โดยการสอบนั้น จะมีการสอบตั้งแต่ประโยค 1 ขึ้นไป ถ้าสอบประโยค 1 - 2 ได้ แต่สอบประโยค 3 ไม่ได้ ก็ต้องไปเริ่มสอบประโยค 1 ใหม่ เว้นแต่เมื่อสอบได้ประโยค 3 แล้ว ก็สามารถสอบไล่ไปทีละประโยคหรือหลายประโยคก็ได้   ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระภิกษุทุกรูปต้องเล่าเรียนและเข้าสอบบาลีสนามหลวง ภิกษุรูปใดสอบไล่ได้เป็นเปรียญตั้งแต่ 3 ประโยคแล้ว ถ้าได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ตั้งแต่พระครูสมณศักดิ์ขึ้นไป เป็นอันหยุดไม่ต้องเข้าสอบบาลีสนามหลวงต่อไปก็ได้ แต่ถ้าสมัครใจจะเข้าแปลต่อก็ได้ ส่วนภิกษุที่ยังไม่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ก็ต้องสอบต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบเป็นเปรียญ 9 ประโยค
การเปลี่ยนรูปแบบสอบไล่บาลีมาเป็นข้อเขียน      เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัยขึ้นในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส 
ซึ่งเวลานั้นทรงเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติกนิกายได้ทรงกำหนดหลักสูตรของมหามกุฎราชวิทยาลัยขึ้น โดยกำหนดให้ผู้เรียน เรียนทั้งหนังสือไทยและบาลีไวยากรณ์ โดยผู้เข้าเรียนในสำนักมหามกุฎราชวิทยาลัย นี้มีทั้งพระ
ภิกษุ สามเณร และฆราวาส     จึงทำให้การสอบบาลีสนามหลวงในสมัยนั้นแบ่งออกเป็นสองสนาม คือ สนามที่สอบปากเปล่าแบบเก่า และสนามที่จัดสอบผู้เล่า
เรียนตามหลักสูตรมหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งใช้วิธีสอบแบบข้อเขียน และแบ่งการสอบเป็น 3 ชั้น เรียกว่า เปรียญตรี เทียบคุณวุฒิเสมอเปรียญ 4 แบบเก่า เปรียญโท เทียบคุณวุฒิเสมอเปรียญ 5 และเปรียญเอกเทียบคุณวุฒิเปรียญ 7          
การสอบไล่ตามหลักสูตรมหามกุฎราชวิทยาลัย คงดำเนินมาจนถึงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ปรับหลักสูตรการศึกษาบาลีสนามหลวงทั้งหมด โดยใช้หลักสูตรของมหามกุฎราชวิทยาลัยเป็นหลัก และเลิกการสอบเปรียญ ตรี โท เอก เปลี่ยนมาเป็นสอบบาลีตั้งแต่ประโยค 1 - 9 ดังในปัจจุบัน
การสอบสนามหลวงในปัจจุบันการสอบสนามหลวงในปัจจุบันนี้แบ่งเป็นสองประเภทคือการสอบบาลีสนามหลวง และสอบธรรมสนามหลวง          
 
การสอบสนามหลวงแผนกบาลีในระดับชั้นเปรียญตรี (ป.ธ.1-2 ถึง 3) และระดับชั้นเปรียญโทเปรียญแรก (ป.ธ. 4) ในปัจจุบันนับว่ามีความสะดวกสบายกว่าแต่ก่อนมาก คือผู้สมัครสอบไม่ต้องเข้ามาสอบที่ส่วนกลางทั้งหมด แต่ให้มีสนามสอบประจำจังหวัด ๆ ละหนึ่งแห่งทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้เป็นส่วนกลาง    
การสอบพระปริยัติธรรมแผนกบาลี หรือ การสอบบาลีสนามหลวง แบ่งการสอบออกเป็น 9 ประโยค
ประโยค 1-2 ถึงประโยค 3 เป็นเปรียญตรี (กระทรวงศึกษาธิการเทียบวุฒิให้เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนต้น) ประโยค 4 ถึงประโยค 6 เป็นเปรียญโท (กระทรวงศึกษาธิการเทียบวุฒิให้เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย) ประโยค 7 ถึงประโยค 9 เป็นเปรียญเอก (กระทรวงศึกษาธิการเทียบวุฒิให้เทียบเท่าปริญญาตรี)
การจัดสอบวัดผลบาลีสนามหลวงในปัจจุบันนั้นแบ่งเป็นสองครั้ง
ครั้งแรกคือชั้นประโยค 6 ถึงประโยค 9
 และครั้งที่สองคือ ประโยค 1-2 ถึง ประโยค 5
โดยแต่ละครั้งจะจัดสอบพร้อมกันทั่วประเทศ ใช้ข้อสอบที่ออกโดยแม่กองบาลีสนามหลวง
ครั้งที่ 1  ตรงกับวันขึ้น 2, 3 ค่ำ เดือน 3 จัดสอบเปรียญธรรม 6- 7 และวันขึ้น 4, 5, 6 ค่ำ เดือน 3 จัดสอบเปรียญธรรม 8-9

ครั้งที่ 2  ตรงกับวันแรม 10, 11 12 ค่ำ เดือน 3 จัดสอบประโยค 1-2 ถึงเปรียญธรรม 5 ประโยค
การสอบธรรมสนามหลวงในปัจจุบัน       การสอบพระปริยัติธรรมแผนกธรรม หรือ การสอบธรรมสนามหลวง แบ่งการสอบออกเป็น 2 ประเภท คือ การสอบ นักธรรม สำหรับพระภิกษุ สามเณร และการสอบ ธรรมศึกษา สำหรับฆราวาสโดยแบ่งชั้นการศึกษาออกเป็น 3 ระดับนักธรรมตรี, นักธรรมโท, นักธรรมเอก  สำหรับพระภิกษุ สามเณร (ผู้สอบไล่ได้นักธรรมเอกนั้น กระทรวงศึกษาธิการเทียบวุฒิให้เทียบเท่าประถมศึกษาตอนปลาย) ธรรมศึกษาตรี, ธรรมศึกษาโทธรรมศึกษาเอก  สำหรับฆราวาส การจัดสอบวัดผลธรรมสนามหลวงนั้นจัดให้มีการสอบปีละ 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1  ตรงกับวันขึ้น 9 - 12 ค่ำ เดือน 11 จัดสอบนักธรรมชั้นตรี สำหรับพระภิกษุ สามเณร
ครั้งที่ 2  ตรงกับวันแรม 2 - 5 ค่ำ เดือน 12 จัดสอบนักธรรมชั้นโทและเอก สำหรับพระภิกษุ สามเณร สำหรับธรรมศึกษานั้นจัดสอบวันเดียวคือวันแรม 5 ค่ำ เดือน 12


การศึกษาของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน
space๑.    หลักสูตรแผนกธรรม-บาลี (น.ธ.ตรี,โท,เอก ประกาศใช้ พ.ศ.๒๔๔๕, เปรียญธรรม ๑-๙ ประโยคแบบ ปัจจุบันประกาศใช้  พ.ศ.๒๔๓๙) ใช้เวลาเรียน ๑๐ ปี จบปริญญาตรี หรือจบเปรียญธรรม ๙ ประโยค
space
๒.     หลักสูตรพระปริยัติธรรมสายสามัญ ประกาศใช้ พ.ศ.๒๕๑๔ โดยกระทรวงศึกษาธิการ (ม.๑-๖) จบแล้ว
ต่อปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ ๒ แห่ง คือ
-มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (ร.๕ ทรงสถาปนาเมื่อ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ มีวิทยาเขตทั่ว ประเทศ ๗ แห่ง) และ 
-
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ร.๕ ทรงสถาปนาเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ มีวิทยาเขตทั่ว ประเทศ ๑๐ แห่ง)
ใช้เวลาเรียน๑๐ ปี จบปริญญาตรี
จากนั้น ศึกษาต่อระดับปริญญาโท อีก ๒ ปี ในสถาบันการศึกษาเดิมหรือมหาวิทยาลัยของ รัฐและเอกชนได้ทั้งในและต่างประเทศ อาทิอินเดีย, ศรีลังกา, พม่า
นอกเหนือจากการศึกษา ๒ ประเภทที่คณะสงฆ์ได้จัดไว้แล้ว ยังมีการศึกษา กลุ่มพระ คัมภีร์สัททาวิเสส หรือคัมภีร์ไวยากรณ์โบราณ อันเป็นวิชาพื้นฐาน เพื่อความเชี่ยวชาญในพระ ไตรปิฏก ที่มีมาแต่โบราณกาล (เมื่อคณะสงฆ์ปรับปรุงการศึกษาใหม่ตามข้อ ๑ และ ๒ ข้างต้น ทำให้หยุดการศึกษาคัมภีร์เหล่านี้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖)
กลุ่มพระคัมภีร์สัททาวิเสส มีรายชื่อที่ปรากฎในหอสมุดแห่งชาติจำนวน ๑๕๓ คัมภีร์ แยก เป็น ๔ กลุ่มดังนี้ 
-
กลุ่มคัมภีร์ไวยากรณ์ เช่น คัมภีร์กัจจายนะ (ต่อมาเรียกมูลกัจจายน์), ปทรูปสิทธิ โมค คัลลานะ, สัททนีติ, สัททสังคหะ 
-
กลุ่มคัมภีร์พจนานุกรม หรือ คัมภีร์นิฆัณฑุ เช่น อภิธานัปปทีปิกา
-
กลุ่มคัมภีร์ฉันทลักษณ์ เช่น คัมภีร์วุตโตทัย 
-
กลุ่มคัมภีร์เกฏุภะ (อลังการ) เช่น คัมภีร์สุโพธาลังการ
สำหรับสถานศึกษาเพื่อการฟื้นฟูพระคัมภีร์สัททาวิเสส ในปัจจุบันมี ๔ แห่ง คือ : 
-วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นครปฐม 
-วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง
-
วัดมหาธาตุ คณะ ๒๕ กรุงเทพฯ 










































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น